สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก เด็กวัยอนุบาล

Tag: เด็กวัยอนุบาล

วิธีฝึกเด็กให้แก้ปัญหาเก่ง

วิธีฝึกเด็กวัยอนุบาลให้คิดพลิกแพลงแก้ปัญหาเก่ง เด็กที่มีความยืดหยุ่นทางความคิดจะเป็นเด็กที่คิดพลิกแพลงแก้ปัญหาเก่ง ซึ่งเราพอมองเห็นความสามารถนี้ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัยอนุบาล ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กวัยอนุบาลจะแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ได้แล้ว ช่วงวัย 3 ขวบ แก้ปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันได้ แต่ยังลองผิดลองถูก เช่น สวมเสื้อแต่กลับด้าน ติดกระดุมเหลื่อม สวมรองเท้าผิดข้าง รู้จักถามเพื่อให้ได้วิธีการแก้ปัญหา ช่วงวัย 4 ขวบ แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่นใช้ไม่เขี่ยของที่เอื้อมหยิบไม่ถึง ช่วงวัย 5 ขวบ รู้จักแก้ปัญหาได้หลายวิธีและรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม ทีนี้มาดูวิธีฝึกเด็กวัยนี้ให้มีความยืดหยุ่นทางความคิด คิดแก้ปัญหาเก่งกันบ้าง ปล่อยให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในการทำกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด เมื่อเด็กทำไม่ได้อย่าดุว่า เมื่อเกิดปัญหา ลองปล่อยให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตัวเองดูก่อน แล้วตั้งถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ความพยายามคิดถึงวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ อย่าตัดสินว่าวิธีการแก้ปัญหาของเด็กใช้ไม่ได้ ฝึกให้เด็กใช้ความคิดยืดหยุ่นด้วยการเล่านิทานให้ฟังแล้วชวนพูดคุย ให้เด็กลองสมมุติตัวเองเป็นตัวละครในนิทาน แล้วจะแก้ปัญหาหรือจะทำอย่างไร ฝึกให้เด็กคิดนอกกรอบ ด้วยการเล่นเกมต่างๆ...

เด็กวัยอนุบาลมีสมาธิจดจ่อแค่ไหน

เด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับอะไรได้ไม่นาน อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ วัยอนุบาลโดยธรรมชาติพัฒนาการแล้ว ก็พอจะมีสมาธิจดจ่อได้บ้างระดับหนึ่ง แน่นอนว่าเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับอะไรได้ไม่นาน ซึ่งหากจะจับเด็กไปนั่งเรียนเขียนอ่านทันทีที่เข้าโรงเรียน ยิ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ วัยอนุบาลโดยธรรมชาติพัฒนาการแล้ว ก็พอจะมีสมาธิจดจ่อได้บ้างระดับหนึ่ง ดังนี้ ช่วงวัย 3 ขวบ เขาจะเปิดหนังสือดูรูปหรือนิทานภาพอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 3-5 นาที โดยมีผู้ใหญ่ชี้ชวน ฟังคนอื่นพูด แล้วโต้ตอบด้วยวาจาหรือการกระทำ มีสติจดจ่อในการเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 5-10...

วิธีเสริมสร้างสมาธิจดจ่อให้เด็กทำงานสำเร็จ

วิธีเสริมสร้างสมาธิจดจ่อให้ลูกวัยอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้และทำงานสำเร็จ คุณครูสามารถฝึกเด็กวัยอนุบาลให้มีสมาธิจดจ่อ มีความตั้งใจทำอะไรจนสำเร็จได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้ - ไม่เข้าไปรบกวน เข้าไปช่วย เวลาเด็กกำลังตั้งใจทำอะไรหรือง่วนเพลินอยู่ ปล่อยให้เขาทำจนเสร็จ - หากเด็กทำไม่ได้ ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจ - ชมเชยเมื่อเห็นเด็กมีความตั้งใจและพยายาม - หาของเล่นหรือหนังสือที่เสริมสร้างสมาธิจดจ่อ เช่น นิทานที่มีภาพสวยๆ มีเสียง การต่อภาพจิ๊กซอว์ง่ายๆ การต่อบล็อก ฯลฯ - ให้เด็กทำกิจกรรมที่เสริมสร้างสมาธิจดจ่อ เช่น วาดภาพระบายสี ทำงานศิลปะ งานประดิดประดอย การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ...

วิธีส่งเสริมให้เด็กกล้าริเริ่ม ลงมือทำ

วิธีส่งเสริมให้ลูกกล้าริเริ่ม ลงมือทำ เพื่อประสบความสำเร็จในชีวิตจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในชีวิตคนเราอยู่ที่การกล้าริเริ่ม ลงมือทำ  แม้จะฉลาดปราดเปรื่องในการคิด หรือวางแผนไว้สวยหรูเพียงไร หากไม่ลงมือทำ หรือไม่กล้าเป็นผู้ริเริ่ม ก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ความมั่นใจที่จะลงมือทำนั้นคุณครูสามารถสร้างเสริมให้เด็กได้ตั้งแต่วัยอนุบาล ดังนี้- เปิดโอกาสและสนับสนุนให้เด็กได้ทำในสิ่งที่อยากทำโดยไม่มีอันตราย- ดูแลให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ และงานที่คุณครูมอบหมาย- ขอให้เด็กช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ที่พอทำได้ เช่นช่วยทำความสะอาดห้องเรียน- อย่าตำหนิหากเด็กทำไม่ได้ดี แต่ชื่นชมที่เด็กมีความพยายามลงมือทำ- ให้เด็กได้มีโอกาสคิดค้นวิธีการเล่นการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเอง ปล่อยให้เด็กเล่นทำกิจกรรมอย่างอิสระ ไม่เข้าไปแทรกแซงว่าเล่นอย่างนั้นสิ...

การกำกับควบคุมตัวเอง เสริมสร้างได้อย่างไร

พ่อแม่และครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างพื้นฐานให้เด็กมีทักษะความสามารถกำกับควบคุมตนเอง ด้วยวิธีการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่เป็นบุคคลสำคัญในการเสริมสร้างให้ลูกมีความสามารถในการกำกับควบคุมตัวเองได้ ด้วยวิธีการต่างๆ ในชีวิตประจำวันดังต่อไปนี้ ให้โอกาสกอดลูก รับฟังความคิดความรู้สึกของเขา ถ่ายทอดความรู้สึกที่ดีต่อกันทุกวันเป็นเนืองนิจ เช่น ก่อนนอนให้เขาเล่าเรื่องต่างๆ ถ้าเป็นเรื่องดีก็ชมเชย ถ้าเป็นเรื่องร้ายก็ปลอกขวัญให้กำลังใจ เพื่อสร้างสัมพันธภาพพื้นฐานให้มั่นคง สร้างกติกาแบบที่เขามีส่วนร่วมคิดด้วย ในเรื่องต่างๆ ที่ลูกต้องทำหรือรับผิดชอบ แล้วดูแลให้ลูกทำตามที่ตกลงกันไว้ ให้กำลังใจชมเชยที่ลูกทำตามข้อตกลงหรือทำงานจนเสร็จ คุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างของการควบคุมตัวเอง ยับยั้งชั่งใจ ไม่แสดงอารมณ์และพฤติกรรมรุนแรง รวมทั้งการตรงต่อเวลาด้วย ฝึกลูกให้รู้จักอดทนรอคอยทีละน้อย เพิ่มระยะเวลาของการรอคอยให้นานขึ้น พยายามให้ลูกได้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองให้มากที่สุด ไม่ใช้ความเร่งรีบของพ่อแม่ไปทำสิ่งต่างๆ แทนลูกเสียทั้งหมด ให้โอกาสลูกได้รับผิดชอบช่วยเหลืองานในบ้าน ตามวัยของเขา เท่าที่จะทำได้ แล้วชมเชยเมื่อเขาตั้งใจทำ เมื่อลูกไม่สามารถควบคุมอารมณ์ควบคุมพฤติกรรมได้...

วิธีเสริมสร้างสมาธิจดจ่อให้ลูกทำงานสำเร็จ

วิธีเสริมสร้างสมาธิจดจ่อให้ลูกวัยอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้และทำงานสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกลูกวัยอนุบาลให้มีสมาธิจดจ่อ มีความตั้งใจทำอะไรจนสำเร็จได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้ จัดมุมสงบให้ลูกได้เล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีสมาธิ ไม่มีสิ่งเร้า เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ไม่รบกวน เวลาลูกกำลังตั้งใจทำอะไรหรือง่วนเพลินอยู่ ปล่อยให้เขาทำเองจนเสร็จ แต่ถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือบ้าง ควรตอบสนอง ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจ เมื่อเขาพยายาม ควรชมเชยเพื่อเป็นกำลังใจ ควรจัดหาของเล่นหรือหนังสือที่เสริมสร้างสมาธิจดจ่อ เช่น นิทานที่มีภาพสวยๆ มีเสียง...

พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล

เมื่อดูพัฒนาการตามวัยของเด็กวัยอนุบาลแล้ว เราจะพบว่าเด็กเล็กมีพัฒนาการทางอารมณ์ รู้จักอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ และสามารถควบคุมอารมณ์ได้บ้างแล้ว ลองดูว่าลูกมีพัฒนาการดังนี้หรือไม่ ช่วงวัย 3 ขวบ บอกว่ารักพ่อแม่ คนใกล้ชิดได้ แสดงความดีใจ พอใจ เมื่อทำอะไรสำเร็จ ควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อเจอเรื่องที่ไม่ได้ดังใจ ไม่อาละวาดโวยวาย เข้าไปในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เช่น ไปตัดผม ไปหาหมอ ฯลฯ ก็ไม่ถึงกับกลัว เมื่อผู้ใหญ่ปลอบประโลมก็หยุดหรือสงบสติอารมณ์ลงได้บ้าง แบ่งปันการเล่นกับเพื่อนได้ ช่วงวัย 4ขวบ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...