สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด: เข้าใจ Growth Mindset #7

Growth Mindset: เรียนรู้ ยืดหยุ่น และพากเพียร

การศึกษาของดร.คารอล สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ตามมาของกรอบความคิดเติบโตที่เชื่อว่า ความ ฉลาดและบุคลิกภาพสามารถพัฒนาได้ ในหนังสือ “ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา” (Mindset : Changing the way you think to fulfil your potential) การวิจัยของเธอได้แสดงให้เห็นว่า มุมมองที่คนมีต่อตนเองส่ง ผลอย่างมากต่อแนวทางการใช้ชีวิตของคนๆนั้นในระยะยาว กรอบความคิดที่เรามี สามารถกำหนดได้ว่าเรา จะกลายเป็นคนที่เราอยากเป็นหรือไม่ เราจะบรรลุสิ่งที่เราเห็นคุณค่าหรือไม่ และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร? และกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) อันเป็นความเชื่อที่เรียบง่ายมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงความคิด ของเราและชีวิตของเราได้อย่างไร?

          ดร.คารอล ค้นพบว่าหัวใจสำคัญของสิ่งที่ทำให้ “กรอบความคิดแบบเติบโต” น่าสนใจมาก คือการที่คนที่มีกรอบความคิดเติบโตหลงใหลในการเรียนรู้ มากกว่าที่จะต้องการการยอมรับจากคนอื่น จุดเด่นของ กรอบความคิดเติบโต คือ ความเชื่อมั่นว่าคุณสมบัติของมนุษย์ เช่น ความฉลาดและความคิดสร้างสรรค์และแม้กระทั่งความสามารถในการจัดการความสัมพันธ์ เช่น ความรักและมิตรภาพ สามารถปลูกฝังได้ด้วยความพยายามและมุ่งมั่นลงมือทำ คนที่มีกรอบความคิดแบบนี้ไม่เพียงแต่จะไม่ท้อถอยต่อความล้มเหลวเท่านั้น ใน สถานการณ์ที่เผชิญหน้าความล้มเหลว เขาไม่ได้คิดตำหนิตนเอง หรือตราหน้าตนเองว่า แย่ พวกเขายอมรับความเป็นจริงด้วยความเจ็บปวดว่า สิ่งที่ตนเองทำนั้นล้มเหลว แต่ก็มองว่า ตนเองสามารถทำให้ดีกว่าที่ผ่านมาได้ ด้วยการสรุปบทเรียน เรียนรู้ เพื่อก้าวต่อไป

          ดร.คารอลกล่าวว่า “จะเสียเวลาพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าคุณยอดเยี่ยมแค่ไหน ในเมื่อคุณสามารถดีขึ้นได้? ทำไมต้องซ่อนข้อบกพร่องแทนที่จะเอาชนะมัน? ทำไมต้องคอยมองหาเพื่อน คู่หู หรือคนรักที่คอยมาสนับสนุนคุณให้มีความนับถือตนเอง แทนที่จะเป็นคนที่ท้าทายให้คุณเติบโตไปด้วยกัน? จุดเด่นของกรอบความคิดแบบเติบโต คือการที่ทำให้เราเห็นคุณค่าว่า ทำไมเราต้องค้นหาความจริง และ ตั้งใจเรียนรู้สิ่งที่เราต้องการพยายามทำให้สำเร็จ  แทนที่จะเสียเวลากับประสบการณ์ที่ยึดเราไว้ให้อยู่กับที่ทั้งประสบการณ์ความสำเร็จที่ได้รับ หรือประสบการณ์ความล้มเหลวที่เราประสบ ทำไมความหลงใหลในการเรียนรู้อย่างไม่ย่อหย่อน ทำให้คนเจริญเติบโตไปไม่ สิ้นสุด และบอกเราว่า “เราสามารถทำอะไรก็ได้ เมื่อเรามีความพยายาม!”

          จากการสำรวจหา “คุณลักษณะ” ที่ทำให้นักออกแบบสร้างสรรค์งานประเภทต่างๆประสบความสำเร็จ ด้วยการการสัมภาษณ์นักวิจัยด้านความคิดสร้างสรรค์จำนวน 143 คน ค้นพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่ทำให้คนประสบความสำเร็จเชิงสร้างสรรค์อันดับแรก คือ “ความคิดยืดหยุ่น” และ “ความพากเพียร” อันเป็นคุณลักษณะจากกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ที่บากบั่น อดทน ไม่ยอมเลิกราแม้ประสบความล้มเหลว และพยายามหาแนวทางออกใหม่ ยืดหยุ่นความคิดไปจากเดิมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และบริบทของสังคมนั่นเอง

          ในประเทศอังกฤษได้มีการนำเอากรอบความคิดแบบเติบโต (Fixed Mindset) และกระบวนการพัฒนากรอบความคิดดังกล่าวนี้ไปใช้ในห้องเรียนแล้วพบว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังเช่นกรณีศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา Fiske ที่มีนักเรียนหลากหลาย ทั้งนักเรียนที่เริ่มเรียนภาษา อังกฤษและนักเรียนการศึกษาพิเศษ เมื่อผู้บริหารได้นำกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) มา เป็นวัฒนธรรมของโรงเรียน โดยเริ่มจากการพัฒนากรอบความคิดของครู จัดให้ครูได้เข้าร่วมในการศึกษากรอบความคิดแบบเติบโตและนำไปใช้ในห้องเรียนของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงปีที่สอง Fiske Elementary มีการเติบโตที่น่าทึ่ง มาจากแนวทางปฏิบัติของครูที่มีแนวคิดในการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของโรงเรียน

           แม้ว่าในความเป็นจริง ความสำเร็จของแต่ละคนนั้นเกิดขึ้นมาได้จากปัจจัยประกอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางสังคม ระบบโครงสร้างที่เกื้อหนุน และช่วงจังหวะเวลา ซึ่งหมายความว่า ความสำเร็จของคนแต่ละคนที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากความเก่งหรือพรสวรรค์ล้วนๆ แต่คนมีกรอบความคิดเติบโต “ความพยายาม” คือความท้าทายที่ต้องลงมือทำอย่างมานะ อดทน  และแม้ว่าในความพยายามไม่ได้นำไปสู่ความสำเร็จในทุกเรื่อง แต่ความการก้าวสู่ความสำเร็จในทุกๆเรื่องมีความพยายามเป็นฐานรากที่หยั่งลึก ความล้มเหลวไม่ใช่หลักฐานหรือตราประทับของความไม่รู้ แต่เป็นเหมือนสปริงบอร์ดที่ขยายความสามารถที่มีอยู่ของเรา เป็นพลังที่ส่งให้เราเข้มแข็ง ส่งผลต่อความมุมานะ และพฤติกรรมมากมายที่นำไปสู่ความสำเร็จ การพัฒนาความสัมพันธ์กับคนที่เรารัก และผู้คนหลากหลายที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยทำให้เรามีความสามารถในการมีความสุขได้จากภายในด้วยกรอบความคิดที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เติบโต

          ดังนั้น Fixed Mindset และ Growth Mind จึง ไม่เพียงแต่มีความสำคัญในการพัฒนาตนเองและการประสบความสำเร็จในการศึกษาและการทำงาน แต่ยังเป็นกรอบความคิดที่มีผลต่อความสัมพันธ์และความรักอย่างลึกซึ้ง ทำให้เรามีความนับถือตนเอง และมีความ สุขแม้ในยามยากลำบาก อยู่กับความเป็นจริง เรียนรู้ทุกวัน อีกทั้งคอยสนับสนุนให้คนที่ตนรักได้เรียนรู้สิ่ง ใหม่ ๆ และกลายเป็นคนที่ดีขึ้นไปด้วยกันอีกด้วย


อ้างอิง

  • Carol S. Dweck, Ph.D., Mindset: The New Psychology of Success, Ballantine Books, December 26, 2007
  • Why Do Mindsets Matter?,The Impact of a Growth Mindset, https://www.Mindsetworks.com/ science/Impact
  • Maria Popowa, Fixed vs. Growth: The Two Basic Mindsets That Shape Our Lives, HTTPS:// WWW.BRAINPICKINGS.ORG/2014/01/29/CAROL-DWECK-MINDSET/
  • ‘Growth Mindset’ changed education forever, https://www.Mindsetworks.com/science/ Teacher-Practices, สืบค้น 7 กย. 2564
  • Aneeta Rattan, Catherine Good, Carol S. Dweck, “It’s ok — Not everyone can be good at math”: Instructors with an entity theory comfort (and demotivate) student, https:// scottbarrykaufman.com/wp-content/uploads/2012/02/Rattan-et-al.-2012.pdf

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...