สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด: เข้าใจ Growth Mindset #6

พฤติกรรมและผลลัพธ์ของ Growth Mindset

ความท้าทายทำให้คนที่มีความคิดแบบ Growth Mindset สร้างโอกาสที่จะฝ่าฟันไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ยิ่งเกิดภาวะที่หดหู่ใจมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งมีพลังในการต่อสู้และพยายามเขียนชะตากรรมของตนด้วยสองมือของตนมากเท่านั้น คนที่มี Growth Mindset พยายามทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้เสมอ คนเหล่านี้กระหายการเรียนรู้ กระหายหาความรู้ ใช้ข้อมูลที่ได้มาลงมือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่อง

          เราจะได้เห็นว่า ครูที่มี Growth Mindset จะมุ่งถามตนเองว่าจะหาวิธีอย่างไร สอนให้ลูกศิษย์เก่งขึ้น เชื่อมั่นว่านักเรียนของตนสามารถเรียนรู้ พัฒนาได้ จะเอาใจใส่ ให้เวลากับนักเรียน คิดหาวิธีการต่างๆ สร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ โดยเฉพาะเอาใจใส่นักเรียนที่เรียนอ่อนให้ได้พัฒนา สนับสนุนให้นักเรียนมีกำลังใจฝึกฝนตนเอง ตระหนักพบว่า แท้ที่จริงตนเองไม่ได้ “โง่” สามารถเรียนรู้ และทำคะแนนได้ดีขึ้นเสมอเมื่อมีความพยายาม

          อีกทั้งในงานวิจัย ก็พบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงกรอบความคิดทั้ง Growth Mindset และ ​ Fixed Mindset ที่ต่างกัน ในเด็กที่ยังเล็กมาก เด็กที่มี Growth Mindset เมื่อพบว่าทารกอีกคนกำลังร้องไห้ เขาจะแสดงอาการพยายามช่วยเหลือ แต่เด็กที่มี Fixed Mindset จะแสดงอาการรำคาญ

รูปภาพจาก: Two Mindsets : Carol S. Dweck, Ph.D. – Graphic by Nigel Holmes, https://www.Mindsetworks.com/science/Impact

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของ Growth Mindset

เมื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกรอบความคิดและพฤติกรรม นักวิจัยทีม ดร.คารอล เอส ดเว็ค แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่าคนที่มี Growth Mindset ประสบความสำเร็จมากกว่าจากความสามารถในการขุดพละกำลังทั้งหมดที่ตนมี ทุ่มเททำงานจนบรรลุเป้าหมายในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพและสถานการณ์ที่ไม่เป็นใจ บุคคลระดับโลกจำนวนมากเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดจากความพยายาม เช่น

          โธมัส อัลวา. เอดิสัน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก ประสบความล้มเหลวมานับพันๆครั้ง แต่ไม่เคยเลิกล้มความตั้งใจในการทดลอง คำกล่าวอมตะของเขาคือ “ผมไม่ได้ล้มเหลว  ผมแค่ค้นพบวิธีที่ไม่ได้ผล 10,000 วิธีเท่านั้นเอง”  เขาจึงได้สิ่งประดิษฐ์ขึ้นมามากมายมอบให้แก่โลก

          ชาร์ล ดาร์วิน ทุ่มเทศึกษาค้นคว้ามากกว่าครึ่งชีวิตในการทำผลงานชิ้นเอก “The Origin of Species” เขาชี้ให้เห็นว่า “ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดที่อยู่รอดได้ แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ต่างหาก”

          โมฮัมหมัด อาลี ซึ่งเป็นอดีตยอดนักมวยชาวอเมริกันที่ได้รับการยกย่องให้ เป็นแชมป์โลกตลอดกาลในรุ่นเฮฟวีเวทโดยสมาคมมวยโลก ในปี 2554 เป็นอีกตัวอย่างของความพยายาม ศึกษาคู่ต่อสู้จนได้รับชัยชนะ ในการชกหลายครั้งดูเหมือนว่าโมฮัมหมัดไม่น่าจะสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้สุด โหดได้ แต่โมฮัมหมัดเป็นคนที่เรียนรู้ และพยายามพัฒนาตนเองตลอดเวลา พยายามศึกษาคู่ต่อสู้จนรู้จุดอ่อนจุดแข็งและเอาชนะได้ในที่สุด   เป็นต้น

          หลุยส์ เกิร์สเนอร์ (Lou Gerstner) ประธานบริหารของบริษัท IBM ที่เข้ารับตำแหน่งในขณะที่บริษัทกำลังประสบวิกฤติใกล้ล้มละลาย สภาพแวดล้อมในการทำงานเต็มไปด้วย fixed Mindset บริษัทต้องสูญเสียพลังงานและเวลาไปกับความขัดแย้งภายใน แทนที่จะทุ่มเทพลังงานและเวลาไปกับการให้บริการลูกค้าและทำงานเป็นทีม ในขณะที่บริษัทไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ทุกคนในบริษัทกลับคิดว่าตนได้ทำดีที่สุดแล้ว

          ภายใต้วิธีคิดแบบ Growth Mindset หลุยส์ได้ทำลายลำดับชั้นของบริษัทและเน้นการทำงานเป็นทีม โดยให้รางวัล พนักงานที่สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน เขายังเปิดเส้นทางการสื่อสารทั่วทั้งบริษัท ให้สถานะของคนในบริษัทอยู่ ในระดับเดียวกัน ซึ่งทำให้พนักงานสามารถสื่อสารถึงเขาได้โดยตรง ทำให้เขาสามารถติดต่อกับพนักงานทุกคนได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในเวลาเพียงสั้นๆ  เขาสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ อาศัยการทำงานเป็นทีมและการพัฒนา เปลี่ยนจากความสำเร็จของแต่ละบุคคลและไปสู่การพัฒนาร่วมกัน และสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนให้กับ IBM ได้

          ไมเคิล จอร์แดน (Michael Jordan) ผู้ยิ่งใหญ่ระดับโลกแห่งวงการบาสเก็ตบอลอเมริกัน  ได้แสดงออกถึงการมีความคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset ทุกครั้งที่ชู๊ตลูกบาสไปแล้วไม่เข้าห่วง แทนที่จะจับผิดหรือโทษเพื่อนร่วมทีม หรือคิดว่ามันเป็นเพราะพื้นสนามบาสเกตบอลไม่ดี ไมเคิลวิเคราะห์และฝึกชู๊ตลูกที่ตนเองพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า น้อมรับคำแนะนำจากคนอื่น เพื่อหาวิธีพัฒนาทักษะและเทคนิคการเล่นของตน ไมเคิลสิ้นสุดอาชีพการเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลมืออาชีพด้วยการเป็นผู้เล่นที่มีเทคนิคการยิงประตูที่ยอดเยี่ยมที่สุดในวงการ เขาเชื่อมั่นว่าสามารถเปลี่ยนความพ่ายแพ้ให้เป็นชัยชนะได้ ตราบใดที่มีความพยายามมากพอ จิตใจที่แข็งแกร่งทรหด  การฝึกซ้อมของไมเคิล จอร์แดนและผลการแข่งขันพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ความพยายามไปต่อ สรุปบทเรียน และทำให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา เป็นปัจัยที่นำคนสู่เป้าหมายได้มากกว่าความสามารถที่มีอยู่เป็นทุนเดิม

          อย่างไรก็ตาม กรอบความคิดของคนเปลี่ยนแปลงได้ คนที่มี Growth Mindset เมื่อประสบความสำเร็จแล้วยึดติดกับความสำเร็จ ชื่อเสียงที่ได้ก็อาจเปลี่ยนให้เป็นคนที่มี Fixed Mindset ได้ ดร.คารอล ได้ยกตัวอย่าง Chrysler Motors อันเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีชื่อเสียง ที่ ลี ไอเอคอกค่า (Lee Iacocca) ได้เข้ามารับตำแหน่ง CEO ในเวลาที่บริษัทกำลังขาดทุนอย่างหนัก อาจถึงขั้นล้มละลาย  ลีบริหารด้วยสไตล์ตัดสินใจและแก้ปัญหาที่รวดเร็ว ให้คุณค่าแก่พนักงาน ทำให้กู้คืนสถานะบริษัทกลับมามีกำไรอีกครั้ง แต่หลังประสบความสำเร็จและเขียนหนังสือเป็นที่ยกย่องไปทั่วโลก พฤติกรรมของลีก็เปลี่ยนไป เขาเริ่มเสวยสุขบนเกียรติยศที่ได้รับ อวดความเหนือกว่า และสนใจเสริมภาพลักษณ์ของตัวเองมากกว่าสถานะในการแข่งขันในตลาดรถยนต์และผลกำไรของบริษัท ลีแสดง Fixed Mindset ออกมาอย่างชัดเจน ตัดสินทุกอย่างว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” พยายามทำตัวให้ฉลาดและมีความสามารถมากที่สุด สนใจแต่ว่าคนจะชื่นชมตนเองอย่างไร แทนที่จะหาวิธีปรับปรุงพัฒนาบริษัทให้ก้าวหน้า ในที่สุดเขาก็พาไครสเลอร์พลาดท่าอีกครั้ง

          นอกจากนี้ ในการศึกษาวิจัยพบว่า กรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) ที่มีอยู่ในการบริหารงานบุคคลของบริษัทขนาดใหญ่ อย่างเช่น Enron และ McKinsey ต้องใช้เงินจำนวนมากในการเฟ้นหานักศึกษาที่มีความสามารถโดดเด่นในมหาวิทยาลัย ด้วยกรอบความคิดว่า ถ้าเลือกเฟ้นหาบัณฑิตที่มีความสามารถกว่าคนอื่น จะทำให้บริษัทเพิ่มประสิทธิภาพได้ทันที และเมื่อรับเข้ามาทำงาน พนักงานที่มีความสามารถโดดเด่นเหล่านี้จะถูกประเมินการทำงานจากผู้บังคับบัญชาอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง หากทำไม่ได้ตามเป้าก็ถูกคัดให้ออกไป ดร. คารอลพบว่า แนวทางการบริหารเช่นนี้สะท้อน Fixed Mindset ว่า คนที่ไม่สมบูรณ์แบบก็คือคนที่ไม่สมบูรณ์แบบ และไม่มีทางสมบูรณ์แบบขึ้นมาได้ จึงควรให้ออกไป ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีในระยะยาวให้กับบริษัทในการรักษาคนดีไว้ได้นาน


อ้างอิง

  • Carol S. Dweck, Ph.D., Mindset: The New Psychology of Success, Ballantine Books, December 26, 2007
  • Why Do Mindsets Matter?,The Impact of a Growth Mindset, https://www.Mindsetworks.com/ science/Impact
  • Maria Popowa, Fixed vs. Growth: The Two Basic Mindsets That Shape Our Lives, HTTPS:// WWW.BRAINPICKINGS.ORG/2014/01/29/CAROL-DWECK-MINDSET/

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...