สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

เปิดโลกการเรียนรู้ให้เด็กด้วยการเข้าใจ เข้าถึงเด็กให้มากขึ้น

บทที่ 2 ตอนที่ 4
เปิดโลกการเรียนรู้ให้เด็กด้วยการเข้าใจ เข้าถึงเด็กให้มากขึ้น

การจะทำให้เด็กเปิดใจเปิดประตูสู่การเรียนรู้อย่างแท้จริงได้นั้น อันดับแรกครูต้องตระหนักว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน

  • เด็กแต่ละคน มีความสามารถในการมีสมาธิ (Attention Span) ไม่เท่ากัน

ความสามารถที่จะจดจ่อกับเรื่องใดๆ นั้น เป็นพัฒนาการของสมอง หมายความว่า ผู้ใหญ่ไม่สามารถคาดหวังให้เด็กเล็กๆ นั่งลงแล้วเรียนเพราะสมองยังไม่พัฒนา และขณะเดียวกัน เด็กถึงแม้จะมีอายุเท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมี Attention Span เท่ากัน พันธุกรรมเกี่ยวกับสมองส่วนหน้าของเด็กแต่ละคนทำให้การพัฒนาของสมองไม่เท่ากัน เด็กบางคนสามารถจดจ่อได้นาน บางคนวอกแวกง่าย ซึ่งถือว่าปกติ เพราะเด็กมีความแตกต่างกัน (แต่ถ้าวอกแวกเกินค่าปกติจะเป็นโรคสมาธิสั้น พบว่าเด็กสมาธิสั้นแม้จะติดเกมง่าย แต่ก็ยังจดจ่อ มีความสนใจสิ่งต่างๆ ได้)

Attention ของเด็กจะยาวหรือสั้น จึงไม่ใช่เป็นความผิดของเด็ก เด็กไม่ได้ตั้งใจที่จะไม่จดจ่อ แต่เป็นเพราะสมอง สิ่งที่ครูจะทำได้คือสร้างรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ ที่มีความหมาย จึงจะสามารถดึงเด็กให้มี Attention ได้นานขึ้น  

Relationship หรือสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเด็กกับครูก็ส่งผลต่อการดึงให้เด็กจดจ่ออยู่กับการเรียนรู้ได้นานขึ้นด้วยเช่นกัน

  • เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ (Learning Style) ที่แตกต่างกัน  

เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกัน บางคนถนัดเรียนรู้จากการฟัง บางคนถนัดเรียนรู้จากการดูแล้วเลียนแบบ บางคนจากการต้องเคลื่อนไหว ลงมือทำ เช่นเด็กสมาธิสั้นหรือเด็กที่วอกแวกง่าย

ดังนั้น ครูจึงต้องดูเด็กให้ออกว่าคนใดมีสไตล์การเรียนรู้แบบใด แล้วจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อ     ตอบสนองเด็กอย่างหลากหลายเพื่อดึงความสนใจของเด็ก ไม่ใช่ออกแบบประสบการณ์แบบพูดให้เด็กฟังอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเด็กกลุ่มที่ไม่ชอบฟังอย่างเดียวจะตามไม่ทัน เพราะไม่ใช่สไตล์การเรียนรู้ที่ตัวเองถนัด

เข้าถึงเด็กด้วย Reflection

เมื่อเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กแล้ว ครูจะเข้าถึงความรู้สึกนึกคิด ตัวตนของเด็กได้มากขึ้นหากใช้วิธีการ Reflection หรือการสะท้อนคิด เมื่อจบกิจกรรมหรือในระหว่างทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็น และสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกมา ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก เพราะทำให้เด็กได้อยู่กับข้างในของตัวเอง เรียนรู้เข้าใจตัวเอง รู้จักตัวเองก่อนว่ารู้สึกอย่างไร เมื่อเข้าใจตัวเองจึงจะเข้าใจผู้อื่น

สำหรับมนุษย์แล้ว การรู้จักตัวเองและรู้จักอยู่กับคนอื่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด มันจะนำเราออกไปรู้จักโลกภายนอกเพื่อนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาทำให้เราดำเนินชีวิตได้ดี แต่การรู้จักตัวเอง รู้จักการอยู่กับคนอื่นนี้ ไม่ควรมีเป้าหมายเพียงเพื่อการเติบโตไปเป็นคนที่นิสัยดี มีความสุขเท่านั้น เป้าหมายที่ใหญ่กว่า คือจะทำให้เราจัดการกับโลกได้ ซึ่งการจะอยู่ในโลกได้ดีแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าเรามีมุมมองต่อคนอื่นอย่างไร

การสะท้อนคิดนี้ แม้แต่เด็กปฐมวัยก็สามารถสะท้อนได้ โดยครูอาจช่วยตั้งคำถาม หรือถามนำในระยะแรกๆ

ความเข้าใจเข้าถึงเด็กนี้จะเป็นกุญแจที่ครูใช้เปิดประตูสู่โลกการเรียนรู้ให้เด็ก เมื่อครูสามารถทำให้เด็กสนใจได้แล้ว เด็กก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุขและอย่างมีความหมายต่อตนเองดังที่ครูปรารถนา


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...