สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 7 ตอนที่ 3 : แนวทางสร้างเสริมเด็กประถมที่มีความสุข

แนวทางสร้างเสริมเด็กประถมที่มีความสุข

สำหรับพ่อแม่ส่วนใหญ่แล้วคิดว่า ความสุขของลูกคือการที่ลูกได้มีชีวิตสุขสบาย มีสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกสบาย ความสุขเช่นนี้เป็นความสุขภายนอก ที่ไม่ได้รับประกันว่าหากลูกเผชิญความเปลี่ยนแปลงผันผวนในชีวิต ขาดสิ่งเหล่านี้ แล้วลูกยังจะสามารถมีความสุขอยู่ได้ ความสุขที่แท้ซึ่งเป็นความสุขภายในต่างหากที่จะทำให้เด็กผ่านความยากลำบากที่อาจเผชิญไปได้ เป็นคนที่ล้มแล้วลุกได้ด้วยตัวเอง สามารถมีความสุขได้ง่ายๆ จากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว

จากการจัดการความรู้โดยสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กและนักการศึกษา ว่าเด็กวัยประถมควรได้รับการดูแลให้มีความสุขทั้งภายนอกภายในอย่างไร ไว้ดังนี้ 

สร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยทั้งกายและใจ

  • สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนจะต้องปลอดภัย เมื่อเด็กเข้ามาในโรงเรียนต้องไม่มีความกลัว รู้สึกมั่นคง สบายใจ ทางกายภาพต้องปลอดภัย ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย
  • เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีวิถีการปฏิบัติต่อกันอย่างปลอดภัย นั่นคือให้โอกาส เคารพกัน ให้เกียรติกัน ผู้ใหญ่ปฏิบัติต่อเด็กอย่างยุติธรรม ไม่มีการเปรียบเทียบ ไม่มีการกลั่นแกล้งกัน ยอมรับความแตกต่างของแต่ะคน สัมพันธภาพของคนในโรงเรียน ทั้งผู้บริหารกับครู ครูกับครู ครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนต้องดี เด็กจึงจะรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น มีความรู้สึกว่ามีพวกมีเพื่อน มีคนรับฟัง มีคนให้โอกาส
  • สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อเด็กประถมมากที่สุดคือคือตัวบุคคล ในวัยประถมต้น คนที่แวดล้อมรอบตัวจะมีผลมากต่อการชี้นำว่าควรทำอะไรหรือไม่ทำอะไร ส่วนในวัยประถมปลาย ผู้มีอิทธิพลคือกลุ่มเพื่อน ดังนั้น ครูและพ่อแม่จึงควรเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับเด็กให้มากที่สุด เพื่อที่จะหล่อหลอมให้เด็กคนหนึ่งเติบโตมาอย่างเป็นคนที่มีความสุข เป็นคนที่ทำให้ Self หรือตัวตนของเด็กเป็นไปในทางบวก

ส่งเสริม“ตัวตน”ของเด็กแต่ละคน สร้างการยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน

  • รากฐานที่สำคัญที่สุดคือทำให้เด็กได้รู้ตัวตนว่าตัวเองเป็นอย่างไร มีความสามารถอะไร อย่างไร สุขให้เป็น พึงพอใจกับตัวเองกับสิ่งที่มีอยู่ มองโลกในแง่ดี คิดบวก แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง รากฐานสำคัญนี้จะทำให้เด็กมีเกราะกำบังที่เข้มแข็งและเมื่อเกิดปัญหาใดๆ ก็สามารถที่จะลุกขึ้นแล้วก้าวเดินต่อไปจนพบกับความสำเร็จได้
  • ผู้ใหญ่จะต้องทำให้เด็กได้รับรู้ถึงความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เช่น ให้เด็กมีโอกาสได้ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองเพื่อให้ได้สะสมความสำเร็จ ได้รับการยอมรับ หากล้มเหลวก็ให้มีโอกาสที่จะลุกขึ้นทำใหม่ และไม่ถูกประณามเมื่อล้มเหลว

ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพในหมู่เพื่อน

  • เพื่อนมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กวัยประถม เด็กหลายคนไม่อยากมาโรงเรียนเพราะเพื่อนไม่เล่นด้วย ไม่กินข้าวด้วย มีความสุขที่อิงอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่เริ่มจะก่อความสัมพันธ์  ถ้าได้รับการยอมรับจากเพื่อน เช่น ให้กินข้าวด้วย เล่นด้วย ยอมให้เข้ากลุ่มด้วย เด็กจะมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมกลุ่มนั้น (sense of belonging) และมีความสุข อยากมาโรงเรียน แม้บางคนจะไม่ชอบเรียนหนังสือหรือถูกครูดุว่าก็ตาม
  • ครูควรระวัง หมั่นสังเกต เพื่อไม่ให้มีการกีดกันในหมู่เพื่อนเมื่อมีการแบ่งกลุ่มการทำงาน โดยเฉพาะถ้าครูเน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่ม เด็กที่อาจจะทำสิ่งต่างๆ ช้ากว่าเพื่อน โดยสภาพทางร่างกาย หรือไม่ถนัดในเรื่องที่จะแข่งขันกัน อาจจะถูกกีดกัน ไม่มีใครรับเข้ากลุ่ม เด็กจะรู้สึกว่าถูกรังเกียจ แล้วรู้สึกไปว่าตัวเองไม่ดี ไม่ประสบความสำเร็จ

สร้างเสริมทักษะสมอง EF

  • หากเด็กตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นปัญหา หรือเห็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม เห็นเพื่อนถูกรังแก แต่ไม่มีทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ตรงหน้า จะเกิดความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัยทันที  หากสามารถจัดการกับสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปหรือเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนได้ เด็กจะมีความสุข  ดังนั้น การส่งเสริมทักษะสมอง EF จึงมีความสำคัญควบคู่ไปกับการดูแลอารมณ์ – สังคมด้วย
  • การรู้เท่าทันสถานการณ์รอบตัว รู้ว่ารอบตัวเกิดอะไรขึ้นบ้าง และควรจะต้องจัดการกับสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร เป็นสมรรถนะหนึ่งที่เด็กจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน ซึ่งวิธีหนึ่งที่สามารถจะช่วยฝึกฝนได้คือ การสร้างสถานการณ์จำลองเป็นประจำเพื่อให้เด็กได้ลองตัดสินใจ ให้ได้ใคร่ครวญกับตัวเองว่าคิดอย่างไรกับสถานการณ์เหล่านี้ นอกจากจะเป็นการฝึกตัดสินใจ เตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ยังจะทำให้เด็กได้เข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตัวเองด้วย

พ่อแม่ปรับทัศนคติ

  • พ่อแม่ปรับทัศนคติที่ยึดติดว่า “ลูกคือหน้าตาของพ่อแม่” หรือ “มีลูกเพียงคนเดียว พ่อแม่จึงทำให้ทุกอย่างได้” มาเป็นยอมให้ลูกช่วยเหลือตัวเองให้มาก ยอมให้ลูกผิดพลาด ล้มเหลว ไม่มุ่งเอาชนะอย่างเดียว และไม่เปรียบเทียบทั้งลูกตัวเองกับลูกคนอื่น หรือแม้แต่พี่กับน้อง

ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...