สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด: เข้าใจ Growth Mindset #9

กรอบความคิดของเรา “เปลี่ยน” ได้ไหม?

การที่เราเข้าใจถึงความสำคัญของกรอบความคิดพื้นฐานที่จะนำพาให้เราสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และมีความสุขในชีวิตนั้น เราต้องพึงตระหนักก่อนว่า ไม่ว่ากรอบความคิดตายตัว (Fixed Mindset) และกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ล้วนพาเราไปสู่ผลลัพธ์แบบใดแบบหนึ่งเสมอที่แตกต่างกันคนละขั้ว

          Fixed Mindset ที่เชื่อว่า คุณสมบัติของเราไม่ว่าจะฉลาด โง่ เข้มแข็ง อ่อนแอนั้น คือตัวตนของเราที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะนำไปสู่ความคิดและการกระทำมากมาย ที่ขัดขวางไม่ให้เราเรียนรู้เติบโต ไม่ว่าจะเป็นทางความรู้ อารมณ์ความรู้สึก และทักษะที่จำเป็นต่อความสำเร็จ ความสุข ตลอดจนการมีสุขภาพดี Fixed Mindset นำมาซึ่งการทำร้ายทั้งตนเองและผู้อื่น มีชีวิตที่เป็นทุกข์ ส่วน Growth Mindset ที่ปลูกฝังว่า ความพยายามจะนำทางเราให้เรียนรู้  ก็จะพาเราไปสู่เส้นทางที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เราจะรู้สึกสนุกกับชีวิตและความท้าทายที่เข้ามา ดังเช่นนักเรียนที่สนุกกับโจทย์เลขที่ยากขึ้น เพลิดเพลินกับการพยายามแก้โจทย์อย่างไม่ท้อถอย รู้สึกถึงคุณค่าและนับถือตนเองในความพยายาม ในขณะเดียวกันก็ไม่หลงระเริง ถ่อมตน และเคารพผู้อื่น จากความเข้าใจถึงประสบการณ์ความเหนื่อยยากที่ต้องลงมือทำ ร่วมมือหรือแม้กระทั่งขอความช่วยเหลือและเรียนรู้จากผู้อื่นเพื่อให้ตนได้พัฒนา จึงจะได้สิ่งที่ต้องการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อเผชิญความยากลำบากก็เชื่อมั่นว่า เมื่อลงมือทำอย่างตั้งใจ จะสามารถพลิกสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ และไม่ยอมแพ้อีกทั้งมีความคิดที่ยืดหยุ่น ทำให้เป็นสุขง่ายขึ้น ตัดสินและประทับตราผู้อื่นน้อยลง ใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขร่วมกับผู้อื่นได้มากขึ้น

เปลี่ยน Mindset ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก

          เมื่อตระหนักถึงข้อดีของ Growth Mindset แล้ว สิ่งสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจ คือ การออกจาก Fixed Mindset ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ทันทีทันใด เพราะ กรอบความคิดแบบตายตัวนี้ปกป้อง ปลอบใจเราให้มีที่ยืนที่รู้สึกมั่นคง สร้างการยอมรับในสายตาของพ่อแม่และคนที่เรารัก เพิ่มความมั่นใจในตนเอง มันทำให้เราสบายใจที่ไม่ต้องดิ้นรน แต่การเปลี่ยน Mindset  ก็เป็นสิ่งที่มีพลังที่สุดที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเอง และจะส่งผลไปตลอดชีวิตของเรา

          อย่างไรก็ตาม การก้าวไปสู่ Growth Mindset ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเย็น เราสามารถเริ่มต้นได้ เพียงเราตระหนักเป็นอันดับแรกก่อนว่า การคิดแบบตายตัวนั้นส่งผลลบต่อเราอย่างไร แล้วฝึกใช้มุมมองจากกรอบความคิดแบบเติบโตในเรื่องที่เราเห็นว่า จะทำให้เรามีพละกำลังในการพัฒนา สามารถทำในเรื่องที่เราปรารถนาได้ดีขึ้น

ธรรมชาติสมอง พร้อมปรับเปลี่ยน ตลอดเวลา

ความก้าวหน้าทางประสาทวิทยาล่าสุด ก็ยืนยันสนับสนุนไปในทิศทางเดียวกับ Growth Mindset  ที่ว่า การกระทำทุกอย่างของเราเกิดจากการทำงานของสมอง และสมองมีประสิทธิภาพที่มหัศจรรย์กว่าที่เราเคยรู้ การวิจัยเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของสมอง (Neuroplasticity) ชี้ว่า สมองของเรามีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และก่อรูปการเชื่อมต่อใหม่ๆระหว่างไซแนปส์ของเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์อยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งที่เรามีการทำซ้ำ คิดซ้ำ หรือรู้สึกซ้ำ เส้นใยประสาทก็จะได้รับการเสริมแรง ยิ่งทำซ้ำมากเท่าใด บ่อยเท่าใด ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของวงจรสมองให้เกิดมีโครงข่ายใยประสาทในเรื่องนั้นๆที่แข็งแรงยิ่งๆขึ้นไป เหมือนกับที่เราออกกำลังกายทุกวันแล้วกล้ามเนื้อก็แข็งแรง จึงกล่าวได้ว่า การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยประสบการณ์   จากการฝึกฝนที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ โครงข่ายวงจรประสาทจะเกิดการเชื่อมต่อใหม่ เสริมความแข็งแกร่งให้กับวงจรเครือข่ายที่มีอยู่เดิม และสร้างฉนวน (ปลอก Myelin) ที่หุ้มแขนงประสาทส่งออก ซึ่งช่วยเร่งส่งแรงกระตุ้นในการเชื่อมต่อข้อมูลกับอีกเซลล์ประสาทหนึ่งได้ดีขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้เร็วขึ้น และเร็วขึ้นตามลำดับ

          การค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการคิดของเรานั้นไม่ตายตัว เราสามารถเพิ่มการเติบโตทางความคิดและประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทในสมองได้ ด้วยการกระทำของเราเอง  ไม่มีอะไรที่จะกีดกันเราออกจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แก้ปัญหาใหม่ๆ หรือกักเราไว้ใน comfort zoneได้  เราเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าจะด้วยการถูกกระตุ้นด้วยคำถาม การได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ การทานอาหารที่เป็นประโยชน์และการนอนหลับที่เพียงพอและมีคุณภาพ

เปลี่ยน Mindset ได้เมื่อเข้าใจการทำงานของสมอง

การค้นพบทางประสาทวิทยาทำให้เราเข้าใจเรื่อง ความเชื่อมโยงระหว่างความคิด กับ ความสำเร็จ คำถามที่ว่า “คนเราเปลี่ยนความคิดได้ไหม? มีวิธีการเปลี่ยนกรอบความคิดอย่างไร” ทำให้เริ่มมีการศึกษาว่า เราสามารถเปลี่ยนความคิดของคนจาก Fixed Mindset ไปเป็น Growth Mindset อย่างไร  เช่น งานวิจัยนักเรียนชั้นปีที่ 7 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ที่ได้ทดลองสอนเด็กให้รู้ว่า ความฉลาดนั้นเป็นเรื่องของกระบวนการทำงานของสมอง ที่ละเอียดอ่อนและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยให้นักเรียนเห็นภาพการเติบโตและกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง เห็นวงจรประสาทเชื่อมโยงกันแข็งแรงขึ้นจากความพยายาม ลงมือ เรียนรู้ และปฏิบัติ และเด็กๆยังได้เรียนรู้ว่า สมองนั้นก็สามารถฝึกได้เหมือนกับกล้ามเนื้ออื่นๆ  ถ้าเราต้องการกรอบความคิดแบบ Growth Mindset เราสามารถสอนตัวเองให้คิดอย่างนั้นทีละขั้นทีละตอนได้

          จากการวิจัยพบว่า เมื่อนักเรียนมีความเข้าใจเรื่องนี้ ส่งผลให้เชื่อมั่นว่า ความพยายามก่อให้เกิดความสำเร็จได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ผลการเรียนและการทำคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

คำชมของผู้ใหญ่ ก็เปลี่ยน Mindset ได้

นอกจากจะสอนเด็กเกี่ยวกับสมองที่พัฒนาได้ นักวิจัยสังเกตว่าการสอน และการปฏิบัติตัวของครูมีผลกระทบอย่างมากต่อกรอบความคิดของนักเรียน คำชมของครูสร้างกรอบความคิดให้เด็ก หากครูชมว่าฉลาด จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กมี Fixed Mindset ในขณะที่คำชมเชยเรื่องความพยายามจะช่วยปลูกฝัง Growth Mindset ทำให้เด็กๆ พร้อมเผชิญกับความท้าทายและเรียนรู้ มีความสามารถเพิ่มขึ้น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นด้วย

          นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ต้องเห็นความสำคัญของการใส่ใจใน”กระบวนการ”มากกว่า”ผลลัพธ์”   การส่งเสริมให้เด็กยอมรับตามหลักภาษาจีนที่สอนกันมาว่า “การกระทำเป็นเรื่องของคน ผลเป็นเรื่องของฟ้าดิน” นั่นคือ การเอาใจใส่ต่อความพยายาม มุ่งมั่น ประณีต ใช้กระบวนการที่มีคุณภาพอย่างเต็มที่แล้ว  ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรก็ยอมรับได้ตามนั้น เช่นนี้เด็กๆก็จะตระหนักในการใช้ความพยายามที่กระบวนการ มากกว่าจะไปรอรับผลคะแนนสุดท้ายเพียงอย่างเดียว


อ้างอิง

  • Anne-Laure Le Cunff, From fixed Mindset to growth Mindset: the complete guide
  • https://www.Mindsetworks.com/science/Teacher-Practices
  • Carol S. Dweck, Ph.D., Mindset: The New Psychology of Success, Ballantine Books, December 26, 2007
  • Why Do Mindsets Matter?,The Impact of a Growth Mindset, https://www.Mindsetworks.com/ science/Impact
  • Maria Popowa, Fixed vs. Growth: The Two Basic Mindsets That Shape Our Lives, HTTPS:// WWW.BRAINPICKINGS.ORG/2014/01/29/CAROL-DWECK-MINDSET/
  • ‘growth Mindset’ changed education forever, https://www.Mindsetworks.com/science/ Teacher-Practices, สืบค้น 7 กย. 2564

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...