สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #9

เมื่อต้องส่งลูกเข้าสถานพัฒนาเด็ก

การส่งเด็กเข้าสถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ของ จิตวิทยาพัฒนาการ การอภิปรายเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกตะวันตก เมื่อผู้หญิงเริ่มต่อสู้เพื่อ สิทธิในการทำงาน  ในสังคมเกษตรกรรมก่อนหน้านั้น ไม่มีความจำเป็นต้องมีสถานรับเลี้ยงเด็ก เนื่องจากผู้หญิงอยู่ ทำงานที่บ้าน ทำอาหารเลี้ยงครอบครัว ดูแลสัตว์เลี้ยง รวมทั้งเลี้ยงลูกๆ จนถึงยุคสังคมอุตสาหกรรมทำให้ผู้หญิง ต้องออกมาทำงานนอกบ้าน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเด็กไปอยู่ ในความดูแลของคนอื่น สถานรับเลี้ยงเด็กจึง เกิดขึ้นมากมาย เพื่อรองรับความจำเป็นและความต้องการดังกล่าว

ในระยะแรกของการมีสถานรับเลี้ยงเด็กเกิดขึ้นในสังคมอุตสาหกรรม มีรายงานแสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็ก ต้องออกจากบ้านพร้อมพ่อแม่ที่เข้าไปทำงานในโรงงาน ส่วนตัวเด็กนั้นเข้าไปอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันนั้น มีสถิติพบว่า เด็กส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมวิตกกังวลและก้าวร้าว โดยสถิติดังกล่าวมีตัวเลขสูงยิ่งขึ้นในศูนย์ดูแลเด็ก ของชุมชนที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งในเวลานั้น มีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการมีสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยมีความคิดเห็นว่า แม่ เท่านั้น ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตลูกน้อย

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนับสนุนให้มีการบริการรับเลี้ยงเด็กในตอนกลางวัน ที่ช่วยเหลือแม่ต้องออกไปทำงาน นอกบ้านได้เสนอมุมมองที่น่าสนใจว่า การดูแลเด็กของสถานบริการรับเลี้ยงเด็กไม่ได้ทำให้เด็กมีความวิตกกังวล หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพสูง  ซึ่งเด็กจะได้รับการ ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี การพบปัญหาว่ามีเด็กบางคนแสดงพฤติกรรมในทางลบ ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล หรือ พฤติกรรมก้าวร้าวนั้น ไม่ได้เกิดจากการดูแลของสถานรับเลี้ยงเด็กไม่ดี แต่สาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมในบ้าน และมีสาเหตุมาจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้าสถานรับเลี้ยงเด็กต่างหาก

เนื่องจากเมื่อมีการสำรวจ พบว่า เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กมักมาจากครอบครัวที่พ่อแม่ยุ่งมาก หรือ แทบไม่มีเวลาให้ลูก ยิ่งครอบครัวใดพฤติกรรมของพ่อแม่ผู้ปกครองมีปัญหา หรือมีปัญหาระหว่างกัน ทำให้ สภาพแวดล้อมภายในบ้านตึงเครียดอยู่เสมอ ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวส่งผลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของเด็ก จิตใจของเด็กไม่มีความมั่นคง และตัวตนของเด็กก็หดหายลง

พฤติกรรมเชิงลบหรือพฤติกรรมที่ถดถอย ดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นกับเด็กที่อยู่สภาพแวดล้อมที่ ตึงเครียดเรื้อรัง ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะถูกส่งไปเข้าสถานรับเลี้ยงเด็กหรือไม่ก็ตาม

ศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่มีครูและพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีความรักเด็ก สามารถสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีและความผูกพันไว้ใจให้เกิดขึ้นกับเด็กได้  ในสังคมปัจจุบันที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องส่งลูกเข้าศูนย์เด็กเล็ก ตั้งแต่อายุยังน้อย การเลือกคุณภาพศูนย์เด็กเล็กที่ดีจึงเป็นเรื่องจำเป็น พอๆกับการที่พ่อแม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ และสนับสนุนครูในการพัฒนาลูกของตน นอกเหนือจากการทำหน้าที่ในบทบาทพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่เข้าใจ ธรรมชาติของเด็ก เข้าใจลักษณะเฉพาะที่เป็นพิเศษของลูกตน รู้วิธีปฏิบัติตนต่อลูก ส่งเสริมศักยภาพลูกได้ถูก ทิศทาง และสร้างบ้านที่มีความสุขขึ้นมา

การเป็น “พ่อแม่ที่มีอยู่จริง” ดูแลให้เวลาลูก เอาใจใส่ความรู้สึกและความต้องการของลูก สร้าง สภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งพ่อและแม่รักกัน รวมทั้งรักและเอาใจใส่ลูก จึงเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และ ความผูกพันอย่างมั่นคงกับลูกๆ ทำให้วัยเด็กของลูกเป็นวัยที่เต็มไปด้วยความรัก มีความสุข เรียนรู้โลกและ ศักยภาพตนเองด้วยความมั่นใจในตนเอง เรียนรู้ที่จะเข้าใจเห็นใจผู้อื่นและปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้  เมื่อเติบโตไป สายสัมพันธ์จาก “พ่อแม่ที่มีอยู่จริง” จะร้อยรัดลูกไว้ให้หลุดพ้นจากหลุมพราง รวมทั้งสิ่งเย้ายวนที่อาจพาชีวิตวิบัติ ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรืออบายมุขต่างๆ ทั้งยังจะเป็นสายสัมพันธ์ที่ผูกพันชีวิตไม่ให้คิดสั้น แต่เป็นพลังให้ฮึดสู้ ยามเจอขวากหนามยากยิ่งในชีวิต เป็นพลังจากภายในให้ลูก ที่เชื่อมั่นว่าตนจะสร้างปาฏิหาริย์ได้ในยามหาทางออกของชีวิตไม่เจอ และแม้ยามที่เขาพ่ายแพ้หรืออ่อนแอ เขาก็ยังเชื่อมั่นว่า ในโลกนี้มีบ้านเป็นที่พักพิง ไออุ่นของพ่อแม่ ที่รักเขาอย่างแท้จริงจะเติมพลังให้ ลุกขึ้นยืนได้อย่างสง่างามอีกเสมอในโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน

ดังนั้นการส่งลูกไปยังสถานรับเลี้ยงเด็ก ที่มีครูและพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรักเด็กและมีความรู้ความเข้าใจ อย่างแท้จริง จึงเป็นการแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ ผู้ปกครองได้  แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะมอบ ภาระความรับผิดชอบให้ครู พี่เลี้ยงเด็กในโรงเรียนในการดูแลอบรมบ่มเพาะเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม่ พ่อและครอบครัวยังเป็นสภาพแวดล้อม และเป็นฐานที่มั่นทางใจที่สำคัญที่สุดในชีวิตเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองจึง จำเป็นต้องใฝ่หาความรู้ สังเกต ใส่ใจลูก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นในบ้าน สร้างความรักความผูกพันไว้ใจให้เกิดขึ้น กับลูกด้วยตนเองด้วยการเป็น “พ่อแม่ที่มีอยู่จริง”

อ้างอิง
Daniel J Siegel & Tina Payne Bryson, The Power of Showing Up: How Parent Presence Shapes Who Our Kids Become and How Their Brains Get Wired, Random House USA Inc, New York, United States, Jan 5,2021

Jay Belsky, PhD, Early Day Care and Infant-Mother Attachment Security, https://www.child-encyclopedia.com/attachment/according-experts/early-day-care-and-infant-mother-attachment-security, May, 2020

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...