สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 5 ตอนที่ 1 เด็กประถม “ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม”

เด็กประถม “ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม”

หนึ่งในเป้าหมายทางการศึกษาประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 คือพัฒนาเด็กให้เป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม  คำว่า “สร้างสรรค์นวัตกรรม” ฟังดูช่างยิ่งใหญ่ห่างไกลจากเด็กวัยประถมมาก แต่ที่จริงแล้วโดยธรรมชาติแห่งวัย วัยประถมเรียกได้ว่าเป็นวัยของ “การเป็นผู้สร้างสรรค์” เพราะเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น อยากลองทำสิ่งใหม่ๆ

แต่การสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีแรงบันดาลใจ เด็กมีแรงบันดาลใจแล้วอยากจะเรียนรู้ อยากทดลอง อยากทำมากขึ้นแล้วนำไปสู่การสร้างสรรค์งานในที่สุด แรงบันดาลใจจะเกิดต่อเมื่อเด็กได้รู้ว่าสิ่งนั้นมีผลต่อตัวเองต่ออะไรอย่างไร เช่นถ้าจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องขยะ ก็ต้องให้เด็กรู้ว่าขยะมาจากไหน เกี่ยวข้อง ส่งผลกระทบต่อเด็กและโลกอย่างไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเปิดโลกการเรียนรู้ให้เด็กได้คิดค้น หาวิธีการ นำเสนอ สืบค้น ทำ ซึ่งก็คือการสร้างนวัตกรรมนั่นเอง

เด็กต้องมี Passion หมายถึงความเอาจริงเอาจัง กระตือรือร้น พร้อมที่จะลงมือทำเรื่องนั้นๆ ไม่ว่าเผชิญกับสถานการณ์ใดก็จะทำต่อไป และเมื่อบวกกับ Perseverance – ความเพียร มุมานะบากบั่นอย่างยิ่ง ก็จะทำให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้  การมี Passion จะทำให้เด็กมีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค แม้ยากลำบาก จะอดทนทำ มีความสุขกับงานที่ทำ ถึงจะล้มเหลวกลางทาง แต่ Passion จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไปถึงเป้าหมายจนงานสำเร็จจนได้

ความอยากรู้อยากเห็นอยากลองจะทำให้เด็กเกิด Passion จึงควรให้เด็กได้ลองทำสิ่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ในวัยอนุบาลเด็กสนุกกับการได้เล่น ได้ทำ แต่เมื่อถึงวัยประถม ควรต้องเพิ่มความจริงจังในการค้นพบสิ่งใหม่ ในการทดลอง มากกว่าแค่สนุกที่ได้ทำ ต่อยอดไปสู่การได้ทำสิ่งใหม่อย่างจริงจัง เกิดการค้นคว้าต่อ ทำต่อ     

การลองทำสิ่งต่างๆ อย่างหลากหลาย บางคนต้องลองอยู่นานกว่าจะรู้ว่าชอบอะไร ทั้งนี้พ่อแม่และครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้หยิบ ได้จับ ได้ทำ ได้ฝึกให้มากนั่นเอง เด็กยังมีประสบการณ์ที่กว้างขึ้นด้วย การที่เด็กได้รู้ตัวว่าตัวเองชอบไม่ชอบอะไร นั่นคือเด็กได้รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง (Self) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี พอขึ้นชั้นมัธยมเด็กจะเริ่มรู้มากขึ้นว่าตัวเองมีความสนใจอะไร แล้วค้นหาตัวตน หาอัตลักษณ์ของตัวเองต่อไป

นอกจากนี้ เด็กยังต้องมีเวลาที่จะลุ่มลึกกับสิ่งนั้นด้วย เพื่อทำให้งานสำเร็จ ไม่ใช่แค่เสร็จ  

เด็กวัยประถมจะมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ระบบการศึกษา ระบบโรงเรียนที่ทำให้ต้องมีชั่วโมงเรียน มีวิชาเรียนตามหลักสูตร เด็กต้องเปลี่ยนวิชาเรียนตามตารางเรียน ความสนใจในเรื่องๆ หนึ่งจึงชะงัก ความสนใจไม่ต่อเนื่อง เมื่อกลับบ้านยังต้องทำการบ้าน เรียนพิเศษ จึงไม่มีเวลาพอที่จะทำให้เกิด Passion และลงลึกกับเรื่องใด แต่ถ้าพ่อแม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ก็สามารถจัดเวลาให้ลูกมีเวลาขลุกอยู่กับสิ่งที่ตัวเองชอบ อยากเรียนรู้ได้

ครูผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทอย่างมาก เปลี่ยนจากการบอกความรู้เพื่อไปสอบ เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ ตั้งคำถาม ชวนให้เด็กคิด ชวนให้สร้างสรรค์

อีกทั้งโรงเรียนต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนที่เอื้อให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ Passion และมีเวลาลุ่มลึกกับสิ่งที่เด็กสนใจ


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...