สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

ปรารถนา หาญเมธี

112 โพสต์0 ความคิดเห็น

บทที่ 8 ตอนที่ 1 : การสร้าง “สนามพลังบวก” ในโรงเรียน

การสร้าง “สนามพลังบวก” ในโรงเรียน โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่หรือชุมชนที่เป็น “สนามพลังบวก”เป็นแนวคิดที่อาจารย์วิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ได้กล่าวไว้ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้นักเรียนเมื่อมาโรงเรียนแล้ว รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ทางกายภาพคือสถานที่มีความสะอาดร่มรื่นปลอดภัย รวมทั้งได้รับการยอมรับ เคารพในความเป็นมนุษย์ ​มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ไม่ว่าระหว่างครูกับนักเรียน หรือครูกับครู สนามพลังบวกมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก สำหรับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาใช้เป็นระบบสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาเด็กที่มุ่งหมายสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งปัญญาภายนอกและปัญญาภายใน อาจารย์วิเชียรเล่าว่า “เราจะทำทุกอย่างไม่ให้เด็กรู้สึกว่าถูกบังคับ เช่น ไม่มีเสียงออด เสียงระฆัง แต่สร้างวิถีที่เป็นวัฒนธรรมที่เด็กต้องกำกับตัวเองให้ได้ในแต่ละช่วงเวลา...

บทที่ 7 ตอนที่ 4 : วิชาที่เด็กประถมควรต้องเรียนรู้

วิชาที่เด็กประถมควรต้องเรียนรู้ ถ้าบอกว่าไม่ควรเร่งเรียนเขียนอ่านเด็กประถม ถ้าเช่นนั้นเด็กประถมควรเรียนอะไร นักการศึกษาได้อธิบายไว้ในการประชุมจัดการความรู้ โดยสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ว่า การประถมศึกษาตามบริบทไทย แบ่งเด็กเป็นสองช่วง คือประถมศึกษาตอนต้น เด็กวัย 6-8 ปี และประถมศึกษาตอนปลาย 9-12 ปี แต่ตามตำราพัฒนาการสากลแล้ว วัย 6-8 ปี ยังถือเป็นเด็กปฐมวัย การจัดการศึกษาจึงควรจะต้องยึดกุมหลักการ แนวคิด...

บทที่ 7 ตอนที่ 3 : แนวทางสร้างเสริมเด็กประถมที่มีความสุข

แนวทางสร้างเสริมเด็กประถมที่มีความสุข สำหรับพ่อแม่ส่วนใหญ่แล้วคิดว่า ความสุขของลูกคือการที่ลูกได้มีชีวิตสุขสบาย มีสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกสบาย ความสุขเช่นนี้เป็นความสุขภายนอก ที่ไม่ได้รับประกันว่าหากลูกเผชิญความเปลี่ยนแปลงผันผวนในชีวิต ขาดสิ่งเหล่านี้ แล้วลูกยังจะสามารถมีความสุขอยู่ได้ ความสุขที่แท้ซึ่งเป็นความสุขภายในต่างหากที่จะทำให้เด็กผ่านความยากลำบากที่อาจเผชิญไปได้ เป็นคนที่ล้มแล้วลุกได้ด้วยตัวเอง สามารถมีความสุขได้ง่ายๆ จากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว จากการจัดการความรู้โดยสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กและนักการศึกษา ว่าเด็กวัยประถมควรได้รับการดูแลให้มีความสุขทั้งภายนอกภายในอย่างไร ไว้ดังนี้  สร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยทั้งกายและใจ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนจะต้องปลอดภัย เมื่อเด็กเข้ามาในโรงเรียนต้องไม่มีความกลัว รู้สึกมั่นคง สบายใจ ทางกายภาพต้องปลอดภัย ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีวิถีการปฏิบัติต่อกันอย่างปลอดภัย...

บทที่ 7 ตอนที่ 1 : เข้าใจเด็กวัยประถม ช่วงวัยเปลี่ยนผ่าน (Transition)

เข้าใจเด็กวัยประถม ช่วงวัยเปลี่ยนผ่าน (Transition) ช่วงวัยประถมต้นเป็นช่วงที่เด็กเผชิญภาวะการเปลี่ยนผ่านจากปฐมวัยไปสู่ประถมศึกษา ซึ่งพ่อแม่และครูยังต้องใส่ใจพัฒนาเรื่องพัฒนาการ 4 ด้านต่อไป ไม่ใช่สอนเด็กให้นั่งเรียนอ่านเขียนอย่างเดียว พออยู่ชั้นป.4 - ป.6 หรือประถมปลาย เข้าสู่วัย Preteen ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านอีกช่วงหนึ่ง ผู้ใหญ่ต้องเปลี่ยนวิธีพัฒนาเด็ก จะใช้วิธีการดูแลพัฒนาเด็กเหมือนเมื่อเด็กยังอยู่ชั้นประถมต้นไม่ได้ การเปลี่ยนผ่านของช่วงวัยที่ไม่เหมือนกันนี้คือสิ่งที่พ่อแม่และครูต้องคำนึงถึงด้วย ในด้านพัฒนาการ เด็กปฐมวัยยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Self-Centered) เมื่อเข้าสู่วัยประถมจึงจะเห็นความสำคัญของสังคม การอยู่ร่วมกับคนอื่น ในชั้นป.4 - ป.6...

บทที่ 6 ตอนที่ 3 : คุณลักษณะและสมรรถนะ (Characters/Competency) ของเด็กประถมที่เราคาดหวัง

คุณลักษณะและสมรรถนะ(Characters/Competency) ของเด็กประถมที่เราคาดหวัง มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561 ได้กำหนดคุณลักษณะขั้นต่ำ ตามผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษา (DOE-Desired Outcome of Education) ในเด็กวัยประถมศึกษา รวมทั้งจากการให้ความเห็นเพิ่มเพิ่มเติมโดยนักวิชาการในการจัดการความรู้โดยสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) เห็นว่านักเรียนประถมศึกษาของเราควรมีคุณลักษณะ (Character) และสมรรนะดังนี้ คุณลักษณะที่ 1 เป็นผู้รับรู้ตัวตน เอื้อต่อผู้อื่นได้ มีความมั่นใจในตัวเอง มี Self...

บทที่ 6 ตอนที่ 2 : 10 วิธีส่งเสริมให้เด็กประถมเรียนรู้ได้ดี

10 วิธีส่งเสริมให้เด็กประถมเรียนรู้ได้ดี 1. ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย รู้ว่าสิ่งที่เรียนรู้มีความหมายต่อตัวเอง ต่อคนอื่น และต่อโลก ถ้าเด็กเข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งที่เรียน เห็นว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองจริงๆ รู้เป้าหมายว่าเรียนไปเพื่ออะไร และมีส่วนร่วม จะเป็นแรงจูงใจ แรงผลักดัน ทำให้มี Passion มากกว่า มีความสนุกในการเรียน โดยครูเชื่อมโยงสิ่งที่เด็กสนใจกับชีวิตจริง กับตัวเด็ก เพื่อให้เกิดความหมาย และให้เกิดเป็นความรู้ ที่รู้รอบ รู้ลึก 2. ครูต้องรู้ และทำให้เด็กรู้ถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเอง...

บทที่ 6 ตอนที่ 1 : โลกเปลี่ยน บทบาทพ่อแม่ ครูประถมต้องเปลี่ยนด้วย

โลกเปลี่ยน บทบาทพ่อแม่ ครูประถมต้องเปลี่ยนด้วย ปัจจุบันเราตระหนักแล้วว่า การเรียนรู้วิชาการอย่างเดียวไม่ทำให้เด็กมีความเข้มแข็งยืนอยู่ในโลกยุคใหม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาไม่ได้อีกต่อไป เด็กๆ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่ทำให้ปรับตัวอยู่ในโลกที่ผันผวน อยู่ได้ด้วยตัวเอง และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ดี เติบโตเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ร่วมสร้างนวัตกรรมและสร้างสังคมคุณภาพ นักวิชาการทางด้านพัฒนาการเด็กและนักการศึกษาเห็นว่า เด็กในศตวรรษที่ 21 นอกจากจะได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการ 4 ด้าน (กาย ใจ อารมณ์-สังคม สติปัญญา) ที่ดีแล้ว ควรได้รับการพัฒนาทักษะสมอง EF พัฒนา Self...

บทที่ 5 ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างพลเมืองเข้มแข็ง

กระบวนการสร้างพลเมืองเข้มแข็ง ความเป็นพลเมืองเข้มแข็งคือเป้าหมายปลายทางของการศึกษาที่เราอยากให้เกิดขึ้นในเด็กเมื่อเติบโตขึ้น  ความหมายของคำว่า “เข้มแข็ง” อย่างแรกหมายถึง เข้มแข็งทางกาย  แต่ไม่ได้หมายถึงสมรรถภาพร่างกายอย่างเดียว แต่รวมถึงองค์ประกอบที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงคือ “กินเป็นอยู่เป็น” ต้องรู้จักที่จะกิน รู้จักที่จะรู้ว่าอะไรที่จะเป็นประโยชน์ อะไรที่จะไม่เป็นประโยชน์แล้วเลือกที่จะกินให้เป็น อีกอย่าง เข้มแข็งทางจิตใจ มีสมรรถภาพจิตที่เข้มแข็ง และมีสุขภาพจิตที่ดี  การทำให้เด็กมีความสุขอย่างเดียวไม่พอ เด็กจะต้องมีสมรรถภาพจิตคือมีความอดทน ใจสู้ มีสติ มีสมาธิ และ สุขภาพจิตที่ดีต้องมีเมตตากรุณา (sympathy / empathy)...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...