สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำให้สำเร็จ

เราสามารถฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนสำเร็จได้ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ เช่น ปล่อยให้เด็กมีการเล่นอิสระ (Free Play) เด็กจะตั้งเป้าหมายของเขาเอง เช่น ตั้งใจจะต่อตัวต่อเป็นปราสาท จะปีนต้นไม้ให้ถึงกิ่งนั้นกิ่งนี้ การทำงานศิลปะอย่างอิสระ คุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่อาจมีตะกร้าของที่ไม่ใช้แล้ว ไว้ให้เด็กได้นำไปคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดยืดหยุ่นพลิกแพลงด้วย และเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานสำเร็จ ก็จะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จจากการลงมือคิด ทำด้วยตัวเอง พอโตขึ้นอีกนิด เด็กจะสามารถขยายการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกันกับเพื่อน แล้วขยายเป็นการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกลุ่มกับเพื่อนทั้งห้อง

เรื่องนี้ครูก้าหรือคุณครูกรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัยได้ให้คำแนะนำว่า

สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานที่เด็กมีอิสระทางความคิด แต่อยู่ในกรอบของความเหมาะสม เช่น กติกาการเก็บของ ความปลอดภัย ผู้ใหญ่ต้องไม่แทรกแซงในการคิด วางแผน การลงมือทำของเด็ก และในที่สุดเราต้องยอมรับผลงานของเด็ก ถ้าเราดูเด็กๆ เล่น ล้วนมีเป้าหมายทั้งนั้น เช่น หินมาตำใบไม้ เขามีเป้าหมายว่าจะทดลองทำอะไรสักอย่าง ทำให้เกิดความรู้ใหม่
หากเด็กลงมือทำแล้วไม่สำเร็จ อาจจะไม่เกี่ยวกับการวางแผน แต่เกี่ยวกับความไม่พร้อมด้านกล้ามเนื้อมือ เช่น ตัดกล่องนมเป็นรูปนั้นรูปนี้ไม่ได้ ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยตัดให้ แสดงว่าที่จริงเด็กมีแผน มีเป้าหมายว่าจะทำอะไร เราไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กจะคิดไม่ได้
สำหรับบทบาทของผู้ใหญ่ต้องเป็นคนเอื้อ ให้โอกาส เรื่องสื่อวัสดุ สถานที่ ดูแลความปลอดภัย สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง เฝ้าสังเกต แล้วจะเห็นศักยภาพของเด็กแต่ละคน ผู้ใหญ่ต้องมีทักษะในการสื่อสารในการพูดกระตุ้นเด็ก
ผู้ใหญ่ไม่ควรห้าม หากในการทำงานร่วมกันของเด็ก เด็กอาจจะเลียนแบบกัน ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้อยู่นิ่งๆ มีสมาธิ วางแผน ทำคนเดียว หากเรารีบให้เด็กมีประสบการณ์ทำร่วมกับเพื่อนเร็วเกินไป เด็กอาจจะไม่ชอบ
การพูดของผู้ใหญ่ต้องไม่ไปสกัดกั้นความคิดเด็ก ต้องมีจังหวะในการที่ลงไปแทรกแซง ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่ตั้งใจจะกระตุ้นเด็กแต่พูดในจังหวะที่ไม่เหมาะ เช่น ในขณะเด็กกำลังคิดอะไรอยู่ เด็กก็หันเหมาจากเป้าหมายมาที่ความต้องการของผู้ใหญ่แทน เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ต้องระมัดระวังในการลงไปมีปฏิสัมพันธ์กับการเล่นของเด็ก ไม่ใส่ความคิด ความคาดหวัง รวมทั้งต้องพยายามให้เด็กตั้งโจทย์ด้วยตัวเองด้วย ต้องรักษาสมดุลระหว่างโจทย์ที่เราจะตั้งให้เด็กกับให้โอกาสเด็กคิดโจทย์เอง ถ้าเด็กไม่ได้รับโอกาสตั้งโจทย์ตั้งเป้าหมายเอง ในที่สุดเด็กจะตั้งเป้าหมายไม่เป็น
การลงมือทำมีความสำคัญมากที่จะทำให้เด็กเกิดการต่อยอด พอทำได้สำเร็จแล้วก็อยากทำสิ่งที่ยากขึ้นไปอีก เป็นพลังท้าทายให้เด็กอยากทำโน่นทำนี่

“การฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนสำเร็จจะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานที่เด็กมีอิสระทางความคิด แต่อยู่ในกรอบของความเหมาะสม เช่นกติกาการเก็บของ ความปลอดภัย ผู้ใหญ่ต้องไม่แทรกแซงในการคิด วางแผน การลงมือทำของเด็ก และในที่สุดต้องยอมรับผลงานของเด็ก”

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...