สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

การพัฒนาทักษะสมอง Executive Functions(EF) ในเด็กปฐมวัยด้วยเครื่องมือ”หนังสือและการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน”

จากวิกฤตการศึกษาของประเทศไทยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หลายฝ่ายต่างตั้งคำถามด้วยความห่วงใยถึงคุณภาพของเด็กและเยาวชนไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) จึงสนใจมุ่งศึกษาพัฒนาความรู้เรื่อง “ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ EF –Executive Functions”มาตั้งแต่กลางปี 2557 มีองค์กรพันธมิตรอย่างศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ. ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาเป็นต้นทางความรู้ที่ได้มีการรวบรวมความรู้จากการวิจัยเกี่ยวกับ EF ต่างๆ มีการจัดประชุมวิชาการความรู้เรื่อง EF การทำการวิจัยหาค่าเฉลี่ยมาตรฐาน EF เด็กไทย และจัดการการวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไว้

สำหรับสถาบันอาร์แอลจีนั้น ได้พัฒนาต่อยอดด้วยการจัดการความรู้เกี่ยวกับ Executive Functions (EF) และมุ่งนำความรู้นี้ไปเผยแพร่ให้กว้างขวางในสังคมไทยเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมและแนวทางในการเลี้ยงดูพัฒนา และการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กไทย ที่สอดคล้องกับธรรมชาติและพัฒนาการทุกด้านของเด็กโดยมีความรู้ EF เป็นฐาน เพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เข้มแข็งเป็นผู้ที่สามารถนำพาตนเองและสังคมประสบความสำเร็จดำรงชีวิตรอดอย่างมีคุณภาพได้ในโลกศตวรรษที่ 21 ต่อไป

“โลกในวันข้างหน้าเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบของความอยู่รอด
เด็กที่จะมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จได้ต้องเป็นผู้ที่มี EF ดี
คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น มีความสุขเป็น”

จากการสอดรับของจุดมุ่งหมายอันมีคุณค่า…สู่ความร่วมมือเพื่อเสริมพลังการขับเคลื่อนงาน
ในฐานะพันธมิตรและภาคีเครือข่าย ที่มีเป้าหมายสอดรับกันในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยมาโดยตลอด และด้วยตระหนักในความรู้เรื่อง EF ที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการอ่าน “การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” จึงเกิดความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน (สนับสนุนโดย สสส.) สมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และสถาบันอาร์แอลจี ในการจัดกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “หนังสือและการอ่าน เครื่องมือพัฒนาทักษะสมอง Executive Functions – EF ในเด็กปฐมวัย…คำตอบการปฏิรูปการศึกษาไทย?” โดยมีแนวคิดในการผสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน เสริมพลังการทำงานโดยการเผยแพร่ความรู้ EF และร่วมสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย จนเกิดการยอมรับของสังคมและมีการต่อยอดขยายฐานผู้นำความรู้ EF ไปใช้ในการพัฒนาเด็กโดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ผ่านเครื่องมือหนังสือและการอ่านอย่างกว้างขวาง

กลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างพลังการขับเคลื่อน EF กับการอ่านรวม 150 ท่าน
1. ผู้พัฒนา ผลิต และผู้เกี่ยวข้องกับหนังสือเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
2. หน่วยงาน องค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการกำกับนโยบายเพื่อการสร้างสรรค์หรือผลิตหนังสือเด็ก
3. ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาไทย
4. สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป

วัตถุประสงค์
1. เผยแพร่ความรู้ “ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ EF –Executive Functions”เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
2. ร่วมสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
3. สร้างความรู้ความเข้าใจต่อการส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยเครื่องมือหนังสือและการอ่าน
4. เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในการขับเคลื่อนงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย อย่างเป็นรูปธรรม
5. รณรงค์การพัฒนาหนังสือที่ส่งเสริม EF ร่วมกันสร้างการรับรู้ และผลักดันให้มีการนำไปใช้ในสังคมวงกว้าง

กำหนดการ / สถานที่
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 8.30 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ กลุ่มบริษัทอาร์แอลจี (รักลูก กรุ๊ป)

หน่วยงานสนับสนุน
– สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ – สสส.
– ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
– สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล
– สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
– สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย
– สมาคมไทยออร์ฟชูลแวร์ค

กําหนดการ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการหนังสือและการอ่าน เครื่องมือพัฒนาทักษะสมอง Executive Functions (EF)

ในเด็กปฐมวัย“คำตอบการปฏิรูปการศึกษาไทย?”

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559 ณ ห้องประชุมใหญ่ กลุ่มบริษัทอาร์แอลจี (รักลูก กรุ๊ป)

เวลา 8.30 – 17.00 น.

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 09.05 น. พิธีกล่าวทักทาย

09.05 – 09.30 น. คุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

– ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม

คุณสุชาดา สหัสกุล อุปนายกฝ่ายในประเทศ

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

– ชี้แจงวัตถุประสงค์การสนับสนุนการจัดกิจกรรม

และประชาสัมพันธ์โครงการคัดสรรหนังสือเด็กที่ส่งเสริม Executive Functions

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

– กล่าวถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันยาเสพติดด้วยหนังสือนิทาน
ชุด “อ่านอุ่นรัก”

09.30 – 10.00น. พิธีกรนําชม VDO Presentation “ในโลกที่ท้าทาย”

คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี(รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)

– นำเสนอหัวข้อ “ทางรอดเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21”

– และนำเสนอการขับเคลื่อนงาน EF ในสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา

10.00– 10.15น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.15– 11.30น. รศ. ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา

จากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาตร์สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

– บรรยายเรื่อง “EFการพัฒนาทักษะสมองที่นำไปสู่ความสำเร็จของเด็กไทย”

11.30– 12.00น. พิธีกรนำชม VTR ชุด “Macaron Test”

เชิญผู้เข้าร่วมสัมมนา ทำแบบสำรวจเพื่อทดสอบ Executive Functions ของตนเอง

12.00– 13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 13.20 น. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

– นำเสนอการรวบรวมงานวิจัยประเด็น “EF กับการอ่าน”

13.20 – 15.00 น. การอภิปราย “หนังสือและการอ่าน เครื่องมือพัฒนาทักษะสมอง EF

สำหรับเด็กปฐมวัย คำตอบการปฏิรูปการศึกษาไทย”

โดยผู้ร่วมอภิปราย;

– อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย

– อ.กรองทอง บุญประคอง ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตตเมตต์

– ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล

– คุณจันทร์เพ็ญ สินสอน ประธานมูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน จ.สุรินทร์

– ดําเนินรายการ โดย คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี

15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.15 – 16.45 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “EF กับการอ่าน”ผู้เข้าร่วมฝึกการวิเคราะห์ EF ในหนังสือ

เด็กแบบมีส่วนร่วม

16.45– 17.00น. คุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

– กล่าวขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน แขกผู้มีเกียรติ และปิดการสัมมนา

– ถ่ายภาพร่วมกัน

– ผู้เข้าร่วมการสัมมนาส่งแบบสอบถาม และรับของที่ระลึก

ข้อมูลเพิ่มเติม www.rlg-ef.com หรือ www.facebook.com/พัฒนาทักษะสมอง EF

ผู้ประสานงาน นางสาวทักษวดี วิวัฒน์ศิลป์ชัย สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)

โทร0 2913 7555 ต่อ 4003 มือถือ 083 773 7886

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...