สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด: เข้าใจ Growth Mindset #10

จะช่วยให้เด็กๆของเรามี Growth Mindset ได้อย่างไร

พ่อแม่ ครูและผู้ใหญ่ คือปัจจัยสำคัญที่สามารถช่วยให้ลูกหลานพัฒนากรอบความคิดแบบ Growth Mindset ได้

          ดร.คารอล เอส. ดเว็ค จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง  Growth Mindset  ได้แนะนำให้พ่อแม่ปลูกฝังความรักในความท้าทาย ยอมรับความผิดพลาดด้วยความรู้สึกที่ดี สนุกกับความพยายาม และเรียนรู้ต่อไป ทั้งหมดนี้ สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่ายๆ เช่น

            ผู้ใหญ่ใส่ใจ “คำพูด” ของตน  เด็กก่อนวัยเรียนหรือเด็กปฐมวัยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนากรอบความคิด และมุมมองที่มีต่อตนเองและผู้อื่น ภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมใช้กับเด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทายเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ จะเป็นสิ่งที่บอกเด็ก ๆ ว่า ควรจะมีความเชื่ออะไรและผู้ใหญ่คิดอย่างไรกับพวกเขา แทนที่จะพูดว่า “ไม่ยากหรอก” ให้ลองพูดว่า “หนูสามารถทำสิ่งที่ยากได้”  การคำนึงถึงคำพูดของเรา น้ำเสียงของเรา เมื่อเราตอบสนองต่อสิ่งที่เด็กๆทำ ให้กำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กตั้งคำถาม สังเกตโลกรอบตัว ทดลองทำสิ่งที่อยากรู้อยากเห็น

                  ชมเชยกระบวนการ แทน “การยกย่องผลลัพธ์” เป็นอีกวิธีหนึ่งในการนำความคิดของเด็กไปสู่เส้นทางเชิงบวก การที่พ่อแม่และครูชมเด็กว่า  “ฉลาดมาก” “เก่งมาก” เป็นตัวอย่างของคำชมเชยที่ได้ยินจนชินหูไม่ว่าในบ้าน ในห้องเรียน แต่นี่เป็นคำชมที่ประทับตราว่าเด็กเป็นอย่างนั้น   ผู้ใหญ่ควรเปลี่ยนไป“ชมเชย กระบวนการ”หรือชมพฤติกรรมที่เด็กทำ “หนูมีความตั้งใจทำงานดีมาก” “ความพยายามทำให้หนูทำได้อย่างนี้” เป็นการปลูกฝังกรอบความคิดแบบ  Growth Mindset ที่ช่วยให้เด็กๆ รู้สึกภาคภูมิใจใน ความพยายามและความก้าวหน้าที่ตนได้ลงมือทำ

                  ให้เด็กมองเห็นการเติบโตทางความคิด เมื่อเด็กเผชิญกับความท้าทาย ชี้ให้ลูกหรือเด็กๆเห็นว่า ตนสามารถ “ทำเรื่องยากๆ ได้” เมื่อเด็ก ๆ ได้รับการยกย่องในความพยายามและสอนให้ยอมรับความล้มเหลว พวกเขาจะมองว่าความล้มเหลวเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้และเติบโต  เพื่อรับความเสี่ยงในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจ ความยืดหยุ่น และความนับถือตนเอง บอกเด็กๆให้เห็นถึงกระบวนการที่นำสู่ผลลัพธ์ที่ดี เช่น “ลูกทำได้ดีมาก แม่เห็นเลยว่า กว่าจะมาถึงตรงนี้ ลูกฝึกฝนมามากแค่ไหน” การได้สะท้อนคิด ถอดบทเรียนความสำเร็จ แต่ละครั้งทำให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยคำถามง่ายๆ หลังชิ้นงานเสร็จสิ้นลง เช่น “อะไรช่วยให้ลูกทำได้ดีขนาดนี้”“ลูกได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องนี้” “มีเรื่องอะไรบ้างที่ลูกต้องพยายามอย่างมากเลยกว่าจะทำได้อย่างนี้” “อะไรบ้างที่เมื่อวานเราทำไม่ได้ แต่พอฝึกฝนแล้ววันนี้เราทำได้” “เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม ว่าลูกเจออุปสรรคอะไร แล้วลูกทำอย่างไรเอาชนะอุปสรรคนั้นมาได้” เป็นต้น

                  ให้ลูกรู้ว่าสมองทำงานเหมือนกล้ามเนื้อ เราสามารถอธิบายให้ลูกและนักเรียนตัวน้อยว่า สมองของเราแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเราเรียนรู้  เหมือนเราออกกำลังกายแล้วร่างกายของเราก็จะแข็งแรงขึ้น เด็กๆอาจจะรู้สึกตลก เวลาที่เราบอกว่า การทำเรื่องที่ยากขึ้นก็เหมือนให้สมองยกน้ำหนัก ฝึกไปเรื่อยๆก็ยิ่งแข็งแรง เหมือนนักกีฬายกน้ำหนักที่สามารถยกน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ด้วยการฝึกฝน  แต่เด็กๆจะตื่นเต้นที่รู้ว่า การดิ้นรนพยายามในสิ่งที่กำลังเรียนรู้นั้น คือการช่วยให้สมองของตนเติบโต และตนสามารถทำได้ไม่ยาก ด้วยการฝึกตั้งคำถาม และพยายามทำสิ่งใหม่ๆ แม้ว่าในตอนแรกจะรู้สึกยาก

                  อย่าให้ลูกกลัวปัญหา เด็กๆ จะต้องได้รับอนุญาตให้เผชิญกับปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและการเรียน ในขณะที่เด็กบางคนไม่ต้องการไปต่อ  แต่เด็กบางคนกลับกล้าเผชิญความท้าทายและแสดงความสามารถในการปรับตัว พ่อแม่และครูเป็นคนที่สำคัญที่สุดในการปลูกฝัง Growth Mindset   เราสามารถสอนลูกๆ ให้รู้จักความคิดของผู้ชนะที่ยั่งยืน ที่ก้าวหน้าต่อไปได้เสมอ ล้มแล้วลุกได้ คิดว่า ความล้มเหลวเป็นเพียงโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยการสนับสนุนเด็ก ๆได้ลองพยายาม ลงมือทำ เรียนรู้ ประสบการณ์ใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ และไม่ตัดสินเมื่อลูกพยายามแล้วล้มเหลว เป็นหน้าที่ของพ่อแม่และครูที่ต้องเป็นคนทำหน้าที่พัฒนาความอุตสาหะ ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะเสี่ยง เอาชนะอุปสรรคและความยากลำบาก พึ่งตนเองได้ และเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม ร่วมไปกับคนอื่นๆ เพื่อมีชีวิตที่ดีกว่าให้แก่ลูก ลูกศิษย์และลูกหลานของเรา

                   “ยังทำไม่ได้” ไม่ได้แปลว่า “ทำไม่ได้” สอนและเป็นแบบอย่างให้เด็กๆพูดกับตนเองในเชิงบวก สิ่งสำคัญคือการบอกและฝึกเด็กๆให้มีเมตตาต่อตนเอง หากเด็กยังทำบางอย่างไม่ได้ เช่น ผูกเชือกรองเท้าเองยังไม่ได้ เขียนหนังสือยังไม่ได้ ให้เน้นความสำคัญกับคำว่า “ยัง” หมายถึงว่าตอนนี้ “ยัง” ทำไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะทำไม่ได้ตลอดไป เมื่อเจอสถานการณ์เช่นนั้นให้พูดกับลูกว่า “ลูกยังผูกรองเท้าไม่ได้” “ลูกยังเขียนหนังสือไม่ได้” ช่วยให้เด็กๆเข้าใจว่าการเรียนรู้และทักษะต้องใช้เวลาและเป็นกระบวนการ

                  “เป็นพ่อแม่/ครูที่มีอยู่จริง” ทุกๆวันแสดงความรักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่รักลูกด้วยเงื่อนไขของเรา จะไม่พูดกับลูกว่า หากทำไม่ได้จะไม่รัก ขณะเดียวกันคนเป็นครู ก็ทำหน้าที่ครูด้วยความทุ่มเท เอาใจใส่ลูกศิษย์อย่างลึกซึ้ง เชื่อในการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้ลูกศิษย์ออกไปหาความสำเร็จ ตั้งมาตรฐานสูง แต่มีวิธีที่ช่วยให้เด็กไปถึงได้ด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมในการเรียนรู้ หาข้อมูล วางแผน และลงมือทำ

                  ใช้หนังสือพูดคุยกับเด็ก นิทานและหนังสือเป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตในเด็ก หนังสือสำหรับเด็กจำนวนมากมีเนื้อหาที่ช่วยให้เด็กมีกระบวนการคิดในการแก้ปัญหา หนังสือเกี่ยวกับ Growth Mindset ที่น่าสนใจที่ได้รับการแนะนำ เช่น “Your Fantastic Elastic Brain” โดย JoAnn Deak, “The Dot” โดย Peter H. Reynolds และ “The Most Magnificent Thing” โดย Ashley Spires เป็นต้น

          การปลูกฝัง Growth Mindset ทำได้ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกๆได้เผชิญความท้าทายและสะสมความสำเร็จในทุกวันของชีวิต ทุกคำพูด การกระทำของพ่อแม่และครูมีอิทธิพลต่อลูก เมื่อลูกทำผิดให้ลูกได้เข้าใจความจริง รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองทำ และหาทางแก้ไข ไม่ตัดสินหรือกล่าวโทษ รวมทั้งไม่ตำหนิหรือว่าคนอื่นให้ลูกฟัง เข้าใจความรู้สึก เห็นใจลูก แต่บอกความจริง บอกลูกว่าพ่อแม่ไม่ได้ประเมินว่าลูกเก่ง ไม่เก่ง ดี ไม่ดี   แต่พ่อแม่ภูมิใจเสมอที่ลูกพยายามที่จะเรียนรู้และทำให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา บอกลูกถึงวิธีเรียนรู้จากความล้มเหลว ร่วมกันหาปัจจัยที่จำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคต แต่จะไม่ส่งมอบกำลังใจแบบจอมปลอมให้ลูก

          พ่อแม่ ครูและผู้ใหญ่ที่ตระหนักเห็นความสำคัญของกรอบความคิดแบบ Growth Mindset จะเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่ทำให้เด็กของเรามีกรอบความคิดเติบโต ได้ทำในสิ่งที่ตนรัก และไม่ยอมหยุด จนกว่าจะได้สิ่งที่ตนตั้งเป้าหมาย กล้าทำงานหนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีจินตนาการ และเป้าหมายที่ชัดเจน ความเข้าใจเรื่อง Mindset จึงเป็นจิตวิทยาสมัยใหม่ที่ทำให้เรามีความรู้เรื่องระบบความเชื่อเกี่ยวกับความ สามารถและศักยภาพของเรา และเป็นกรอบความคิดที่นำทางพฤติกรรม และทำนายความสำเร็จของเรา


อ้างอิง

  • Carol S. Dweck, Ph.D., Mindset: The New Psychology of Success, Ballantine Books, December 26, 2007
  • Why Do Mindsets Matter?,The Impact of a Growth Mindset, https://www.Mindsetworks.com/ science/Impact
  • Maria Popowa, Fixed vs. Growth: The Two Basic Mindsets That Shape Our Lives, HTTPS:// WWW.BRAINPICKINGS.ORG/2014/01/29/CAROL-DWECK-MINDSET/
  • ‘growth Mindset’ changed education forever, https://www.Mindsetworks.com/science/ Teacher-Practices
  • Shaleena Tareen, STRATEGIES FOR BUILDING A GROWTH MINDSET IN YOUR CHILD, https://www.laparent.com/5-strategies-for-building-a-growth-Mindset-in-your-child/, December 17, 2020

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...