โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...
เดิม ผอ.ปรีชามีความสนใจเรื่องการพัฒนาสมองเด็กและแนวการพัฒนาเด็กมอนเตสซอรี่ เมื่อได้พบข้อมูลเกี่ยวกับ EF ในอินเทอร์เน็ต ก็รู้สึกตรงกับความสนใจ ดูจะสอดคล้องและสามารถบูรณาการกับแนวทางมอเตสซอรี่ได้ แต่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง กระทั่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนบ้านหนองโสน พบว่ามีครูปฐมวัยที่ได้รับการอบรมเรื่อง EF และมีความตั้งใจที่จะใช้ความรู้ EF ในการพัฒนาเด็ก เห็นแนวทางที่จะขับเคลื่อน EF ในโรงเรียนนี้ได้ จึงส่งเสริมสนับสนุนให้ครูลงมือปฏิบัติในระดับชั้นอนุบาล 2-3 และเมื่อไม่นานมานี้ก็เริ่มขยายความรู้ EF ไปสู่ครูประถม โดยให้ครูปฐมวัยเป็นผู้ส่งต่อความรู้
นอกจากนี้ผอ.ปรีชายังมองว่าควรจะสร้างเครือข่ายขยายความรู้...
ผอ.วีระพงษ์ได้รู้จักเรื่องทักษะสมอง EF จากเพื่อนศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่นซึ่งแนะนำให้เข้าอบรมเรื่องEF กับสถาบัน RLG แล้วเห็นว่าเรื่อง EF มีความสำคัญมากสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นองค์ความรู้ที่ลึกและกว้างกว่า IQ และ EQ จึงนำมาขยายผลที่โรงเรียน จัดอบรมครูในโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนครูให้ใช้ความรู้ EF ในการพัฒนาเด็กโดยอาศัยสื่อจากสถาบัน RLG ให้ครูเรียนรู้ และมีศูนย์ EF สกลนครหรือโรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นที่ปรึกษา ตัวผอ.เองก็พาครูเรียนรู้ ทำให้ดูเป็นตัวอย่างอีกทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครองรู้เรื่อง...
ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...
ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...
โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...