สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

เทคนิควิธีส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้พัฒนาทักษะอารมณ์-สังคม

บทที่ 2 ตอนที่ 6
เทคนิควิธีส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้พัฒนาทักษะอารมณ์-สังคม

ทักษะอารมณ์และสังคมเป็นทักษะทีใช้เชื่อมโยงกับการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เด็กๆ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้พัฒนาอารมณ์และสังคมควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิชาการและเรื่องอื่นๆ ด้วย จากวิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม สำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษา ปีที่ 1 ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอหลักการและแนวปฏิบัติที่จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้พัฒนาทักษะอารมณ์ สังคม ซึ่งคุณครูสามารถนำไปใช้ได้ไม่ยาก

1. ครูเป็น “แบบอย่าง” ที่ดี

     ครูเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการควบคุมการแสดงอารมณ์ รวมถึงการยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง

  • ครูเป็นต้นแบบในการแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมและปฏิบัติต่อเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม
  • ครูส่งเสริมแนวคิดการต่อต้าน (Bullying) ทั้งในและนอกห้องเรียน
  • ครูปลูกฝังให้เด็กปฏิบัติดีต่อผู้อื่น และสามารถเล่นด้วยกันได้อย่างร่วมมือ
  • ครูเป็นแบบอย่างในการยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง โดยสามารถกล่าวคำขอโทษเมื่อตัวเองกระทำผิด
  • ครูปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับการทำผิดพลาดว่าเป็นการเรียนรู้มากกกว่าเป็นความผิด

สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้

        เด็กสามารถยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง โดยไม่แสดงความก้าวร้าวหรือยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางเมื่อทำผิด สามารถเล่นกับเพื่อต่างเพศหรือต่างห้องเรียนได้

2. ครูและเด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

โดยสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดความรู้สึกของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา สามารถสื่อสารข้อดีและข้อควรปรับปรุงของกันและกันได้ รวมถึงให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นด้วยเหตุผล

  • ครูแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ
  • ครูและเด็กมีการพูดคุยหรืออภิปรายเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ของเด็กในแต่ละวัน
  • ครูสนับสนุนการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องตามระเบียบของห้องเรียน
  • ครูสนับสนุนให้เด็กเคารพเหตุผลและการตัดสินใจของผู้อื่น

        สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้

เด็กสามารถบอกสิ่งที่ตัวเองชอบหรือทำได้ดี  บอกความรู้สึกตนเองในแต่ละสถานการณ์  สามารถปฏิบัติตามกฎของห้องเรียนหรือโรงเรียนได้  เคารพในการตัดสินใจของผู้อื่น เช่น สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และสามารถหาแนวทางในการเล่นด้วยวิธีอื่นเมื่อเพื่อนปฏิเสธที่จะเล่นด้วย

3. ครูจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางความคิดอย่างอิสระ

โดยสามารถอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา สามารถสื่อสารข้อดีและข้อควรปรับปรุงของกันและกันได้ รวมถึงให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นด้วยเหตุผล

  • ครูสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นมิตร เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น โดยไม่มีการตัดสินว่าความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด
  • ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำกิจกรรมใหม่ๆ

สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้

เด็กสามารถทดลองปฏิบัติในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำ  พูดสื่อสารความต้องการของตนได้

4. ครูอธิบายให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ กติกา และสิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติในแต่ละวัน

รวมถึงให้แนวทางหรือตัวเลือกในการทำงานและปฏิบัติตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสมอย่างมีประสบการณ์

  • ครูอธิบาย ทำความใจเกี่ยวกับข้อตกลง กฎ ระเบียบของห้องเรียน โรงเรียน ตั้งแต่ช่วงต้นภาคเรียน
  • ครูให้ข้อมูลว่าในแต่ละวันเด็กต้องทำสิ่งใดบ้าง เพื่อให้รู้สิ่งที่ต้องทำล่วงหน้า 
  • ครูเตรียมข้อมูลที่แสดงให้เด็กเห็นและเข้าใจสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน เช่น การติดตารางสอนให้เห็นชัดในห้องเรียน
  • ครูอธิบายและสอนให้เข้าใจถึงลักษณะการแสดงอารมณ์ที่เหมาะสม โดยยกตัวอย่างสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงอารมณ์ในสถานการณ์ต่างๆ
  • ครูอธิบายคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องทำอย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน รวมถึงบอกระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้น เพื่อเป็นแนวทางให้เด็กรู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  • ครูให้ตัวเลือกแก่เด็กในการทำงานหรือแสดงพฤติกรรม อธิบายข้อดี ข้อเสียของแต่ละตัวเลือก เพื่อให้เด็กมีข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะเลือกกระทำอย่างไร

สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้

เด็กสามารถบอกกฎระเบียบของห้องเรียน/ โรงเรียนได้ ปฏิบัติตนตามกิจวัตรประจำวันได้  ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม  ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ  สามารถเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดี

5. ครูเรียนรู้ ทำความเข้าใจลักษณะนิสัย จุดเด่น จุดด้อยของเด็กแต่ละคน

เพื่อจะได้เข้าใจความคิดและความรู้สึกของเด็กแต่ละคน รวมถึงเพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาเด็กแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ครูใช้การสังเกตเพื่อทำความรู้จักลักษณะนิสัย และการแสดงออกขั้นพื้นฐานของเด็ก เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการอบรมเด็กที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ต่างกัน
  • ครูทำความรู้จักข้อดีข้อเสียของเด็กแต่ละคน และส่งเสริมให้เห็นข้อดีของตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เด็กเห็นว่าทุกคนมีข้อดี และใช้ชีวิตด้วยกันด้วยความเคารพต่อตนเองและผู้อื่น โดยความเคารพต่อตนเองและผู้อื่นเป็นสิ่งที่จะทำให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
  • ครูทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของเด็กในแต่ละสถานการณ์ และให้โอกาสเด็กในการสื่อความคิด หรืออธิบายสิ่งที่กำลังเผชิญ

          สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้

          สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน สามารถบอกปัญหาที่กำลังเผชิญได้


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...