สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

อาร์แอลจี เร่งขับเคลื่อน EF : Executive Functions พัฒนาทักษะสมองเด็กปฐมวัย

กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) จัดงานประชุมวิชาการ RLG Symposium 2015 EF : Executive Functions ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ร่วมกับ 5 หน่วยงานหลัก คือ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยรวบรวมนักวิชาการด้านทักษะสมอง นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กกว่า 500 คน นำเสนอแนวคิดและความรู้งานวิชาการด้านทักษะสมอง EF ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี กล่าวว่า “ศตวรรษที่ 21 คือ ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซับซ้อน พลิกผันสูง รวมทั้งในเวลาอีกไม่กี่ปี ประเทศไทยก็จะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น ดังนั้น คนรุ่นใหม่จะต้องเก่งขึ้น แกร่งขึ้น มี Productivity สูงกว่าคนรุ่นพ่อแม่อย่างน้อย 1 เท่า สามารถแก้ปัญหายากๆ และอยู่กับคนอื่นในโลกได้ดีขึ้น รวมทั้งต้องหาความสุขเป็น แต่ถ้าเรายังพัฒนาเด็กไปไม่ถูกทาง ก็เป็นการยากที่เด็กไทยของเราจะรับมือกับปัญหาในโลกสมัยใหม่ได้”

รศ.ดร.ยูซูเกะ โมริกูจิ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองจากมหาวิทยาลัยการศึกษาโจเฮ็ทสึ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึง EF ไว้ว่า “เป็นกระบวนการในการคิด เพื่อกำกับควบคุมตนเองให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ช่วยให้บุคคลสามารถวางแผนดำเนินการและติดตามประเมินพฤติกรรมของตนเองได้เหมาะสม ยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการมีทักษะ EF ในเด็กเล็กเป็นสิ่งที่บ่งชี้ความสำเร็จได้หลายอย่าง ทั้งความพร้อมในการเข้าเรียนระดับประถม ทำนายความสำเร็จในการเรียนช่วงมัธยม (ได้ดีกว่าไอคิว) ทำนายความสำเร็จในการเข้าสังคม การเคารพกติกาสังคม ไม่ทำผิดกฎหมาย รวมถึงการมีสุขภาพดีในช่วงวัยผู้ใหญ่ด้วย”

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ จากกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า “ความรู้เรื่อง EF เป็นความรู้ที่ต่อยอด ทำให้เห็นว่า จากฐานความรู้เรื่องการพัฒนาเด็กแบบรอบด้าน ทั้ง ร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่พ่อแม่และครูต้องยึดให้มั่นนั้น เราจำเป็นต้องพัฒนาทักษะสำคัญของสมองเพิ่มเติม เช่น ทักษะการยับยั้งชั่งใจ การยืดหยุ่นความคิด และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการชีวิตของเด็กในภายภาคหน้า ผู้ใหญ่จึงต้องเลี้ยงดูแล โดยส่งเสริมให้เด็กได้ใช้สมองส่วนคิด มีเหตุมีผลมากกว่าปล่อยให้เด็กให้สมองส่วนอยากที่จะทำสิ่งต่างๆ ตามอารมณ์ปรารถนาเท่านั้น”

นอกจากนี้ ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักวิชาการด้านการอนุบาลศึกษา ให้ความคิดเห็นอย่างน่าสนใจว่า “การเรียนในระดับปฐมวัยจะต้องให้ความสำคัญกับการเล่นอย่างเป็นอิสระ ที่เด็กได้คิดวางแผนด้วยตนเอง ทั้งได้เล่นกับเพื่อน เล่นตามลำพัง ทั้งเล่นในห้องและออกไปเล่นกลางแจ้ง ให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตัวเอง ที่สำคัญให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย เหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF ที่จะช่วยให้เด็กมีการจดจำ มีคลังข้อมูลสะสมในสมองและสามารถหยิบมาใช้เมื่อจำเป็นได้ เด็กจะได้ฝึกทักษะสำคัญของการดำรงชิวตในอนาคต ที่จะทำให้อยู่กับคนอื่นได้และทำงานจนบรรลุ”

คุณสุภาวดี หาญเมธี กล่าวเพิ่มเติมว่า สังคมไทยควรส่งเสริมเรื่อง EF ทักษะเพื่อจัดการชิวิตให้สำเร็จอย่างจริงจัง ผ่านสื่อและช่องทางที่หลากหลายในการร่วมเผยแพร่ EF เพื่อให้ไปถึงยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเว็ปไซต์ที่รวบรวมข้อมูล EF รวมถึงเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ ของทักษะ EF เช่น www.rlg-ef.com เพื่อให้เด็กไทยเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเข้มแข็งและมีความสุขในโลกยุคใหม่

Reference : บันเทิง/สังคม-สตรี. (2 กันยายน 2558). อาร์แอลจีเปิด Thailand EF Partnership ผลักดันทักษะสมองเด็กปฐมวัย. บ้านเมือง, หน้า 24.
การศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม. (3 กันยายน 2558). แนะทักษะสมองในเด็กเล็กช่วยยั้งการติดยาเมื่อเป็นวัยรุ่น. คมชัดลึก, หน้า 13.

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...