สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ครูควรปรับบทบาทอย่างไรในสถานการณ์โควิด

ครูควรปรับบทบาทอย่างไรในสถานการณ์โควิด

แม้ว่าในสถานการณ์โควิดที่มีมาตรการรักษาระยะห่าง จะทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนเปลี่ยนไป มีการสื่อสารและการเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์มากขึ้น การสัมผัสร่างกายระหว่างครูกับเด็กน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่า ครูจะลดบทบาทในการใส่ใจใกล้ชิดเด็กลง เวลาเช่นนี้ครูกลับมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เด็กยังคงได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและได้รับการดูแลที่อบอุ่นใกล้ชิด สถานการณ์โควิดจะต้องไม่เป็นอุปสรรคในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับครู ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีเป็นหัวใจสำคัญให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

นักวิชาการภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership มีข้อเสนอแนะว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่มุมมองทัศนคติที่คุณครูมีต่อเรื่อง new normal กับสัมพันธภาพ ดังนี้

  1. ครูปฐมวัยต้องตระหนักว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก จะทำให้เด็กเกิดความมั่นคงทางจิตใจ เด็กจะมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยถ้ามีคนที่สามารถเข้าไปคุยด้วยได้โดยไม่ตัดสิน ไม่ต่อว่า ให้คำตอบได้ และยอมรับในตัวเขา
  2. เวลาไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่จะสร้างสัมพันธภาพ แต่จะต้องเน้นที่คุณภาพของความสัมพันธ์ ที่ครูปฐมวัยมีให้เด็ก ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่าเด็กจะมีความมั่นคงทางใจหรือไม่ จะเห็นคุณค่าในตนเองหรือไม่ จะมีพลังชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าหรือไม่
  3. ครูควรตระหนักว่าตนมีความสำคัญมากเพียงไรต่อชีวิตของเด็ก โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กมีความไม่มั่นคงทางจิตใจมาจากบ้าน ความเมตตาและความเข้าใจของครูจะส่งผลที่ดีต่อเด็กในระยะยาว ทั้งในด้านการเรียนรู้ การใช้ชีวิต  ครูต้องตระหนักว่าตนไม่ใช่เพียงครูผู้สอน แต่เป็นผู้สร้างฐานชีวิตและจิตใจที่มั่นคงให้แก่เด็ก
ครูควรเรียนรู้การใช้เทคนิค “วินัยเชิงบวก” กับเด็ก

นอกจากการปรับมุมมองของครูให้ตระหนักถึงสภาวะปัญหาที่เด็กกำลังเผชิญด้วยความเมตตาแล้ว สิ่งสำคัญที่อีกประการหนึ่ง คือครูควรเรียนรู้การใช้เทคนิค วินัยเชิงบวก กับเด็ก เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ครูต้องการ ขณะที่ยังคงรักษาสัมพันธภาพ รักษาความมั่นคงทางจิตใจของเด็กไว้ได้ รวมทั้งตระหนักว่า เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการเลียนแบบ ถ้าเด็กได้เห็นสัมพันธภาพที่ดี การปฏิบัติดี พูดดีต่อกัน ระหว่างผู้บริหารกับครู ครูกับครูด้วยกัน และครูกับเด็กๆ เด็กก็จะเลียนแบบซึมซับสิ่งที่เห็นนั้นและปฏิบัติตามด้วยความมั่นคงในจิตใจ

ครูควรมีแนวปฏิบัติที่จะส่งเสริมทักษะทางสังคมและอารมณ์ในเด็ก

แนวปฏิบัติที่ครูจะพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ (SEL) ในเด็กโดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด 19[4] องค์กร CASEL ให้ข้อแนะนำว่า

  • กิจวัตรสม่ำเสมอ พยายามจัดกิจวัตรให้เป็นประจำ เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยและคาดการณ์ได้ ทำตามตารางเวลาที่ตกลงกันไว้ เวลากินข้าว เวลานอน เวลาทำกิจกรรม ฯลฯ
  • รับฟังความรู้สึกของเด็กๆ  ให้เด็กได้พูดถึงความกังวลใจ ตามวัยของเขา
  • ตัวอยู่ไกล ใจอยู่ใกล้ สัมพันธภาพเป็นหัวใจของการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เด็กๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน อาจรู้สึกว่าต้องแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว  ครูควรจัดให้เด็กมีโอกาสพูดคุยกัน เล่าเรื่องต่างๆ แก่กัน และไม่ว่าในชั้นเรียนหรือในออนไลน์ ควรมีความสนุก ได้สื่อสารกัน อาจให้เด็กๆ ระดมสมองคิดค้นวิธีที่ติดต่อเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น การทำโครงงานด้วยกัน การพูดคุยติดต่อทางออนไลน์ หรือเขียนจดหมายถึงกัน เป็นต้น
  • เติมเรื่อง SEL เข้าไปในการเรียนรู้  ให้เด็กได้สะท้อนคิดและแบ่งปันบ้าง แสดงความเห็นอกเห็นใจ หรือมีการร่วมมือทำงานกับเพื่อนบ้าง ผ่านออนไลน์ก็ได้  ให้เด็กได้หยุดคิดเพื่อทบทวนอารมณ์และความคิดของตนเองบ้าง หรือทำงานอิสระ หรือได้ขบคิดโจทย์คำถามปลายเปิด ที่ช่วยให้เด็กมีโอกาสสะท้อนประสบการณ์และความรู้สึกของพวกเขา สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ
  • ความรักช่วยผ่อนเบาปัญหาทุกสิ่ง ความรักความเอาใจใส่ต่อเด็กเล็กจะช่วยคลี่คลายความกลัวของเด็กได้[2]  ผู้ใหญ่ควรอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา ตามความเป็นจริง ให้สอดคล้องกับความเข้าใจของวัย และผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างของความหนักแน่น
  • ใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ดนตรีกับการเคลื่อนไหว ศิลปะ งานประดิษฐ์ ฯลฯ เป็นพื้นที่ให้เด็กได้ระบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ออกมาอย่างสร้างสรรค์
ครูปฐมวัยต้องปรับความคิดและบทบาทในการส่งเสริมทักษะอารมณ์-สังคม

การจัดการความรู้ของนักวิชาการสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับนักวิชาการภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership มีข้อเสนอแนะว่า คุณครูต้องปรับ Mindset และบทบาทบางประการในการส่งเสริมทักษะอารมณ์-สังคม ได้แก่

O ใส่ใจในการตอบสนองเด็ก แสดงบทบาทให้ความสนับสนุนความสนใจและการเรียนรู้ของเด็กอย่างจริงจัง มองสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าสถานการณ์หรือพฤติกรรมของเด็กในเชิงบวก จัดหาสิ่งเร้าหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสม เอาตัวครูเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็ก เล่นกับเด็ก แชร์สถานการณ์เรื่องราว รวมทั้งร่วมประสบการณ์กับเด็ก ให้เด็กได้แสดงบทบาทนำแล้วครูเป็นผู้ตามบ้าง

O ใช้ทุกโอกาสที่มีความหมาย ทุกช่วงจังหวะที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยเด็กในการฝึกทักษะกำกับอารมณ์ตนเองและเข้าสังคมเพื่อนได้อย่างราบรื่น

O ปลูกฝัง SEL แก่เด็กอย่างง่ายๆ เช่น แชร์ความรู้สึกของครูเองจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์ใดๆ ที่ครูเคยผ่านมา แล้วชวนเด็กๆ คุย หรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์หรือความสัมพันธ์ในสังคมให้เด็กฟัง และกระตุ้นให้เด็กแชร์อารมณ์ความรู้สึกของตนเองบ้าง เป็นต้น

O ใช้สถานการณ์โควิดนำไปสู่การคิดถึงคนอื่น ครูต้องช่วยให้เด็กเรียนรู้ว่า การที่เราทั้งสังคมรักษาสุขอนามัยที่ดี ระวังการแพร่ระบาดเชื้อโรคนั้น เป็นไปเพื่อทั้ง “ตัวฉันและคนอื่น” ไม่ใช่เพื่อฉันปลอดภัยคนเดียวเท่านั้น เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักคิดถึงผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักกันแบ่งปัน เอื้ออาทรและป้องกันไม่ให้เกิดการกีดกันแบ่งแยกในหมู่เด็ก ต้องไม่ให้ Social Distancing เป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรค ในการสร้างโอกาสการเรียนรู้เรื่องอารมณ์สังคม

O เปลี่ยน Mindset เกี่ยวกับกิจกรรมบางประเภท เช่น ศิลปะ เพราะหากมองกิจกรรมศิลปะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ SEL ครูต้องไม่ใส่ใจไปที่ผลลัพธ์หรือชิ้นงาน หากแต่ใส่ใจไปที่กระบวนการและความรู้สึกของเด็ก ไม่ว่าเด็กจะทำอะไรออกมาครูจะยอมรับ เพื่อให้เด็กรับรู้ว่าครูกำลังฟัง กำลังเห็น และยอมรับความรู้สึกที่เขากำลังสื่อสารออกมา เด็กก็จะเรียนรู้จากท่าทีของครู


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี : เขียน
ผาณิต บุญมาก : เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ : บรรณาธิการ

[4]CASEL Guide อ้างแล้ว
[5] Euro-WHO, 2020  อ้างแล้ว

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...