สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 5 ตอนที่ 2 จะสร้าง Passion ให้เด็กอยากเรียนรู้ เป็นผู้สร้างสรรค์ได้อย่างไร

จะสร้าง Passion ให้เด็กอยากเรียนรู้ เป็นผู้สร้างสรรค์ได้อย่างไร

ไม่ใช่เฉพาะครูศิลปะ หรือครูวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่จะจัดการเรียนการสอนให้เด็กเป็นผู้สร้างสรรค์ได้ ครูทุกวิชาสามารถทำให้เด็กคิดค้นสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน โดยเปิดโอกาส ตั้งคำถาม เชิญชวน ท้าทายให้เด็กๆ ได้คิดสร้างสรรค์ ให้คิดยืดหยุ่น คิดนอกกรอบ

เช่นการสอนวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง อาจจะตั้งคำถาม เช่น ถ้าเจ้าเงาะเดินเข้ามาในห้อง เด็กๆ จะตั้งคำถามอะไรกับเจ้าเงาะบ้าง หรือถ้าจะสอนในเรื่องการเขียนจดหมาย ครูนำด้วยการเล่าเรื่องซินเดอเรลล่า แล้วถามว่า ตอนนี้เวลาผ่านไป 20 ปีแล้ว จะเขียนถึงซินเดอเรลล่าว่าอย่างไร แล้วแลกกันอ่าน ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถทำได้กับทุกวิชา โดยเด็กยังอยู่ในเนื้อหาวิชานั้นๆ แต่สามารถคิดนอกกรอบ ยืดหยุ่นได้

ครูอาจจะใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Problem-Based Learning ในวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ ส่วนศาสตร์อื่นๆ นำมาบูรณาการ วิธีนี้จะทำให้เด็กได้พัฒนา ได้สร้างสรรค์งาน จากการมีเวลาเรียน เวลาสร้างสรรค์งานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่ติดปัญหาเรื่องเวลาเรียน

ครูต้องเปลี่ยน Mindset เปลี่ยนวิธีการสอน Coach เด็กให้มากขึ้น อดทนให้มากขึ้น เพิ่มทักษะในการใช้คำถามที่ท้าทายเด็กให้คิดต่อ เปิดโอกาสให้เด็กทำงาน ได้คิด ค้นคว้า เมื่อเด็กเรียนไปแล้วเกิดปัญหา อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าไม่ควรเรียนเรื่องนี้ แต่ควรโฟกัสไปที่ปัญหา แล้วหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง โดยมีครูคอยช่วยเหลือ ชี้แนะ

Passion อาจจะยังไม่เกิดทันทีในวัยประถม แต่พ่อแม่หรือครูควรให้เด็กวัยนี้ได้รับโอกาสฝึกฝน ให้ได้ทำสิ่งต่างๆ ให้มาก ไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่เด็กชอบเท่านั้น เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้าง เป็นการฝึกสมรรถนะของจิตไปด้วย ที่ต้องฝืนทำสิ่งที่ไม่ชอบ เพราะฉะนั้นเด็กควรจะต้องทำต้องฝึกหลากหลาย แล้วอาจจะพบว่าสิ่งที่ไม่ชอบ ก็อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ชอบก็ได้ กลายเป็นสิ่งที่มี Passion ได้

ครูต้องเป็นผู้สร้างความอยากรู้อยากเห็น จุดประกาย กระตุ้นให้เด็กอยากทำอะไรสักอย่างให้เกิดขึ้น โดยให้เด็กค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองแล้วนำมาถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ออกสู่สังคม ตัวอย่างเช่น ครูสอนให้เด็กทำของเล่นเอง จากความคิดว่าไม่จำเป็นต้องซื้อของเล่นให้เสียเงินหรือราคาแพงๆ แต่สามารถทำเองได้ โดยให้เด็กนำวัสดุต่างๆ ที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นของเล่น ให้เด็กได้คิด ได้เลือกวัสดุ ได้ทดลองทำด้วยตัวเอง เด็กอาจทำรถมีล้อ แต่ทำไมรถวิ่งไม่ได้ เด็กจะหาทางทำให้ล้อหมุนได้ ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการทำ การลอง การสรุปบทเรียน จากนั้นให้นำเสนอ อธิบายให้เพื่อนๆ ฟัง ซึ่งเด็กๆ จะเกิดความภาคภูมิใจ

ต้องได้รับการสนับสนุนจากทางบ้าน การจะทำให้เด็กเกิด Passion ได้ ครูต้องทำความเข้าใจกับพ่อแม่ว่า Passion สำคัญอย่างไร จะทำให้เด็กรู้จักตัวเอง เกิด Self ได้พัฒนาทักษะสมอง EF ส่งเสริมพัฒนาการ นำไปสู่ความสำเร็จ เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือสนับสนุนลูกในการทำกิจกรรมต่างๆ         

TIPS ข้อแนะนำในการสร้างเสริมให้เด็กเกิด Passion

  • เด็กควรได้เริ่มจากสิ่งที่ตัวเองสนใจก่อน พอทำแล้วเจออุปสรรค ก็ต้องฝึกฝืนทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
  • ไม่ควรด่วนสรุปว่าการที่เด็กทำหรือไม่ทำอะไร เป็นเพราะเด็กชอบ-ไม่ชอบ เพราะจะพาเด็กไปสู่การไม่พร้อมที่จะอดทน 
  • ต้องให้เด็กได้พบเจอทั้งเรื่องบวก-ลบ สิ่งที่ชอบ – ไม่ชอบ แล้วให้ลงลึกไปเรื่อยๆ งานบางอย่างเด็กไม่อยากทำ ก็ต้องฝึกฝืน เพราะเป็นการฝึกตน ฝึกอดทน สู้สิ่งที่ยาก เมื่อทำเรื่องยากได้แล้ว เด็กจะภูมิใจ รู้สึกดีกับตัวเอง แล้วความรู้สึกทัศนคติจะเปลี่ยนไป 
  • ก่อนเข้าสู่กิจกรรม กำหนดกติกากับเด็กว่าต้องทำให้สำเร็จ 
  • ป้อนคำถามจุดประเด็น กระตุ้นให้สร้างวิธีใหม่ในการแก้ปัญหา ถามความรู้สึกของเด็กก่อนที่จะทำ ขณะทำเป็นอย่างไร หลังทำเป็นอย่างไร ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 
  • การเรียนรู้เรื่องที่ยาก หรือเด็กไม่รู้สึกสนุกที่จะเรียน อาจใช้วิธีเรียนรู้ผ่านการแสดงละคร ผ่านสิ่งประดิษฐ์จากฝีมือของเด็กเอง จะทำให้เด็กสนุกขึ้นและเรียนรู้เข้าใจได้
  • ครูและพ่อแม่เป็นผู้คอยสนับสนุน ให้กำลังใจ ให้ข้อคิด เป็นที่ปรึกษา เป็นกัลยาณมิตรพาก้าวข้ามอุปสรรค ปัญหา ช่วยเด็กมองปัญหาว่าทำไมถึงทำไม่ได้ แล้วช่วยกันหาทางแก้ปัญหา โดยใช้หลัก

ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...