สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ครูคือคนสำคัญ ต้องเสริมความรู้ที่เข้มแข็งให้ครู

บทที่ 2 ตอนที่ 3
ครูคือคนสำคัญ ต้องเสริมความรู้ที่เข้มแข็งให้ครู

ครูนับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ จะเรียกว่ามีบทบาทหน้าที่ “สร้างชาติ”ก็ว่าได้ ปัจจุบันพบว่าครูมีทั้งส่วนที่ปรับเปลี่ยนพัฒนาบทบาทตนเอง และมีส่วนที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนบทบาท ยังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้และการพัฒนาเด็กไม่ดีพอ

นักการศึกษาและแพทย์พบว่า…. บทบาทของครูที่ปรับเปลี่ยนพัฒนา คือ 

ครูมีบทบาทในการคัดกรองเด็กที่มีปัญหามากขึ้น เมื่อ 20 ปีก่อน เด็กที่เข้ามารับคำปรึกษาที่คลินิก พัฒนาการเด็ก ส่วนใหญ่พ่อแม่จะเป็นผู้พามาเอง เช่น ลูกมีปัญหาอ่านหนังสือไม่ออก สมาธิสั้น ฯลฯ แต่ปัจจุบันครึ่งหนึ่งของเด็กที่มาพบแพทย์ ครูบอกให้พ่อแม่พามา อีกครึ่งหนึ่งครูพามาเอง ต่างกับในอดีตที่หากเด็กเรียนไม่ได้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ สมาธิไม่ดี ก็จะให้ออกไปรักษาก่อนแล้วค่อยกลับมาเรียน แต่ปัจจุบันครูสามารถคัดกรองได้มากขึ้นว่าเด็กคนใดเป็นเด็กพิเศษ สามารถแนะนำและส่งเด็กมาพบแพทย์ได้มากขึ้น จัดให้เด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ แสดงว่าครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการของเด็กมากขึ้น

          ….. ส่วนในด้านที่ยังต้องปรับปรุงพัฒนา คือ

ในการจัดการชั้นเรียน (Classroom Management) ครูมักเน้นสร้างแต่บรรยากาศทางกายภาพ(Psychological Atmosphere) แค่ทำให้ห้องเรียนสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ แต่ไม่ได้ใส่ใจบรรยากาศทางจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก (Physiological  Atmosphere) ซึ่งเป็นแรงกระตุ้น ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพัฒนาการทางสมองที่ดีด้วย

ครูรู้ดีว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและอย่างมีความหมาย แต่ครูยังไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงเป้าหมายที่อยากจะให้เด็กเรียนรู้ได้ ไม่สามารถทำให้เกิดผลตามที่มุ่งหวัง เพราะใช้กระบวนการแบบเดิมๆ นั่นเอง จึงไม่เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ

ต้องเสริมความรู้ที่เข้มแข็งให้ครู

เพื่อที่จะปรับปรุงพัฒนาบทบาทและคุณภาพของครู นักวิชาการเห็นว่า ครูในปัจจุบันควรต้องมีความรู้ที่เข้มแข็งในเรื่องเหล่านี้

  1. ความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก เป็นพื้นฐานความรู้ที่ “ครูจำเป็นต้องรู้ ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง” เพื่อให้เป็นแกนหลักของการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งจะทำให้ครูสามารถย้อนดูว่าการจัดการเรียนการสอน การดูแลเด็กของตนหลุดออกไปจากแกนหลักของความรู้พื้นฐานนี้หรือไม่
  2. ความรู้เรื่องการทำงานและพัฒนาการสมอ เป็นความรู้ที่ครูต้องใช้ในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาเด็ก แม้ว่าครูจะมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากเพียงไรก็ต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ
  3. ความรู้เรื่องพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม แน่นอนว่าครูต้องการให้เด็กเรียนรู้ได้ดี เรียนอย่างมีความสุขและอย่างมีความหมาย พัฒนาการอารมณ์และสังคมจึงมีความสำคัญ ครูต้องเข้าใจและพัฒนาอารมณ์ สังคมให้เด็กด้วย รวมทั้งความรู้เรื่อง Self เพื่อว่าอย่างน้อยจะได้ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ขัดขวางหรือทำลายตัวตนของเด็ก

แต่ก่อนอื่น ครูต้องปรับทัศนคติ โดยเฉพาะครูปฐมวัยและผู้ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีความคิดว่า ครูปฐมวัย เด็กปฐมวัยไม่สำคัญ หรือตนเป็นแค่ครูอนุบาล ไม่เก่ง สอนหรืออบรมไปก็ไม่เข้าใจ หรือความรู้ดังกล่าวเป็นเรื่องยากไม่สามารถเข้าใจได้ เป็นต้น หากเปิดใจแล้วครูอาจจะพบว่า การสอนการดูแลพัฒนาเด็กให้ได้ผลตามที่มุ่งหวังนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...