สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก EF สำหรับคุณครู

EF สำหรับคุณครู

เด็กยุคใหม่ต้องคิดยืดหยุ่น คิดนอกกรอบ

ในโลกยุคใหม่ คนที่รู้จักคิดยืดหยุ่น คิดนอกกรอบ จะได้เปรียบ ปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายได้ดี แก้ปัญหาเก่ง มีมุมมองใหม่ๆ กล้าที่จะคิดใหม่ทำใหม่ รวมถึงมีความคิดสร้างสรรค์ รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในชีวิตของคนๆ หนึ่งนั้น การจะมีความยืดหยุ่นทางความคิด ต้องเริ่มจากการรู้จักยับยั้งชั่งใจคิดไตร่ตรอง (Inhibit) ก่อน และมีความจำที่ดี (Working Memory) เป็นพื้นฐาน...

หงุดหงิด ต่อต้าน เพราะคิดยืดหยุ่นไม่เป็น

เด็กที่คิดยืดหยุ่นไม่เป็น มักจะอึดอัดคับข้องใจเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ๆ แล้วแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็น เช่น แสดงอาการหงุดหงิด ต่อต้าน เมื่อมีอะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยชิน ปรับตัวยาก เด็กที่คิดยืดหยุ่นไม่เป็น มักจะอึดอัดคับข้องใจเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ๆ แล้วมักแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็น เช่น แสดงอาการหงุดหงิด ต่อต้าน หรือเมื่อมีอะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยชิน เช่น หงุดหงิดต่อต้านเมื่อของถูกย้ายที่ เมื่อเปลี่ยนอาหาร เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนครูใหม่ หรือแม้แต่เปลี่ยนตารางกิจวัตรประจำวัน ปรับตัวยากเมื่อพบเจอเพื่อนใหม่ สถานที่ใหม่ๆ บางครั้งเป็นปัญหาจนไม่สามารถทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้ ความคิดยืดหยุ่น หรือ...

เหวี่ยงง่ายวีนบ่อย ประสบความสำเร็จยาก

การควบคุมอารมณ์ตนเองให้แสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ ถือเป็นทักษะสำคัญต่อความสำเร็จของมนุษย์เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนตั้งแต่เด็ก จึงจะควบคุมตัวเองได้ดีเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ สภาวะอารมณ์ของเด็กมีผลต่อความพร้อมในการเรียนอย่างมาก และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตภายภาคหน้า เพราะไม่มีใครอยากอยู่ใกล้คนเจ้าอารมณ์ คนที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อารมณ์เหวี่ยงไปมา จะหาความสุขได้ยาก แม้จะเป็นคนเก่งแค่ไหนก็ไม่มีใครอยากคบหา ทำงานร่วมกับคนอื่นก็ยาก ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะลูกน้องหรือหัวหน้า นับเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการประสบความสำเร็จ การควบคุมอารมณ์ตนเองให้แสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ถือเป็นทักษะสำคัญต่อความสำเร็จของมนุษย์ เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนตั้งแต่เด็กจึงจะควบคุมตัวเองได้ดีเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กบางคนไม่ได้รับการฝึกจึงกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์เสียสมดุลทางความรู้สึกได้ง่าย ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย ไม่มีความสุข ทักษะการควบคุมอารมณ์นอกจากหมายถึงรู้จักควบคุมอารมณ์ให้แสดงออกอย่างเหมาะสมเมื่อโกรธ ผิดหวัง หรือเสียใจแล้ว ยังคือความสามารถในการปรับอารมณ์ที่โกรธ ผิดหวัง เสียใจนั้นให้คืนสู่สภาวะปกติได้ด้วย ไม่จมดิ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานเกินไปจนไม่เป็นอันทำอะไร รู้จักควบคุมอารมณ์ให้มั่นคง ไม่ตื่นเต้น...

เด็กเล็กฝึกให้ควบคุมอารมณ์ได้แล้วจริงหรือ?

การควบคุมอารมณ์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเด็กรู้จักยับยั้ง (Inhibit) รู้จักหยุดคิดและควบคุมการกระทำของตัวเอง ทักษะสำคัญอีกอันที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมอารมณ์ ก็คือการคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนความคิดได้ ไม่ยึดติดความคิดเดิม คุณครูคงต้องเผชิญกับความเจ้าอารมณ์ของเด็กบ่อยๆ และสงสัยว่าเราจะสอนเด็กเล็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์ได้ไหม เด็กเล็กสามารถควบคุมอารมณ์ได้แล้วหรือ? รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ยกตัวอย่างให้ดูดังนี้ เมื่อเด็กคนหนึ่งถูกเพื่อนแกล้งให้เจ็บ หากเด็กไม่มีทักษะด้านการควบคุมอารมณ์ที่ดี ก็จะตีเพื่อนให้เจ็บกลับไปเช่นเดียวกันทันที แต่ถ้าเด็กมีการควบคุมอารมณ์ที่ดีจะอาศัยทักษะด้านการยับยั้งตนเองไม่ให้โต้ตอบกลับแบบเดียวกัน การหยุดได้นี้จึงนับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสุดของการที่มนุษย์เราจะรู้จักควบคุมอารมณ์ หากขาดทักษะด้านการยับยั้ง (Inhibit) เสียแล้ว การควบคุมอารมณ์ก็จะเกิดขึ้นได้ยาก เมื่อเด็กหยุดและควบคุมการกระทำของตัวเองได้แล้วทักษะสำคัญอีกอันที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมอารมณ์ ก็คือการคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนความคิดได้ ไม่ยึดติดความคิดเดิม...

อย่าปล่อยให้เด็กเป็น “รถที่เบรกแตก”

EF, Inhibitory Control คือความสามารถในการควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในเวลาที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ จะเหมือน ”รถที่ขาดเบรก” อาจทำสิ่งใดๆ ไปโดยไม่คิด หรือมีปฏิกิริยาตอบโต้สิ่งต่างๆ ไปในทางที่สร้างปัญหา ลองนึกภาพรถที่เบรกแตกดู...โครม!! จะต้องเกิดความเสียหายตามมาอย่างแน่นอน คนเราก็เช่นกัน ถ้าตกอยู่ในสภาพเบรกแตก ยั้งอารมณ์ไม่อยู่ ก็ต้องเกิดเรื่องร้ายๆ ตามมา เช่นโมโหแล้วอาละวาด ด่าทอ ขว้างปาข้าวของ เสียใจแล้วร้องไห้ฟูมฟาย เสียสติ ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น...

การทดสอบที่บอกว่า เด็กยับยั้งชั่งใจได้ดีแค่ไหน

งานวิจัยที่พบว่า เด็กที่มี EF แข็งแรง สามารถกำกับควบคุมตนเองได้ สามารถพัฒนาไปเป็นวัยรุ่นที่มีความสามารถในการเรียนรู้ และเข้าสังคมได้ดี ประสบผลสำเร็จในการเรียน ทำคะแนนสอบ SAT ได้ดี ในปี 1968 Prof. Dr. Walter Mischel ซึ่งขณะนั้นสอนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำการวิจัยที่โด่งดังชื่อ The Marshmallow Test (ดูได้จากwww.youtube.com/watch?v=QX_oy9614HQ) โดยให้เด็ก 4 ขวบเข้ามานั่งในห้องกระจกสังเกตการณ์ เจ้าหน้าที่วิจัยเข้าไปบอกเด็กว่า...

วิธีสำรวจว่าเด็กยับยั้งชั่งใจได้ดีแค่ไหน

คำว่ายับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) คือ การควบคุมความสนใจ อารมณ์ และพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ คำว่ายับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) หรือการควบคุมความสนใจ อารมณ์ และพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ที่จริงแล้วมีความหมายกว้างมาก ไม่ได้หมายถึงเพียงการยับยั้งชั่งใจต่อความอยาก ความต้องการเท่านั้น คุณครูอาจจะสังเกตทักษะความสามารถในการยับยั้งชั่งใจของเด็กในชั้นเรียนได้ดีขึ้น เมื่อเข้าใจขอบเขตของความสามารถนี้ทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ใจจดจ่อ ไม่วอกแวก เช่น เด็กตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ทำไปเล่นไป มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ง่าย แม้จะล้มเหลว ทำไม่ได้ผล...

แนวทางการพัฒนาการกำกับตนเองสู่เป้าหมาย

เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการเติบโตของลูก การพัฒนาทักษะความสามารถในการกำกับตนเองสู่เป้าหมาย (Self-Directed Executive Functions) จะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้กำหนดการกระทำด้วยตนเอง จะทำอย่างไร เมื่อไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น อยากให้คุณครูทราบว่า การกำกับตนเองสู่เป้าหมาย (Self-Directed Executive Functions) เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการเติบโตของเด็ก การพัฒนาทักษะความสามารถ EF ด้านนี้ จะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้กำหนดการกระทำด้วตนเอง ดังแนวทางการพัฒนาการกำกับตัวเองต่อไปนี้ ที่ผู้ใหญ่เป็นผู้วางเป้าหมายไว้ให้ แต่จะปล่อยให้เด็กกำหนดกติกาด้วยตัวเองว่าจะทำอย่างไร เมื่อไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น เป็นการผลักดันเด็กให้มี...
74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...