สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 5 ตอนที่ 3 สุนทรียะและ Self สร้างเด็กสุขภาพจิตแข็งแรงในโลกพลิกผัน

สุนทรียะและ Self สร้างเด็กสุขภาพจิตแข็งแรงในโลกพลิกผัน

โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน โลกในอนาคตของเด็กประถมยุคนี้จะมีความยากลำบากกว่าโลกของพ่อแม่ในขณะนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เด็กดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข คือการรู้จักบาลานซ์ความรู้สึกให้ชีวิตเบาสบายมากขึ้น  การปลูกฝังให้เด็กมีสุนทรียะกับสิ่งรอบตัวเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่จะทำให้เด็กเติบโตในโลกที่พลิกผันได้ดี

“สุนทรียะ” มีความหมายมากกว่าความสวยงาม แต่คือการมีความสุขด้วยตัวเองเป็น ซึ่งเป็นสุขภาพจิตที่ดี การมองเรื่องสุนทรียะจึงต้องมองให้กว้าง ไม่เชื่อมโยงไปกับศิลปะ วัฒนธรรมอย่างเดียว แต่ต้องเชื่อมโยงกับชีวิต ความชุ่มชื่น เบิกบานภายใน ไม่ว่าจะเป็นความดีความงามเล็กๆ น้อยๆ ในสิ่งรอบตัว

สุนทรียะจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้จิตใจโล่ง โปร่ง เบาสบาย มีความสุข พร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ  มีจิตใจที่เข้มแข็ง มองเห็นสิ่งดีๆ ในความเป็นไปของโลกใบนี้ เปลี่ยนมุมมองจากร้ายให้ดีขึ้น มีความหวัง มองเห็นอนาคต มีพลังชีวิต

แต่พ่อแม่หรือครูยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสุนทรียะมากพอ ยังมองว่าสุนทรียะคืองานศิลปะหรือดนตรีเท่านั้น  ในความเป็นจริงนั้นสุนทรียะมีอยู่ในทุกเรื่อง เช่น กีฬา คนที่เล่นกีฬาก็มีความสุขกายสบายใจได้  เป็นเรื่องจำเป็นมากที่เด็กทุกคนควรต้องมีสุนทรียะ ผู้ใหญ่ต้องปลูกฝังให้เด็กมองเห็นความงดงามในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ รอบตัว  ใครทำดีอะไรให้เราก็รู้สึกดีก็รู้สึกขอบคุณ  

อาจารย์หม่อมดุษฎี บริพัฒน์ ได้กล่าวถึงสุนทรียะไว้ว่า สุนทรียะเป็นสิ่งที่สร้างได้ โดยพาเด็กไปเสพสิ่งสวยงาม พาไปดูงานศิลปะ ไปชมวัดวังที่งดงาม  ปลูกฝังให้ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังในสิ่งที่มีความสวยงาม สุนทรียะจะทำให้เกิดความละเอียดอ่อนในการรับสิ่งเหล่านี้

บางโรงเรียนไม่ได้ให้เด็กอ่านหนังสือเฉพาะแบบเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเท่านั้น แต่ให้เด็กได้อ่านวรรณกรรมเยาวชน วรรณกรรมโลก เพื่อให้เห็นความสวยงามของภาษา เรื่องราว รู้จักการตีความ เอามาวิพากษ์กัน เพื่อให้เข้าถึงความงามของวรรณกรรม ทำให้เด็กได้เสพได้สัมผัสกับสุนทรียะเช่นกัน

เด็กจะมองเห็นสุนทรียะในสิ่งรอบๆ ตัวได้ หากเด็กได้รู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง รู้ว่ารักอะไร ชอบอะไร มีความสุขเมื่อได้เห็นได้ทำอะไร สุนทรียะจะเป็นสิ่งที่สร้างความสุขให้กับชีวิตแม้ในยามที่ลำบาก

ทำไมเด็กที่เจอความทุกข์ยากเหมือนกัน แต่เด็กคนหนึ่งสามารถฟันฝ่า เผชิญอุปสรรคในชีวิตได้ ล้มแล้วลุกได้ เติบโตไปอย่างดีได้  แต่อีกคนหนึ่งไปต่อไม่ได้ นั่นเป็นเพราะจะต้องมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้ก้าวเดินอย่างเข้มแข็งไปข้างหน้าได้  ซึ่งสุนทรียะเป็นหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้น บวกกับการรู้สึกว่าตัวเองคือใคร มีอะไร และสามารถทำอะไรได้

สามารถทำอะไรได้

“I am” ฉันคือใครสักคน หรือมี Self นั่นเอง จึงต้องทำให้เด็กมี Self รู้ว่าฉันมีตัวตนตั้งแต่ยังเล็ก เด็กบางคนอาจเรียนเก่ง แต่ Self อาจแย่ก็ได้

“I have”  ฉันรู้ว่าฉันมี เด็กคนหนึ่งจะรู้สึกว่า “ไม่เป็นไร” ถ้าถูกครูดุแต่ครูก็ยังรักฉัน ยังมีครู หรือยังมีแมวอยู่ที่บ้านนะ เมื่อยังเด็ก I have ยังเป็นในเชิงรูปธรรม พอโตจะเป็นนามธรรมมากขึ้น

“I can”  รู้ว่ามีความสามารถอะไร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทักษะยืดหยุ่น (Resilience) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้เด็กอยู่ได้ในอนาคต

นอกจากรู้จักตัวเองแล้ว เด็กต้องรู้จักคนอื่นด้วย You are / you can / you have ถ้ารู้จักคนอื่น ก็จะได้รู้ว่า จะทำเหมือนคนอื่นไหม หรือควรจะมีเหมือนเพื่อนไหม

เพราะฉะนั้น อย่าลืมส่งเสริมให้เด็กรู้จักสุนทรียะและการรู้จักตัวเอง ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย เพื่อช่วยให้เด็กเติบโตและดำเนินชีวิตในโลกที่พลิกผันได้อย่างไม่ยากลำบาก


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...