สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Focus/Attention

Tag: Focus/Attention

พัฒนาการของ EF ในช่วงประถมและมัธยม

วัยประถมปลาย เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น ทำสิ่งต่างๆได้มากขึ้นคุณครูจะเห็นว่าเขาสามารถเรียนรู้การวางแผน จัดการและติดตามงาน ทำงานได้นานขึ้น เรียนรู้วินัยได้ วัยประถมปลาย เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น ทำสิ่งต่างๆได้มากขึ้นคุณครูจะเห็นว่าเขาสามารถเรียนรู้การวางแผน จัดการและติดตามงาน ทำงานได้นานขึ้น เรียนรู้วินัยได้ดีขึ้น เช่น จัดโต๊ะ สมุดทำงานหรือตู้หนังสือเป็นระเบียบ แม้จะต้องมีการเตือนกันบ้างก็ตาม 11-12 ปี เด็กส่วนใหญ่จะสามารถจัดการกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน จะพัฒนาต่อยอดEF ในเรื่องการยับยั้งชั่งใจ รู้เรื่องกติกามารยาทมากขึ้น เริ่มวางแผน ตั้งเป้า ทำงานตามแผนและจัดการเวลาเป็น จัดลำดับความสำคัญของงานที่ซับซ้อนขึ้นได้...

เด็กวัยอนุบาลมีสมาธิจดจ่อแค่ไหน

เด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับอะไรได้ไม่นาน อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ วัยอนุบาลโดยธรรมชาติพัฒนาการแล้ว ก็พอจะมีสมาธิจดจ่อได้บ้างระดับหนึ่ง แน่นอนว่าเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับอะไรได้ไม่นาน ซึ่งหากจะจับเด็กไปนั่งเรียนเขียนอ่านทันทีที่เข้าโรงเรียน ยิ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ วัยอนุบาลโดยธรรมชาติพัฒนาการแล้ว ก็พอจะมีสมาธิจดจ่อได้บ้างระดับหนึ่ง ดังนี้ ช่วงวัย 3 ขวบ เขาจะเปิดหนังสือดูรูปหรือนิทานภาพอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 3-5 นาที โดยมีผู้ใหญ่ชี้ชวน ฟังคนอื่นพูด แล้วโต้ตอบด้วยวาจาหรือการกระทำ มีสติจดจ่อในการเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 5-10...

วิธีเสริมสร้างสมาธิจดจ่อให้เด็กทำงานสำเร็จ

วิธีเสริมสร้างสมาธิจดจ่อให้ลูกวัยอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้และทำงานสำเร็จ คุณครูสามารถฝึกเด็กวัยอนุบาลให้มีสมาธิจดจ่อ มีความตั้งใจทำอะไรจนสำเร็จได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้ - ไม่เข้าไปรบกวน เข้าไปช่วย เวลาเด็กกำลังตั้งใจทำอะไรหรือง่วนเพลินอยู่ ปล่อยให้เขาทำจนเสร็จ - หากเด็กทำไม่ได้ ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจ - ชมเชยเมื่อเห็นเด็กมีความตั้งใจและพยายาม - หาของเล่นหรือหนังสือที่เสริมสร้างสมาธิจดจ่อ เช่น นิทานที่มีภาพสวยๆ มีเสียง การต่อภาพจิ๊กซอว์ง่ายๆ การต่อบล็อก ฯลฯ - ให้เด็กทำกิจกรรมที่เสริมสร้างสมาธิจดจ่อ เช่น วาดภาพระบายสี ทำงานศิลปะ งานประดิดประดอย การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ...

ปฐมวัย วัยทองของการพัฒนาทักษะ EF

ในช่วงปฐมวัย (แรกเกิด-6 ปี) เป็นวัยทองของการพัฒนาทักษะ EF ที่พ่อแม่และครูอนุบาลจะต้องช่วยเด็กในวัยนี้ให้พัฒนาทักษะ EF เพื่อให้เด็กมีความพร้อมกับการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป มีงานวิจัยจากการประเมินผลของโครงการ Chicago School Readiness ชี้ว่าทักษะ EF ของเด็กที่พัฒนาในช่วงวัยอนุบาล สามารถทำนายถึงความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านในเวลาอีก 3 ปีต่อมา ยิ่งไปกว่านั้นทักษะ EF ยังแสดงถึงความพร้อมในการเข้าเรียนได้ดีกว่าการวัด IQ ของเด็ก ทักษะ EF ในเด็กไม่ว่าการมีสมาธิจดจ่อในงานที่ผู้ใหญ่มอบหมายให้การวางแผน...

ข้อแนะนำที่พ่อแม่และครูควรใส่ใจ

ในการพัฒนาทักษะ EF มีข้อแนะนำที่พ่อแม่และครูควรใส่ใจ ในการพัฒนาทักษะ EF มีข้อแนะนำที่พ่อแม่และครูควรใส่ใจ ดังต่อไปนี้ - ในการพัฒนาทักษะ EF อาศัยความเข้าใจ ความรักความเมตตา ความสม่ำเสมอของพ่อแม่ และครูเป็นพื้นฐาน - คุณครูต้องเอาใจใส่พัฒนาทักษะ EF ไปพร้อมๆ กับการเรียนการสอน - ความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ขัดขวางการพัฒนาทักษะ EF คุณครูควรสอนเด็กให้รู้จักจัดการความ- เครียด และทำตัวเป็นตัวอย่าง สอนให้เด็กเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่น รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักรอคอย...

สมาธิสั้น แอลดี คือเด็กที่มี EF บกพร่อง

เด็กสมาธิสั้นและเด็กแอลดี เป็นเพราะมีความบกพร่องของสมองส่วน Executive Function นั่นเอง Thomas E. Brown นักจิตวิทยาชื่อดังจากมหาวิทยาลัยเยล พบว่า คนที่สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD) มีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับความบกพร่องในการทำงานของทักษะสมองในการบริหารจัดการชีวิต (Executive Functions) ทำให้คนที่มีอาการนี้ ไม่สามารถจัดการกับสมองตนเองให้จดจ่อตั้งใจกับสิ่งที่ต้องทำได้ ข้อมูลจาก Lynn Meltzer และ Kalyani Krishnan...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...