สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #1

ความผูกพันสำคัญตั้งแต่แรกเกิด

ความผูกพันเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในช่วงแรกเกิด เมื่อชีวิตเริ่มต้นในปีแรกที่เด็กไม่สามารถอยู่รอดได้ ด้วยตัวเอง ความต้องการทางชีวภาพขั้นพื้นฐานเพื่อให้ชีวิตรอดนั้น เด็กจะต้องการ “แม่” หรือใครสักคนเป็น “คนเลี้ยงดูหลัก”    ในช่วงสัปดาห์แรกๆที่เกิดมา ทารกแรกเกิดไม่ได้รู้จักหรือเกิดความรู้สึกผูกพันกับแม่ของตนเอง

ในทันที แต่หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสที่แม่อุ้ม กอด ให้กินนม เปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ ฯลฯ ก็จะค่อยๆ สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง ใบหน้า และจดจำแม่หรือคนดูแลหลักได้

เมื่อโตขึ้น รู้ความมากขึ้น ในแต่ละวันของชีวิต เด็กตัวน้อยจะส่งสัญญาณสื่อสารความต้องการของตัวเอง ตามธรรมชาติ เช่น ถ้าไม่สบายใจ หรือร้องไห้เมื่อแม่หรือคนเลี้ยงอยู่ห่างออกไป  หรือไม่เข้ามาหาเมื่อร้อง หรือรู้สึก ไม่ปลอดภัยในโลกเวิ้งว้างที่ตนเองไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากร้องไห้ เพื่อบอกความต้องการ เป็นการแสดงความ ต้องการพื้นฐานของทุกชีวิตที่ต้องการความปลอดภัยและการดูแลเอาใจใส่ ต่อสภาพที่ตนเองยังไม่มีความสามารถ ทำอะไรได้ด้วยตนเอง ยังต้องพึ่งพาผู้อื่นจึงอยู่รอด ทารกที่ยังเดินไม่ได้ พูดไม่เป็น จึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อมีแม่ หรือคนเลี้ยงเอาใจใส่ และ แสดงสีหน้าว่าพอใจเมื่อหิวแล้วได้กิน หนาวมีคนกอด สัญญานที่แสดงออกนี้คือ ความรู้สึกผูกพันครั้งแรกที่พิเศษสุด ระหว่างทารกตัวน้อยกับแม่ หรือคนเลี้ยง เป็นความผูกพันจากประสบการณ์ แรกๆของชีวิต


ปฏิกริยาหรือการตอบสนองของแม่หรือคนเลี้ยงทำให้เด็กเรียนรู้ว่า
ตนเกิดมาในโลกใบนี้ในสถานะใด เกิดมาเป็นที่รัก เกิดมาเป็นศูนย์กลางของโลก
เกิดมาเป็นใครบางคนที่ถูกรักบ้างทิ้งบ้าง หรือเป็นใครบางคนที่เกิดมา ไม่มีใครต้องการ ความผูกพันครั้งแรกของชีวิตนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกและพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งสายสัมพันธ์นี้ส่งผลต่อความคิดที่เด็กมีต่อตนเอง (self) อย่างลึกซึ้งไปจนตลอดชีวิต


งานวิจัย “Infant Strange Situation” ซึ่งแมรี เอนสเวิร์ธ (Mary Ainsworth) นักจิตวิทยาพัฒนาการ ชาวอเมริกัน-แคนาดาดำเนินการ   ในช่วงปลายทศตวรรษ 1960 ถึงปลายทศตวรรษ 1970 เพื่อทดสอบสิ่งที่เกิดขึ้น

หลังจากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงทิ้งเด็กเล็กไว้ในห้องที่ไม่คุ้นเคยตามลำพัง หรือทิ้งเด็กเล็กไว้กับคนแปลกหน้า โดยสร้าง ห้องปฏิบัติการเพื่อสังเกตว่าเด็กๆ จะมีปฏิกิริยาอย่างไร ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย แล้วให้เด็กแต่ละคนเข้าไปใน ห้องที่มีของเล่นพร้อมกับแม่ (ซึ่งแม่เป็นฐานที่มั่นทางใจของเด็ก) 

ในการวิจัยพบว่าโดยทั่วๆไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน หลังจากเด็กและแม่เข้าในห้อง เด็กทุกคนจะเริ่ม สำรวจของเล่น โดยในงานวิจัยมีเงื่อนไขให้แม่นั่งดูอยู่ที่เก้าอี้ หลังจากนั้นไม่กี่นาทีต่อมา ขณะที่เด็กกำลังสนใจ สำรวจของเล่นต่างๆนั้น ก็ให้มีคนแปลกหน้าเข้ามาในห้อง แล้วแม่ก็ออกจากห้องไปโดยทิ้งเด็กไว้ตามลำพังกับ คนแปลกหน้า ในการทดลองทุกครั้งพบว่า เด็กที่แม่ให้ความเอาใจใส่และได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอนั้น เมื่อแม่ออกจากห้องไปโดยปล่อยเด็กไว้ตามลำพังกับคนที่ไม่คุ้นเคย เด็กเหล่านี้แสดงความมั่นคงทางใจให้เห็นเสมอ เด็กแสดงอาการรับรู้ว่าแม่หายไปและแสดงอาการไม่สบายใจนัก แต่ไม่นานนักเด็กก็ยังสามารถเล่น ต่อไปได้ เมื่อแม่กลับมา เด็กๆจะทักทายแม่อย่างมีความสุขก่อนจะกลับไปหาของเล่นต่ออีกครั้ง

ส่วนเด็กที่ได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากแม่น้อย หรือได้รับการตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานไม่ เหมาะสม จะมีพฤติกรรมตรงกันข้าม เช่น ร้องไห้ไม่หยุด ไม่ยอมเล่น หรือไม่ก็เกาะผู้ใหญ่ไม่ยอมปล่อย เป็นต้น เด็กที่มีอาการถดถอยเหล่านี้เมื่อมองกลับไปในความสัมพันธ์กับคนเลี้ยงหลัก ซึ่งอาจจะเป็นแม่ พ่อหรือใครก็ตาม เรามักจะพบความจริงที่อยู่เบื้องหลังว่า เด็กผ่านการถูกละเลย ถูกเลี้ยงดูมาแบบไม่เอาใจใส่ เช่น ถูกปล่อยให้ร้องไห้ หิวเป็นเวลานาน หรือไม่สบายตัว ไม่ได้รับการดูแลหรือปลอบโยน หรือที่ร้ายไปกว่านั้นคือ ถูกพ่อแม่ปฏิเสธความ ต้องการพื้นฐานอย่างรุนแรง เช่น เมื่อร้องไห้แล้วถูกตีหรือถูกดุ โดยไม่รับรู้ถึงสาเหตุที่เด็กร้องไห้ ซึ่งในความเป็นจริง ทุกครั้งที่ทารกตัวน้อยยังไม่ประสีประสาอะไร ร้องไห้ออกมานั้นต้องมีสาเหตุเสมอ เช่น หิว เจ็บปวด ไม่สบายตัว ง่วง เหนื่อยเกินไป ซึ่งความต้องการเหล่านี้เป็นความต้องการพื้นฐาน ที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงจำเป็นต้องมีความเข้าใจ

จากงานวิจัยที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง แมรี เอนสเวิร์ธ ได้ข้อสรุประบุรูปแบบความผูกพันที่แตกต่างกันเป็น 3 รูปแบบ เพื่อจำแนกสายสัมพันธ์หรือคุณภาพความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ดังนี้

1.สายสัมพันธ์ที่ปลอดภัย แม่ที่มีความเอาใจใส่ ตอบสนองความต้องการของลูกได้อย่างรวดเร็ว ดูแลลูกๆ อย่างอบอุ่นและด้วยความรัก พร้อมเสมอเมื่อลูกต้องการ เป็นฐานที่มั่นคงที่ลูกพักพิงขอความช่วยเหลือ ได้ยามมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางกายหรือใจ เด็กๆเหล่านี้ร้องไห้น้อยที่สุดและ ทำให้พอใจหรือมีความสุขได้ง่ายที่สุด เด็กๆจะมีความผูกพันแน่นแฟ้นกับแม่ เมื่อแม่ปลีกตัวออกไป เด็กยังคงอยู่ได้ แสดงให้เห็นว่ามีความสุขเมื่อได้ พบแม่อีกครั้งและสงบลงอย่างง่ายดายเวลาที่แม่กลับมา

2.สายสัมพันธ์ที่คลุมเครือ เด็กที่มีความผูกพันกับแม่ที่คาดเดาไม่ได้ บางครั้งแม่เอาใจใส่ บางครั้งแม่ละเลย ไม่สนใจ เด็กจะมีกังวลมากเมื่อไม่มีแม่อยู่ด้วย เมื่อต้องพลัดพรากจากกัน เด็กจะร้องไห้บ่อย และยากที่แม่ จะทำให้สงบลงอีกครั้ง เมื่อแม่ออกไปแล้วกลับเข้ามา เด็กมักแสดงความรู้สึกไม่สบายใจมากขึ้น และจะดูโกรธแม่ อีกด้วยที่ปล่อยให้ตนอยู่ตามลำพังกับคนแปลกหน้า

3.สายสัมพันธ์ที่ห่างเหิน แม่ที่ไม่ได้อยู่กับลูก หรืออยู่โดยไม่ได้แสดงบทบาทของแม่ที่ดูแลเอาใจใส่ เลี้ยงดูลูก แม้เมื่อเข้ามาในห้องพร้อมกับลูก และออกไปโดยปล่อยให้ลูกอยู่กับคนแปลกหน้า จากการทดลองพบว่า เด็กไม่ได้แสดงความสนใจแม่เลย ว่าจะอยู่หรือไป

ความรู้จากงานวิจัยของแมรี เอนสเวิร์ธ ช่วยให้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และผู้ดูแลเด็กเข้าใจและนำเอา ความรู้เรื่องรูปแบบความสัมพันธ์ 3 แบบดังที่กล่าวข้างต้นมาสังเกตพฤติกรรมของเด็กเล็กได้  อีกทั้งสามารถ เข้าใจสายสัมพันธ์ฐานรากระหว่างเด็กกับแม่หรือผู้ที่ทำหน้าที่แม่ได้ว่า อยู่ในคุณภาพระดับใดเพื่อพัฒนาต่อไปสู่สาย สัมพันธ์ในระดับที่ปลอดภัย คือเด็กไว้วางใจว่า ความต้องการพื้นฐานของตนมีคนสนใจและตอบสนอง เกิดความ ผูกพันไว้ใจกับแม่หรือคนที่ทำหน้าที่แม่ ก่อเกิดเป็นสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง เปิดโลกแก่มนุษย์ตัวน้อยว่า เกิดมามี คนที่รักเขาและเขาจะเรียนรู้ที่จะรักและผูกพันกับแม่และผู้อื่น อย่างที่ตนเองได้รับ

สายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นแต่แนบแน่นและลึกซึ้งอยู่ในใจนี้ เป็นฐานที่มั่นอันสำคัญทางใจ ที่ช่วยให้เด็ก มีความมั่นใจที่จะเรียนรู้ สำรวจและเผชิญโลก กล้าที่เติบโตพัฒนาตามวัย ตั้งแต่กล้าคลานออกไปจากแม่ สำรวจดู

สิ่งที่อยู่รอบตัวและอยู่กับคนอื่นไปแม้ต้องห่างจากแม่บ้าง กล้าเดินไปดูโน่นนี่นั่นและถามว่าคืออะไร  กล้าที่จะไป ทักเพื่อนใหม่ ไปโรงเรียนแล้วไม่ร้องไห้ สนุกและปรับตัวเข้ากับครูและเพื่อนใหม่ จะหันกลับตัวมาหาแม่ ก็ต่อเมื่อเกิดความไม่มั่นใจ จนกระทั่งคุ้นเคย มั่นใจมากขึ้น โตขึ้น ก็สามารถอยู่ได้เอง โดยมีแม่อยู่ในหัวใจที่มั่นใจว่า ตนมีแม่หรือคนที่รักตนอย่างไม่มีเงื่อนไข ทำให้มีพลังที่จะพัฒนาตนเองสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ มีแรงฮึดสู้กับความ ยากลำบาก ในยามที่พลั้งไปก็จะไม่ทำลายตัวเอง  สายสัมพันธ์ที่แข็งแรงนี้ ยังสามารถช่วยให้ยั้ง หยุดกระชาก ตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่พาไปในทิศทางที่ผิดพลาดเช่น การใช้ยาเสพติด การใช้ความรุนแรง ทำให้คิดหน้า คิดหลัง คิดถึงคนอื่นมากขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้รับสายสัมพันธ์อันลึกซึ้ง

อ้างอิง
· Mary D. Salter Ainsworth and Silvia M. Bell, Attachment, Exploration, and Separation: Illustrated by the Behavior of One-Year-Olds in a Strange Situation, John Hopkins University, https://www.jstor.org/stable/1127388, สืบค้น August 25, 2021
· KENDRA CHERRY, Mary Ainsworth and Child Psychology, HTTPS://WWW.VERYWELLMIND.COM/MARY-AINSWORTH-BIOGRAPHY-2795501, April 4, 2020

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...