สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด: เข้าใจ Growth Mindset #2

คนแบบ FIXED MINDSET

คนที่มี Fixed Mindset ในเรื่องใดนั้น ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม จะเชื่อและยึดมั่นว่า คุณสมบัติของตนเองเป็นเรื่องที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสติปัญญา บุคลิกภาพ มาตรฐานศีลธรรม รสนิยม ไปจนถึงความงดงามทางเรือนร่าง ฯลฯ  คนที่มีกรอบความคิดแบบตายตัวเช่นนี้จะมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีเส้นแบ่งที่ชัดเจน ขาวคือขาว ดำคือดำ ผิดคือผิด ถูกคือถูก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาจะเชื่อในพรสวรรค์โดยกำเนิด เมื่อต้องทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน เขาจะให้ความสำคัญกับ “ผลลัพธ์”ที่เกิดขึ้น มากกว่าการเรียนรู้กระบวนการที่ได้มาหรือการพัฒนา

คนที่มี Fixed Mindset จะเชื่อว่า ชะตาชีวิตกำหนดให้แต่ละคนเป็นไป เกิดมาในสถานะใดก็เป็นเช่นนั้น เกิดมาเก่งก็ต้องเก่งไปตลอด เกิดมาโง่ก็ไม่มีทางฉลาดได้เท่าคนอื่น คนที่มี Fixed Mindset มักคิดว่าเพราะตนเรียนมา รับผิดชอบหรือมีตำแหน่งหน้าที่ ตนจึงเป็นผู้รู้ทุกอย่าง ในโลกนี้ไม่มีใครรู้เหนือตนในเรื่องนั้นไปได้ มีแต่ตนเท่านั้นถูกเสมอ หรือผิดเสมอไม่มีทางเปลี่ยนแปลง หรือ คิดว่าที่ตนเองไม่สามารถทำอะไรได้นั้นเพราะตนเองไม่มีพรสวรรค์ในเรื่องนั้นๆ ความล้มเหลวเป็นเรื่องน่าอับอายที่ต้องซ่อนเร้นไม่ให้ผู้อื่นเห็น และเมื่อเกิดความล้มเหลวหรือมีอะไรที่ผิดแปลกออกไปจากความปกติที่เคยมา เขาจะมองว่า เป็นความผิด มีความทุกข์ร้อนใจ กลัว และที่สำคัญคนเหล่านี้มักจะคิดว่าเป็นเพราะ “คนอื่น” ทำให้เกิดความล้มเหลวขึ้น และมีใครบางคนต้องรับผิดชอบ ต้องได้รับการตำหนิ หรือลงโทษ ดังนั้นความสัมพันธ์กับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน คนรัก สามีภรรยา ฯลฯ จึงมักเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่น

เมื่อ FIXED MINDSET มองตนเอง

ในระดับปัจเจกบุคคล คนที่มี Fixed Mindset เชื่อว่า เรื่องใดที่ตนมีความสามารถนั้นเป็น เพราะตนมีพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิด ใครเกิดมามีพรสวรรค์อย่างใดแล้วก็มีอย่างนั้นไปตลอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ เมื่อได้ทำในสิ่งที่ตนถนัด ก็มักมีความรู้สึกว่า จำเป็นต้องแสดงให้คนอื่นรู้ว่า ตนมีความสามารถและฉลาดแค่ไหนในทุกโอกาสที่ตนได้รับ ปฏิเสธหรือไม่สนใจ หรือเรียนรู้ที่จะทำในเรื่องที่ตนคิดว่าตนไม่มีความถนัดหรือมีพรสวรรค์ติดตัวมา เนื่องจากมี Fixed Mindset ตายตัวในความคิด ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก สิ่งใดใช่ สิ่งใดไม่ใช่อย่างชัดเจน คนเช่นนี้จึงมีแนวโน้มในการตัดสินตนเองและผู้อื่นได้รวดเร็วว่า ดีหรือไม่ดี และเคยชินที่จะตัดสินเรื่องราวต่าง ๆตามมาตรฐานตนเองตลอดเวลา และคนเหล่านี้ก็มักคิดไปเองด้วยว่า คนอื่นกำลังตัดสินตนอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน และความคิดเช่นนี้เองยิ่งส่งผลให้เกิดเป็นพฤติกรรมปกป้องตนเอง ค้นหาความผิดของผู้อื่น สนใจที่จะเปรียบเทียบกันกับผู้อื่นตลอดเวลา สนใจเอาแพ้เอาชนะมากกว่าการพัฒนาตนเอง หรือไม่ก็จะเป็นคนที่เข้มงวดต่อตนเอง เพื่อเอาชนะผู้อื่นให้จนได้ ซึ่งส่งผลให้ภายในจิตใจมีความเครียด ความทุกข์เนืองนองอยู่เป็นนิจ

Fixed Mindset กลัวความผิดพลาด

คนที่มี Fixed Mindset จะกลัวความผิดพลาด รู้สึกว่าพลาดไม่ได้ ความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจทำให้ถูกตราหน้าว่าเป็นคนโง่ที่ไร้ความสามารถไปตลอดชีวิตได้ คนเหล่านี้ต้องการการยอมรับ นับถือจากผู้อื่นสูง เพื่อปกป้องอัตตาของตนและเป็นการยืนยันคุณค่าของตนเอง ว่าตนนั้นยิ่งใหญ่อย่างที่คิดจริงๆ 

Fixed Mindset เป็นโลกแห่งคุณสมบัติที่ตายตัว ดังนั้นความสำเร็จคือการพิสูจน์ว่า ตนฉลาดมี ความสามารถ หรือตรงกันข้าม ตนอยู่ในกลุ่มของคนที่ไร้ความสามารถ ในการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กที่มี Fixed Mindset เมื่อพยายามทำสิ่งใด เป้าหมายคือต้องการให้ผู้ใหญ่เห็นว่า ตนมีความสามารถตามที่ถูกคาดหวัง ไม่ใช่เพราะต้องการเรียนรู้ เมื่อมองโลกด้วยกรอบคิดแบบนี้ ความล้มเหลวจะกลายเป็นความพ่ายแพ้ การได้เกรดไม่ดี แข่งขันแพ้ โดนปฏิเสธ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม มีความหมายว่า พวกเขาไม่ฉลาดหรือไม่มีความสามารถพอ ไม่ “ดี” พอ เป็นพวกขี้แพ้ ความสำเร็จจากผลลัพธ์ที่ทำแต่ละเรื่องคือตัวกำหนดชะตาชีวิตทั้งชีวิตน ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับความสำเร็จมาก และคิดตลอดเวลาว่า ตนเหนือกว่าคนอื่น หรือด้อยกว่าคนอื่น

การที่มีกรอบความคิดเช่นนี้ ทำให้มีมุมมองต่อเรื่องราวและความเป็นไปของโลกบิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริงมาก เมื่อประสบความสำเร็จจะจดจ่อคิดว่าตนเป็นศูนย์กลางของโลก แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ทระนงตน คิดว่าตนเท่านั้นที่คิดได้ถูกต้อง ไม่ฟังผู้อื่น  เมื่อล้มเหลวก็จะรู้สึกเหมือนโลกถล่มทลายลงมา ตนกลายเป็นคนไร้ค่า หมดหนทางไป ล้มแล้วไม่สามารถที่จะลุกขึ้นมาอีก เป็นต้น

Fixed Mindset เน้นพิสูจน์ความสามารถของตนเอง

ในสังคมเรา มีคนจำนวนมากที่มีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวในการดำเนินชีวิต คือการพิสูจน์ตัวเอง ว่าเก่งแค่ไหน ฉลาดแค่ไหน ประสบความสำเร็จแค่ไหน ในทุกห้องเรียนมีนักเรียนแบบนี้ ทุกวงการอาชีพ ทุกความสัมพันธ์ ก็มีคนแบบนี้ คนที่มี Fixed Mindset จะมองทุกเรื่อง ทุกประสบการณ์ ทุกสถานการณ์ โดยเรียกร้องให้มีการยืนยันความฉลาด บุคลิกภาพ หรือลักษณะนิสัยของตน ทุกสถานการณ์ที่ตนประสบและตอบสนองจะต้องถูกประเมิน ด้วยคำถามว่า ฉันจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว? ฉันจะดูฉลาดหรือโง่? ฉันจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธ? ฉันจะรู้สึกเหมือนเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้?

ในชีวิตประจำวัน แม้เรื่องเพียงเล็กน้อย เราอาจสังเกตได้ว่า บางทีเราอาจมี Fixed Mindset ในเรื่องนั้นๆอย่างไม่รู้ตัว เช่น เมื่อเผลอตักข้าวหก ความคิดแวบแรกอาจจะเป็น “เอาอีก แล้ว เงอะงะ” นี่เป็นการคิดในกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset  ตีตราว่าตนเองเป็นคนแบบนี้ แก้ไขไม่ได้ ก็จะหงุดหงิดตัวเอง  ในขณะที่คนที่มี Growth Mindset เห็นว่า คนนั้นพลาดได้ การเรียนรู้จะทำให้พัฒนาขึ้น ก็จะคิดว่า “ไม่เป็นไร คราวหน้าระวังอีกหน่อย ไม่รีบเกินไป จะได้ไม่หก” อารมณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เดียวกันก็จะแตกต่างออกไป

เมื่อ FIXED MINDSET มองความเสี่ยง

มีหลายสิ่งในชีวิตจะได้มาด้วยความพยายามเท่านั้น แต่เมื่อคนที่มี Fixed Mindset เชื่อในพรสวรรค์ พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะคิดว่า คนที่มีพรสวรรค์ไม่ต้องพยายามหนักเท่าคนที่ไม่มีพรสวรรค์ ดังนั้น เมื่อไรที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือมีความเสี่ยง ที่ต้องใส่เวลา พลังงานและความพยายาม พวกเขาจะรู้สึกเสี่ยงมาก วิธีคิดนี้ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่คนที่มี Fixed Mindset จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น คนที่มี Fixed Mindset จึงมักหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ยากลำบาก

ปัญหาหนึ่งในการมองโลกและสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวของคนที่มี Fixed Mindset คือ คนเหล่านี้มักคาดหวังให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ มีความคิดว่าหากตนคู่ควร ตนจะได้รับสิ่งนั้น หากตนเป็นคนไม่คู่ควร ตนก็ไม่มีสิทธิได้รับความสำเร็จในเรื่องนั้นๆหรือสิ่งดีๆในชีวิต  อัศจรรย์ต่างๆจะเกิดขึ้นผ่านความสมบูรณ์แบบที่คนๆหนึ่งคู่ควร หรือได้จากการ “อนุมัติ” หรือดลบันดาลจากใครบางคนเท่านั้น เมื่อการงานประสบความสำเร็จก็จะมองไม่เห็นว่า เป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน และการช่วยเหลือจากคนต่างๆในการแก้ปัญหา หรือเกิดจากการเพิ่มพูนทักษะเพื่อทำให้งานใดงานหนึ่งสำเร็จลง กรอบความคิดแบบตายตัว ทำให้คิดว่า เรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นตามแบบที่เกิดขึ้นกับเจ้าหญิงนิทราซึ่งหายจากอาการโคม่า เพียงเพราะจูบเดียวของเจ้าชาย หรือซินเดอเรลล่าซึ่งมีชีวิตที่น่าสงสาร มีความเป็นอยู่น่าสังเวช กลายเป็นเจ้าหญิงได้โดยการเลือกของเจ้าชาย ซึ่งเป็นหนึ่งในนิทานและคำสอนจำนวนมากที่สืบทอดกันมาให้เด็กๆทุกยุคสมัยได้รับ Fixed Mindset เข้าไปโดยไม่รู้ตัว

Fixed Mindset กับความสัมพันธ์สมบูรณ์แบบ

ในเรื่องความสัมพันธ์  ดร.คารอลได้เชิญผู้คนจำนวนมากมาสัมภาษณ์และพบว่า คนที่มี Fixed Mindset จะเชื่อความรักในอุดมคติที่สมบูรณ์แบบ คู่รักต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เข้ากันได้ทุกอย่างและตลอดไป เหมือนในเทพนิยาย “they lived happily ever after.” คนรักกันจริงในอุดมคติควรสามารถอ่านความคิดของกันและกันและจบประโยคของกันและกันได้ คนเหล่านี้เชื่อว่าคู่รักหรือคู่ครองต้องแบ่งปันความคิดเห็น และมีความเห็นสอดคล้องไปในทางเดียวกัน หากคนรักหรือคู่สมรสมีมุมมองต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อกันต่างออกไปแม้เล็กน้อย คนที่มี Fixed Mindset จะรู้สึกว่าถูกคุกคามและไม่เป็นมิตร

          แต่สิ่งเป็นอันตรายที่สุดของกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset ในเรื่องความสัมพันธ์ คือความเชื่อที่ว่าหากมีความคิดเห็นหรือความชอบที่ไม่ตรงกันไม่ว่าเรื่องใดๆ นั่นหมายถึง ไม่คนใดก็คนหนึ่งต้องมีข้อบกพร่อง เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ก็รู้จะสึกโกรธ รังเกียจ และรู้สึกอยากตำหนิใครสักคนที่ไม่ดีพอ หากไม่โทษตัวเอง ก็โทษอีกฝ่ายว่า “ไม่ดีพอ” แต่ส่วนใหญ่มักตำหนิไปที่อีกฝ่าย โดยเฉพาะตำหนิไปที่ลักษณะ เช่น “เธอมันโง่” “เธอมันคนเห็นแก่ตัว” ซึ่งนอกจากสร้างบาดแผลในใจของอีกฝ่าย ยังทำให้ปัญหายิ่งบานปลาย

          เนื่องจาก Fixed Mindset มองว่า ปัญหามาจากลักษณะเฉพาะที่คนๆหนึ่งมีและไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นเมื่อเห็นข้อบกพร่องในตัวคู่รักหรือคู่ครองของตน จึงมักรู้สึกดูถูกและไม่พอใจกับความสัมพันธ์ทั้งหมด เขาจะต้องการให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ ความเชื่อทำให้พวกเขาไม่สามารถรับความจริงได้ว่า ตลอดทางของความสัมพันธ์ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีใดๆ ที่ปราศจากความขัดแย้งและปัญหา เฉกเช่นไม่มีความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ใดๆ หากไม่มีความพ่ายแพ้ และเรียนรู้จากความพ่ายแพ้ จนกลับมาเอาชนะได้


อ้างอิง

  • Carol S. Dweck, Ph.D., Mindset: The New Psychology of Success, Ballantine Books, December 26, 2007
  • Maria Popowa, Fixed vs. Growth: The Two Basic Mindsets That Shape Our Lives, HTTPS:// WWW.BRAINPICKINGS.ORG/2014/01/29/CAROL-DWECK-MINDSET/

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...