สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

กิจกรรมสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะอารมณ์-สังคมให้เด็กในช่วงโควิด

กิจกรรมสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะอารมณ์-สังคมให้เด็กในช่วงโควิด

เป็นที่ห่วงว่าสถานการณ์โควิดจะส่งผลให้การสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเพื่อนๆ อาจลดน้อยลง มีระยะห่างระหว่างกันมากขึ้น ทำให้เด็กๆ ถูกละเลยด้านอารมณ์ความรู้สึก และกระทบต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี รวมทั้งอาจจะขาดการปลูกฝังเรื่องทางสังคม นักวิชาการจากสมาคมอนุบาลศึกษาฯ และภาคี Thailand EF Partnership มีข้อแนะนำแก่ครูในการส่งเสริมทักษะอารมณ์ สังคมแก่เด็กๆ ดังนี้

  • ใช้ศิลปะ ดนตรี เป็นสื่อช่วยคลี่คลายความรู้สึกและอารมณ์ เด็กเล็กๆ นั้นการสื่อสารด้วยศิลปะจะง่ายที่สุด เด็กคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร คุกรุ่นแค่ไหนก็ระบายออกมาทางการวาดภาพได้  และในเด็กโตก็สามารถบำบัดตัวเองผ่านศิลปะได้เช่นกัน
  • ให้เด็กสะท้อนความคิดเสมอ ใช้ช่วงสรุปการเรียนรู้ เป็นการสะท้อนความคิดของเด็กหลังทำกิจกรรม ซึ่งสำคัญมาก เด็กอาจจะพูด บอกเล่าปากเปล่า หรือใช้งานศิลปะเป็นสื่อก็ได้ การ reflection ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเด็กจะได้เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง
  • เชื่อมโยงกันและกัน หากเด็กคนหนึ่งได้สื่อสาร ได้แสดงอารมณ์ออกมา ครูควรหาโอกาสหรือกิจกรรม หรือตั้งคำถามชวนคิดว่า เมื่อเพื่อนรู้สึกอย่างนี้ เด็กคนอื่นๆ มีวิธีการวิธีพูดที่จะช่วยเหลือเพื่อนได้อย่างไรบ้าง
  • ใช้ Feeling Wall ช่วยให้เด็กได้บอกความรู้สึก โดยให้เด็กมาแปะกระดาษสีที่เป็นตัวแทนความรู้สึก นอกจากเด็กจะได้ระบายออกมาแล้ว ครูและเพื่อนยังสามารถเข้าไปพูดคุยหรือแสดงการปลอบโยนกันได้
  • ใช้การเรียนการสอนแบบ Project-Based Learning ซึ่งอาจจะให้ทำคนเดียว (เช่น งานประดิษฐ์ ให้โจทย์เดียวกัน แต่ผลงานไม่เหมือนกัน) หรือทำเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็ได้ แต่ท้ายสุด ต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อสะท้อนคิด แลกเปลี่ยน ทั้งเพื่อส่งเสริมการเข้าใจ การเห็นอกเห็นใจ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
  • ใช้นิทานเป็นสื่อ ที่จะนำมาพูดคุย ปลูกฝัง ให้เด็กเข้าใจเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ความเห็นอกเห็นใจ การช่วยเหลือพึ่งพากันได้ดี
  • ให้เด็กได้อยู่กับธรรมชาติ เพราะนอกจากจะได้ผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ความรู้สึกสมดุลแล้ว ธรรมชาติยังเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ เด็กจะได้สังเกต ได้สำรวจ ได้เรียนรู้ ได้ตระหนัก เข้าใจความสำคัญของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ช่วยกันดูแลรักษา ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของการพัฒนาทักษะอารมณ์ สังคม
  • ให้เด็กช่วยกันทำความสะอาด  แต่ละกิจกรรมให้เผื่อเวลาไว้สำหรับเด็กได้ทำความสะอาดอุปกรณ์สำหรับเพื่อนๆ กลุ่มต่อไป เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กนึกถึงคนอื่น นึกถึงส่วนรวม
  • สร้างจิตสำนึก “เรารอดไปด้วยกัน”ครูควรหยิบยกเรื่อง “การดูแลสุขอนามัยเพื่อตนเองและเพื่อคนอื่นด้วย” มาพูดคุยกับเด็กโดยสอดแทรกเข้าไปในขณะที่ดูแลให้เด็กล้างมือ หรือเมื่อต้องเว้นระยะห่างกัน เพื่อเน้นย้ำว่าไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่เพราะเป็นห่วงคนอื่นด้วย
เริ่มที่บ้าน โรงเรียนสานต่อ  

นักวิชาการยังเสริมอีกว่า นอกจากกิจกรรมเหล่านี้แล้ว ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในด้านการสื่อสารความรู้สึกและการปลูกฝังให้เด็กรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีจิตสำนึกนึกถึงผู้อื่นและส่วนรวม  โดยคุณครูร่วมมือกับทางพ่อแม่ผู้ปกครอง หากเด็กมีพื้นฐานเรื่องเหล่านี้มาจากทางบ้านแล้ว เมื่อมาโรงเรียนคุณครูก็จะเสริมสานต่อให้เด็กมีทักษะอารมณ์ สังคมที่ดียิ่งขึ้น มีทักษะนี้แข็งแรงยิ่งขึ้น 


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี : เขียน
ผาณิต บุญมาก : เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ : บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...