สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก สาระ EF บทความแปล

บทความแปล

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 8 (ตอนที่ 6) : พัฒนา EF ด้วยการเล่นอย่างเป็นระบบ

พัฒนา EF ด้วยการเล่นอย่างเป็นระบบ สมองส่วนหน้าบริเวณหลังหน้าผาก เป็นสมองส่วนของการคิดขั้นสูงที่มีทักษะเชิงบริหารจัดการ (Executive Function: EF) ที่ทำงานกำกับการวางแผนและกำกับการกระทำของเราเกี่ยวข้องกับความคิด อารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีทักษะพื้นฐานของสมองส่วนนี้อยู่ 3 ทักษะคือ 1. ทักษะจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) 2. ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) และ 3. ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Cognitive...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 8 (ตอนที่ 5) ฝึกฝนเพื่อพัฒนา พัฒนาแล้วฝึกฝนต่อ

ฝึกฝนเพื่อพัฒนา พัฒนาแล้วฝึกฝนต่อ ทักษะเชิงบริหารจัดการ (Executive Function: EF) ของสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จในการเรียนหนังสือและการทำงาน มิตรภาพ การแต่งงาน คุณภาพของชีวิต มีสุขภาพที่ดีและมีจิตใจที่เป็นสุข ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การพัฒนาทักษะ EF เหล่านี้ตั้งแต่ปฐมวัย เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นยิ่ง ปัญหา EF ในวัยเด็กบอกได้ว่าชีวิตต่อไปข้างหน้า ปัญหา EF ของคนๆ นั้นจะเป็นอย่างไร ทักษะ...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 8 (ตอนที่ 4) : พัฒนาความสามารถ ในการคิดยืดหยุ่นของเด็ก

พัฒนาความสามารถ ในการคิดยืดหยุ่นของเด็ก ทักษะยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility/ Shifting) เป็นทักษะพื้นฐานของทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Functions: EF) ซึ่งเป็นทักษะกระบวนการคิดชั้นสูงในสมองของมนุษย์ เป็นความสามารถในการเปลี่ยนมุมมอง เช่น สามารถเห็นบางอย่างจากการมองมาจากมุมที่คนอื่นยืนอยู่ (ที่ไม่เหมือนกับจุดที่ตนเองมองเห็น) สามารถเปลี่ยนวิธีการคิดเกี่ยวกับปัญหา เช่น คิดออกไปนอกกรอบ เปลี่ยนวิธีการ แก้ปัญหาต่างไปจากวิธีการเดิมที่เคยทำมา หาทางออกให้กับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนการคิดได้เมื่อเป้าหมายหรือความคาดหวังเปลี่ยน ไปจนถึงสามารถเปลี่ยนความต้องการ เปลี่ยนลำดับความสำคัญ ยอมรับได้ว่าที่ตนเองคิดมา...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 8 (ตอนที่ 3) วิธีพัฒนา “ความจำเพื่อใช้งาน” ให้เด็กของเรา

วิธีพัฒนา “ความจำเพื่อใช้งาน” ให้เด็กของเรา ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) เป็นความสามารถในการจดจำข้อมูลทั้งในระยะสั้น และรวมถึงการเก็บข้อมูลไว้ในความทรงจำระยะยาว เป็นความสามารถที่เด็กจำเป็นต้องมี เนื่องจากในการเรียนรู้เด็กต้องใช้ความจำและความเข้าใจภาษาทั้งจากการได้ยินและได้เห็นตลอดเวลาในการเรียนและปฏิบัติตัวตามแนวทางที่วางไว้ ความจำเพื่อใช้งานช่วยให้เรานำประสบการณ์เดิมหรือข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาให้กับสถานการณ์ที่เผชิญในปัจจุบัน รวมทั้งการทำงานที่รับผิดชอบหรือต้องการบรรลุเป้าหมายจนสำเร็จ ความจำเพื่อใช้งานเป็นความสามารถพื้นฐานของสมองส่วนหน้าที่ต้องมี เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ จัดระเบียบทางความคิด การทำงานและการดำเนินชีวิต เป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลของเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น           เด็กที่พบว่ามีปัญหาจำเรื่องที่บอกให้ทำไม่ได้ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำเพื่อใช้งาน หากเราพบว่าเด็กคนไหนมีความยากลำบากในการจดจำข้อมูลอย่างหนึ่งในขณะที่กำลังทำอีกอย่างหนึ่ง นั่นเป็นสิ่งบอกเหตุที่แสดงว่าเด็กกำลังประสบปัญหาเรื่องความจำเพื่อใช้งาน เช่น หากว่าแม่กำลังทำอาหารอยู่ด้วยกันกับเด็ก แล้วเด็กต้องออกไปช่วยพ่อหยิบของ เลย...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 8 (ตอนที่ 2) : หลากหลายวิธี ฝึก EF ที่บ้านได้

หลากหลายวิธี ฝึก EF ที่บ้านได้ หากในชีวิตประจำวันเรากำลัง           ...ตั้งใจเรียนหรือทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เสร็จสำเร็จลง แม้ว่าเรื่องนั้นน่าเบื่อมาก           …พยายามไม่ใส่ใจเรื่องที่กวนใจหรือเรื่องที่เข้ามาแทรก แล้วรบกวนสิ่งที่เราต้องตั้งใจทำให้สำเร็จ           …มีข้อมูลจำนวนมากมายอยู่ในหัวที่ต้องจัดการและขบคิด ในเวลาเดียวกัน           …ระงับบังคับตัวเองไม่ให้พูดหรือทำสิ่งใดลงไป แล้วทำให้ตนเองเดือดร้อน           …จำต้องเปลี่ยนสิ่งที่กำลังทำอยู่ไปจากเดิม เนื่องจากสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากที่                 คาดคิด สถานการณ์ทั้งหมดดังได้กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของทุกคน ในขณะที่พฤติกรรมของเราแสดงออกไปตามที่กล่าวมา แทนที่จะเลิกทำหรือบ่นโวยวายเมื่องานน่าเบื่อกลับอดทนทำจนเสร็จเรียบร้อยดี ไม่มัวเสียเวลากับเรื่องกวนใจจนทำงานไม่ได้ แต่พยายามจดจ่อทำงานไม่ให้ผิดพลาด ไม่โพล่งพูดจาให้ตนเองหรือผู้อื่นเสียหาย ยั้งคิด ไตร่ตรอง...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 8 (ตอนที่ 1) EF ดี : “ยั้ง” ได้เพราะไตร่ตรอง ใช่ถูกบังคับ

EF ดี : “ยั้ง” ได้เพราะไตร่ตรอง ใช่ถูกบังคับ ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) พื้นฐานที่สำคัญยิ่งทักษะหนึ่งคือ ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) อันเป็นความสามารถในการหยุดหรือยั้งความคิด ความสามารถนี้เกิดขึ้นและพัฒนาตั้งแต่ช่วงแรกเกิดของชีวิต ความสามารถในการยั้ง หยุดและความจำเพื่อใช้งานเป็นทักษะฐานรากที่ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะยืดหยุ่นความคิด เมื่อโตขึ้น การยั้งหรือหยุดเกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่เด็กสามารถหยุดยั้งตัวเองได้ด้วยตนเองตั้งแต่แบเบาะ เช่น ร้องไห้เพราะหิวนม พอได้ยินเสียงแม่บอกว่า รอเดี๋ยวนะลูก เด็กก็เริ่มแสดงอาการพยายามหยุดร้อง...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 10) เด็กอนุบาล EF ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

เด็กอนุบาล EF ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ทักษะการทำงานของทักษะสมองส่วนหน้าเริ่มต้นพัฒนาอย่างชัดเจนในวัยอนุบาล ซึ่งเป็นเด็กก่อนวัยเรียน การเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลถือเป็นประสบการณ์ครั้งแรก ที่เด็กได้พบกับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นทางการ ซึ่งครูผู้ดูแลเด็กเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนตัวน้อย ครูเป็นผู้วางแผน จัดเตรียมและสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ทักษะสมองส่วนหน้า EF ในการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในแต่ละวันในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก ผลการเรียนรู้ของเด็กๆเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากสองส่วน คือความพยายามในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนและบริบทของห้องเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมในการเรียนและกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยที่ครูยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการหาวิธีที่จะดูแลเด็กที่มีทักษะสมองส่วนหน้าอ่อน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียนในขณะเดียวกับที่ต้องสร้างโอกาสการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีทักษะ EF สูง ให้สามารถพัฒนาทักษะของตนได้อย่างเต็มศักยภาพ ปัจจุบันเมื่อดูความพร้อมของโรงเรียนในระบบการศึกษา โรงเรียนไม่เพียงแต่ถูกคาดหวังว่า จะเป็นสถานที่ที่จะพัฒนาทักษะทางด้านภาษา ความรู้ทางด้านวิชาการอันประกอบด้วย...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 9) การพัฒนาทักษะทางสังคมกับทักษะสมองส่วนหน้า EF

การพัฒนาทักษะทางสังคมกับทักษะสมองส่วนหน้า EF ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Functions : EF) เป็นกระบวนการทำงานขั้นสูงของสมองบริเวณหลังหน้าผาก ทำหน้าที่เชิงบริหารจัดการกำกับอารมณ์ ความคิดและการกระทำ ทำให้มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม สามารถยับยั้งการกระทำที่ไม่เหมาะสมเพื่อไปบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะส่งผลให้มีความสุข สุขภาพดี ประสบความสำเร็จในเรื่องที่ตั้งใจ และเมื่อล้มเหลวหรือพลาดไปก็สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ ทักษะ EF พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ทักษะทางสังคมเริ่มจากการมีปฏิสัมพันธ์กับแม่หรือผู้เลี้ยงดูหลัก ทักษะทางสังคมจึงมีอิทธิพลต่อทักษะของสมองส่วนหน้าในเด็กเล็ก ในขณะเดียวกับที่เด็กเล็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะ EF ดีก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคมทำให้ทีความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างดีและมีความสุข ทักษะทางสังคมที่พ่อแม่สอนแก่ลูกผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กัน มีความสัมพันธ์ผูกพันระหว่างกันและกัน...
74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...