สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Shift /Cognitive

Tag: Shift /Cognitive

เคล็ดลับที่ไม่ลับในการเสริมสร้าง EF ให้เด็ก

การสร้างเสริมให้เด็กมีทักษะ EF หรือความสามารถในการบริหารจัดการชีวิต ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ช่วงปฐมวัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็น การสร้างเสริมให้เด็กมีทักษะ EF หรือความสามารถในการบริหารจัดการชีวิต ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ช่วงปฐมวัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าพ้นวัยนี้ไปจะพัฒนาทักษะนี้ได้ยาก ส่วนเคล็ดลับในการสร้างเสริมทักษะ EF ให้เด็กก็ไม่ยากอะไร ลองดูข้อแนะนำต่อไปนี้ ให้เด็กเล่นบทบาทสมมติ ( Pretend Play ) ลองให้เด็กๆ ได้แสดงละคร แสดงบทบาทสมมุติ เช่น...

วิธีฝึกเด็กให้แก้ปัญหาเก่ง

วิธีฝึกเด็กวัยอนุบาลให้คิดพลิกแพลงแก้ปัญหาเก่ง เด็กที่มีความยืดหยุ่นทางความคิดจะเป็นเด็กที่คิดพลิกแพลงแก้ปัญหาเก่ง ซึ่งเราพอมองเห็นความสามารถนี้ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัยอนุบาล ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กวัยอนุบาลจะแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ได้แล้ว ช่วงวัย 3 ขวบ แก้ปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันได้ แต่ยังลองผิดลองถูก เช่น สวมเสื้อแต่กลับด้าน ติดกระดุมเหลื่อม สวมรองเท้าผิดข้าง รู้จักถามเพื่อให้ได้วิธีการแก้ปัญหา ช่วงวัย 4 ขวบ แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่นใช้ไม่เขี่ยของที่เอื้อมหยิบไม่ถึง ช่วงวัย 5 ขวบ รู้จักแก้ปัญหาได้หลายวิธีและรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม ทีนี้มาดูวิธีฝึกเด็กวัยนี้ให้มีความยืดหยุ่นทางความคิด คิดแก้ปัญหาเก่งกันบ้าง ปล่อยให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในการทำกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด เมื่อเด็กทำไม่ได้อย่าดุว่า เมื่อเกิดปัญหา ลองปล่อยให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตัวเองดูก่อน แล้วตั้งถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ความพยายามคิดถึงวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ อย่าตัดสินว่าวิธีการแก้ปัญหาของเด็กใช้ไม่ได้ ฝึกให้เด็กใช้ความคิดยืดหยุ่นด้วยการเล่านิทานให้ฟังแล้วชวนพูดคุย ให้เด็กลองสมมุติตัวเองเป็นตัวละครในนิทาน แล้วจะแก้ปัญหาหรือจะทำอย่างไร ฝึกให้เด็กคิดนอกกรอบ ด้วยการเล่นเกมต่างๆ...

ปฐมวัย วัยทองของการพัฒนาทักษะ EF

ในช่วงปฐมวัย (แรกเกิด-6 ปี) เป็นวัยทองของการพัฒนาทักษะ EF ที่พ่อแม่และครูอนุบาลจะต้องช่วยเด็กในวัยนี้ให้พัฒนาทักษะ EF เพื่อให้เด็กมีความพร้อมกับการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป มีงานวิจัยจากการประเมินผลของโครงการ Chicago School Readiness ชี้ว่าทักษะ EF ของเด็กที่พัฒนาในช่วงวัยอนุบาล สามารถทำนายถึงความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านในเวลาอีก 3 ปีต่อมา ยิ่งไปกว่านั้นทักษะ EF ยังแสดงถึงความพร้อมในการเข้าเรียนได้ดีกว่าการวัด IQ ของเด็ก ทักษะ EF ในเด็กไม่ว่าการมีสมาธิจดจ่อในงานที่ผู้ใหญ่มอบหมายให้การวางแผน...

ข้อควรรู้ที่สำคัญในการพัฒนาทักษะ EF

การศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กด้วยวิธีการต่างๆ  6 แบบ ได้แก่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเกมต่างๆ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ศิลปะการต่อสู้ การฝึกสมาธิ และวิธีการมอนเตสซอรี  พบประเด็นสำคัญในการพัฒนาทักษะ EF หลายประการ จากการศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กของ Dr. Adele Diamonds และ Kathleen Lee ด้วยวิธีการต่างๆ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...