เด็กไทยเจอวิกฤติด้านการศึกษาที่ต้องได้รับการพัฒนา นักวิทยาศาสตร์พบว่า EF คือหัวใจสำคัญของการพัฒนา

โดย | 19 มีนาคม 2018 | News

นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า โลกเคลื่อนตัวสู่ยุค 4.0 การพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติโดยเฉพาะสถานการณ์ด้านการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพของประชากรโดยตรง หากปล่อยให้สภาพการณ์นี้ดำเนินต่อไป การสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการนำพาประเทศไปเผชิญกับความท้าทายดังกล่าวจะเป็นไปได้ยาก ทุกภาคส่วนต้องสร้างความร่วมมือ เพื่อหาทางออกและแนวทางแก้ไข ให้เกิดการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ของประเทศอย่างจริงจัง

จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ พบว่าการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบโจทย์โลกยุคใหม่ข้างหน้าให้ได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาไปด้วยความเข้าใจต่อธรรมชาติและการทำงานของสมองเป็นสำคัญ ด้วยการหามาให้ความสนใจต่อ Executive Functions
หรือ EF
Executive Functions (EF) คือชุดกระบวนการทางความคิด (Mental Process) ที่มีผลการศึกษาวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์นานาชาติหลากหลายสาขาบ่งชี้ว่า เป็นชุด
การทำงานในสมองส่วนหน้าของมนุษย์(Prefrontal Cortex) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดการรู้สึก และการกระทำ คือสิ่งที่ควรจะได้รับการส่งเสริมปลูกฝังในเด็กที่เกิดมาบนโลกทุกคนอย่างจริงจัง เพราะเป็นชุดกระบวนการทางความคิดที่จะช่วยให้มีความสามารถในการบริหารจัดการชีวิต คือ “คิดเป็น ทำเป็นเรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และหาความสุขเป็น” [vc_single_image image=”10210″ img_size=”full”] ดังนั้น EF จึงเท่ากับเป็นตัวช่วยให้มนุษย์ห่างไกลจากปัญหา เพราะสามารถคิดอย่างมีเหตุผล เกิดการยับยั้งชั่งใจ และนำไปสู่การกำกับอารมณ์และพฤติกรรมตนเองได้ รวมทั้งยังช่วยสร้างเสริมทักษะการวางแผนอย่างเป็นระบบ ช่วยให้สามารถจัดการกับงานหลากหลาย จัดลำดับความสำคัญพัฒนาเป็นขั้นตอน เชื่อมโยงความรู้ในอดีตมาใช้ประโยชน์ร่วมกับปัจจุบัน รวมไปจนถึงการคาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคตล่วงหน้าได้ ขณะเดียวกันยึดมั่นเป้าหมาย มุ่งมั่นจดจ่อ และผลักดันตนเองไปสู่การทำงานจนสำเร็จได้ แต่ EF จะเกิดประสิทธิภาพ จะต้องได้รับการฝึกฝนต่อเนื่องตลอดช่วงวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ตอนต้น เพื่อให้กลายเป็นทักษะในสมอง และพัฒนาเป็นบุคลิกภาพแห่งความสำเร็จไปตลอดชีวิต โดยเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ไปจนถึงกระบวนการจัดการศึกษาตลอดทุกช่วงวัย

ด้วยความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว กลุ่มองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่หลากหลาย อาทิ ศูนย์ประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายอื่นๆ จึงรวมตัวกันเป็น ภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership ร่วมกันขับเคลื่อนองค์ความรู้ EF มาตั้งแต่ปี 2557 โดยสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) หน่วยงานวิชาการของบริษัทรักลูกกรุ๊ป จำกัด ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานการขับเคลื่อนองค์ความรู้EF ไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4)ภายใต้ “โครงการการพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการส่งเสริมทักษะสมองเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนในประเทศไทย [vc_single_image image=”10207″ img_size=”full”] นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) กล่าวว่า ในฐานะผู้ขับเคลื่อนองค์ความรู้ EF ได้พัฒนาเวทีวิชาการ EF Symposiumเพื่อถ่ายทอดความก้าวหน้าทางวิชาการขณะเดียวกันก็เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคืบหน้าของกระบวนการขับเคลื่อนงานและบทเรียนจากการทำงาน ให้เป็นวงจรความรู้ที่เป็นพลวัต โดยเวทีวิชาการ EF Symposium ได้จัดมาแล้ว 2 ครั้งในปี 2558 และ 2559 ในแต่ละครั้งได้รับความสนใจจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมนับพันคน และในปี 2560 เวทีวิชาการ EF Symposium 2017 ที่เป็นปีที่ 3 มุ่งมั่นต่อยอดฐานความรู้ทางวิชาการ EF ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้จากบทเรียนการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการส่งเสริม EF ขององค์กรภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership ในช่วงปีที่ผ่าน สู่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน อันจะเป็นการส่งต่อความรู้สำคัญที่มาทั้งจากการศึกษาวิจัย และการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นเสมือนเข็มทิศนำทางการแก้ปัญหาและพัฒนาเยาวชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมสู่สังคมไทยต่อไป

ประธานสถาบันอาร์แอลจี สรุปให้ทราบว่า หลังการดำเนินการมาประมาณ 3 ปี สามารถขยายต่อชุดความรู้ ExecutiveFunctions (EF) ในเด็กปฐมวัย ทั้งท้องถิ่น ภูมิภาคและส่วนกลาง, ตลอดจนผู้บริหารการศึกษาและครูปฐมวัยระดับแกนนำ จากโรงเรียนทุกสังกัด, ผู้นำชุมชน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสนใจ
ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย, พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังสร้าง นวัตกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริม EF ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการนำมาใช้ในบริบทประเทศไทย, การอบรมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและขยายผลในหลายจังหวัด, การขยายเครือข่ายส่งเสริม EF ให้กว้างขวางทุกระดับ,การสื่อสารเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่างๆ,การขับเคลื่อนสู่ระดับนโยบายประเทศ จะต้องดำเนินอย่างต่อเนื่องต่อไป [vc_single_image image=”10208″ img_size=”full”][vc_single_image image=”10209″ img_size=”full”]

Related Posts: