สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

ปรารถนา หาญเมธี

112 โพสต์0 ความคิดเห็น

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 4) กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในวัยรุ่น

กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในวัยรุ่น ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) ของสมอง เกี่ยวข้องทั้งเรื่องการคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้และการตั้งเป้าหมายของตัวเอง รวมทั้งการวางแผนระยะยาว ทักษะสมองส่วนหน้า EF จึงยิ่งมีความสำคัญและถูกใช้มากยิ่งขึ้นในช่วงชีวิตของเด็กมัธยมต้นและมัธยมปลาย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากชีวิตช่วงชั้นประถมอย่างมาก เด็กมัธยมต้องเรียนหนักขึ้น มีเพื่อนมากขึ้นและมีกิจกรรมมากมายที่ต้องทำทั้งที่โรงเรียนและในกลุ่มเพื่อน การกำกับตนเองจึงเป็นปัญหาและเป็นโจทย์ท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันสำหรับวัยรุ่นที่เริ่มมีเพื่อนจำนวนมากและมีงานมากมายที่ต้องทำตามที่ครูมอบหมาย รวมทั้งกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียน           ในช่วงชีวิตของวัยรุ่น ที่ทักษะสมองส่วนหน้ายังไม่สมบูรณ์เท่ากับระดับของทักษะสมองส่วนหน้าในสมองของผู้ใหญ่ แต่ทักษะสมองส่วนหน้าในวัยรุ่นก็ถูกท้าทายและใช้บ่อยไม่น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ วัยรุ่นต้องอาศัยการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายบริบท เพื่อจัดการการเรียนในโรงเรียนและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งงานเหล่านั้นมีลักษณะเป็นนามธรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าช่วงชั้นประถมอย่างยิ่ง  ข้อแนะนำดังต่อไปนี้...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 3) กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็ก 7-12 ปี

กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็ก 7-12 ปี พ่อแม่ทุกคนต้องการเห็นว่า เมื่อส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียน ลูกจะสามารถเรียนหนังสือได้ดีที่สุดเท่าที่ลูกทำได้ ส่วนมากสิ่งที่โรงเรียนและพ่อแม่ รวมทั้งรัฐบาลที่มีความรู้ไม่พอ พยายามทำคือ เร่งสอนหนังสือและเลขให้เด็กเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่งานวิจัยใหม่ๆ พบว่า การเร่งอ่านเขียนและคิดเลขให้เป็นตั้งแต่เด็กยังเล็กเกิน อาจจะไม่ใช่ทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้ลูกๆ และเด็กๆ ของเราประสบความสำเร็จในการเรียนหนังสือ การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) ตั้งแต่ยังเป็นเด็กปฐมต่างหากที่จะช่วยให้เด็กมีความสามารถวางแผน แก้ปัญหา และควบคุมตนเองจนเป็นนิสัย...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 2) กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็กวัย 5-7 ปี

กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็กวัย 5-7 ปี เด็กวัย 5-7 ขวบมีพัฒนาการทางร่างกายที่ยืดสูงขึ้น เหมือนผู้ใหญ่ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ว่องไว วิ่งและทรงตัวได้ดี สามารถยืนขาเดียวได้อย่างมั่นใจ เมื่อควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น เด็กในวัยนี้จึงชอบกระโดดโลดเต้น  ชอบความท้าทายโดยเฉพาะทางร่างกาย ภาษาที่ดีขึ้นมาก ในทางสติปัญญาเด็กเริ่มเข้าใจเหตุผลเชิงรูปธรรม (Concrete operation) เช่น เข้าใจเรื่องความคงอยู่ (Conservation) ของน้ำหนัก ปริมาตร...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 1) กิจกรรมส่งเสริมทักษะ EF ง่ายๆ สำหรับเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ

กิจกรรมส่งเสริมทักษะ EF ง่ายๆ สำหรับเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3-5 ปี ซึ่งเป็นในวัยอนุบาลนั้น ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ มีความสามารถในการกำกับควบคุมตนเองได้ดีขึ้นอย่างมาก ทั้งในทางร่างกายและการกระทำเมื่อเทียบกับช่วงวัยที่เพิ่งผ่านมา เด็กในช่วงวัย 3-4 ขวบต้องการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ และระเบียบวิธีในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงเป็นเวลาที่สำคัญซึ่งครูอนุบาล พ่อแม่และผู้ปกครองต้องคอยแนะ สร้างโอกาสให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เมื่อเข้าสู่วัย...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #9 พัฒนาสมรรถนะที่โลกในอนาคตข้างหน้าต้องการ ด้วย “จุดแข็ง” ที่มีอยู่

พัฒนาสมรรถนะที่โลกในอนาคตข้างหน้าต้องการ ด้วย “จุดแข็ง” ที่มีอยู่ โลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทอดยาวอยู่ข้างหน้าเป็นศตวรรษของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ เป็นยุคที่ข่าวสารความรู้ล้นทะลัก มีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดของผู้คนในทุกมิติทางสังคม เศรษฐานะ วัฒนธรรม รสนิยม และความคิดเห็นทางการเมือง มีการค้าขาย เดินทางข้ามพรมแดน  เกิดอาชีพใหม่ๆ พร้อมการตายจากของอาชีพที่อาศัยทักษะของโลกเก่า ไปจนถึงระบบการเงินแบบใหม่ที่ท้าทายและอยู่นอกกรอบของระบบการเงินที่มีอยู่ มีการแบ่งขั้ว มีความขัดแย้งทางความคิด ผลประโยชน์และอำนาจ ในขณะเดียวกับที่การเผชิญปัญหาท้าทายทางด้านสิ่งแวดล้อมต้องการความร่วมมือของคนทั้งโลก โลกที่หมุนเร็วขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย สร้างความผันผวน...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #9 การเลี้ยงดูบนฐานการส่งเสริมและพัฒนา “จุดแข็ง” กับความเครียดของเด็ก

การเลี้ยงดูบนฐานการส่งเสริมและพัฒนา “จุดแข็ง” กับความเครียดของเด็ก ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิต ที่แสดงพฤติกรรมต่อสิ่งเร้าที่คุกคามความอยู่ดีมีสุขเป็นปกติ ความเครียดมักเกิดจากความต้องการกับทรัพยากรที่มีอยู่ไม่สมดุลกัน คนที่เครียดนั้นเกิดจากความรับรู้ว่า ตนไม่สามารถรับมือกับความต้องการหรือความคาดหวังที่ถูกวางไว้ได้ดีเพียงพอ ความเครียดส่งผลต่อระบบของร่างกายและการทำงานของสมอง โดยเฉพาะเด็กที่ประสบกับความเครียดเรื้อรังนั้นแขนงของเซลล์ประสาทหดสั้นลง คล้ายรากของต้นไม้ที่เหี่ยวแห้งลงจากขาดน้ำ ส่งผลต่อการเรียนรู้และสติปัญญา แต่ยิ่งไปกว่านั้น ความเครียด ความเจ็บปวดทางกายและใจที่เด็กได้รับจะส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพทั้งทางกายและสุขภาพทางใจไปจนตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความเครียดในเด็ก กลับพบว่าเด็กมีอัตราความเครียดที่สูงมากขึ้นทุกปี จากการที่ชีวิตของเด็กในสมัยนี้ ต้องเผชิญกับความคาดหวังและความกดดันเพิ่มมากขึ้นกว่าต้นทุนหรือความสามารถที่ตนมี  ในปี 2010 จากการสำรวจความเครียดในอเมริกา (APA, 2010) เด็กถึง...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #8 เป็น “โค้ช” ที่ยอดเยี่ยมของลูก! ไม่ยากเลย

เป็น “โค้ช” ที่ยอดเยี่ยมของลูก! ไม่ยากเลย “จุดแข็ง” ตามหลักจิตวิทยา หมายถึง ความสามารถที่แสดงถึงประสิทธิภาพที่สามารถสังเกตได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ จุดแข็งทางความสามารถหรือที่เรียกกันว่า พรสวรรค์  และ จุดแข็งด้านลักษณะนิสัยที่แสดงออกมาเป็นบุคลิกภาพ ความสามารถหรือสิ่งที่เรียกว่า “พรสวรรค์” ที่ติดตัวมานั้น เช่น ความสามารถด้านดนตรี ศิลปะ คณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา ฯลฯ...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #7 การพัฒนา “จุดแข็ง”ในลูกวัยรุ่น

การพัฒนา “จุดแข็ง”ในลูกวัยรุ่น ความรู้ทางประสาทวิทยาทำให้เรารู้ว่า สมองของวัยรุ่นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปอย่างมากจากตอนที่เป็นเด็ก นักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองของวัยรุ่นนั้น มีการตัดแต่ง (Pruning) ด้วยตัวเองตามธรรมชาติ ในช่วงอายุราว 9-15  ปีโดยประมาณ สมองส่วนที่ไม่ได้ใช้ หรือที่เคยใช้แล้วไม่ได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมจะหดหายไป การศึกษาเกี่ยวกับสมองวัยรุ่นในปี 2544 ของ E.R. Sorrell ยืนยันข้อเท็จจริงที่ว่า จำนวนเซลล์สมองในช่วงวัยรุ่นของคนนั้นมีจำนวนลดน้อยลงกว่าช่วงที่เป็นเด็ก โดยกระบวนการตัดแต่งนี้จะดำเนินต่อไปตลอดเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ การที่สมองตัดแต่งส่วนที่ไม่ได้ใช้ออกไป เป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ความชำนาญเฉพาะด้าน จากการที่วงจรประสาทส่วนที่แข็งแรงได้ใช้บ่อย จะยิ่งเชื่อมต่อ...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...