สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

ปรารถนา หาญเมธี

112 โพสต์0 ความคิดเห็น

อย่าพัฒนา EF เด็กในห้องทดลอง ต้องฝึกในบริบทจริง

อย่าหวังพัฒนา EF แบบสำเร็จรูป อย่าพัฒนา EF เด็กในห้องทดลอง ต้องฝึกในบริบทจริง สมองอยู่ในศีรษะของมนุษย์เรามาตลอด ช่วยให้มนุษยชาติพัฒนาอารยธรรมมาหลายพันปี แต่เราเพิ่งมารู้จักธรรมชาติของสมองกันไม่นานนี้เอง ที่สำคัญและน่าทึ่งที่สุดก็คือทักษะสมอง EF - Executive Functions นี่เอง มันเป็นความสามารถที่สุดยอดที่สุดของเราเมื่อเทียบกับบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  เพราะ EF ช่วยให้เรากำกับความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของเราได้อย่างมีสติรู้ตัว เพื่อให้เราไปถึงจุดหมายที่เราต้องการ ไม่ใช่แค่กับเป้าหมายใหญ่ของชีวิต แต่เราใช้ EF กับเป้าหมายทุกอย่างแม้เล็กๆน้อยๆ...

อย่างน้อยมันก็ไม่ใช่ยาเสพติดนะแม่

เด็กอาฟริกันอเมริกันวัย 8 ขวบคนหนึ่ง เห็นไมเคิล จอร์แดน แข่งฟุตบอลทางโทรทัศน์ ภาพที่จอร์แดนกระโดดชู้ตลูกลงห่วงแล้วได้คะแนนนำจนทำให้ทีมชนะนั้น ติดตาตรึงใจ แต่ไม่ใช่ท่วงท่าหรือแรงบันดาลใจว่าอยากเป็นนักบาสฝีมือฉกาจ หากเป็น “รองเท้า”ที่จอร์แดนสวมใส่ เด็กน้อยขอตังค์แม่ซื้อ ข้อต่อรองจากแม่คือคะแนนเรียนต้องได้เอ เพราะแม่เป็นครู นั่นทำให้เขาตั้งใจเรียนสุดๆ เพื่อจะได้เป็นเจ้าของรองเท้าแบบที่จอร์แดนสวมใส่ในภาพนั้น ช่วงเป็นวัยรุ่นที่มักหมกมุ่นคลั่งไคล้แฟชั่น เขาเอาวาดแต่รูปรองเท้า สะสมแต่รองเท้า ถึงขนาดตอนอายุสิบห้าเริ่มทำงานพาร์ทไทม์ในร้านรองเท้า เพื่อจะได้แกะดูชิ้นส่วนรองเท้าที่มีตำหนิ ที่ลูกค้าคืนมา ได้ลองออกแบบรองเท้าบนกระดาษให้เพื่อน และได้ซื้อรองเท้าก่อนคนอื่นในราคาลดเฉพาะพนักงาน จนบางทีแม่ถึงกับถามว่า...

พลังของความหวัง (Pygmalion Effect)

ปรากฏการณ์ ‘ความคาดหวังสร้างความจริง’ (Self-fulfilling Prophecy) เมื่อความเชื่อเป็นพลังทำให้เราลงมือทำตามความเชื่อนั้นจนเกิดเป็นความจริงขึ้นมา มีความเป็นมาจากตำนานกรีกที่กล่าวถึง พีกมาเลี่ยน (Pygmalion) ซึ่งเป็นปฏิมากรที่หลงรักรูปปั้นหญิงสาวของตนเองมาก จนปฏิบัติต่อรูปปั้นเช่นคนคนๆ หนึ่ง ความรักและความหวังอย่างเหลือล้นทำให้พีกมาเลี่ยนไปอธิษฐานขอพรจากเทพวีนัสให้รูปปั้นนั้นมีชีวิต และได้รับคำพรสมปรารถนา รูปปั้นเกิดมีเลือดเนื้อและลมหายใจกลายเป็นหญิงสาว และพิกมาเลี่ยนได้แต่งงานกับหญิงสาวสมปรารถนา ปรากฏการณ์ ‘ความคาดหวังสร้างความจริง’ (Self-fulfilling Prophecy) หรือ Pygmalion Effect คือปรากฎการณ์ที่ความคาดหวังหรือการปักใจเชื่อในสิ่งใด จะนำไปสู่การกระทำที่ผลักดันให้ความคิดหรือความคาดหวังนั้นเป็นจริงขึ้นมา เหมือนคำพูดที่ว่า...

“รู้ตน” ช่วยวัยรุ่น EF ดี

กระบวนการทำงานของสมองซับซ้อน และอาศัยการเชื่อมประสานกันระหว่างสมองหลายส่วนที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ในขณะที่สมองบริเวณท้ายทอยกำกับการทำงานระบบพื้นฐานของร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร การสืบพันธุ์ อุณหภูมิรวมทั้งการทรงตัวของร่างกาย สมองส่วนกลางทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำและอารมณ์ สมองส่วนหน้าทำหน้าที่ขั้นสูงสุด คือการคิดและบริหารจัดการชีวิต (Executive Function: EF) ซึ่งมีทักษะต่างๆที่ทำงานร่วมกันและเชื่อมโยงการทำงานกับสมองส่วนอื่น ในการกำกับอารมณ์ ความคิด การกระทำ เพื่อไปบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คนที่มีทักษะสมองส่วนหน้าหรือทักษะEF ดี จะเป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับผู้อื่นเป็น...

ผมมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

ภาพครอบครัวคนชั้นกลางที่ดูอบอุ่นมั่นคง มีชีวิตตามครรลอง มีลูกชายกำลังจะเข้าวัยรุ่น เรียบร้อย เรียนดี อยู่ในมาตรฐานที่ดีของสังคม  เพราะมีพ่อแม่ ดูแล กำกับ เอาใจใส่ ใกล้ชิด อบรมสั่งสอน จัดการให้แต่ละย่างก้าวของลูกไปสู่ความสำเร็จ เพื่อไปประกอบอาชีพที่ได้เงินดี มีความมั่นคง และเป็นที่ยอมรับในสังคม           แต่ภาพถัดๆ มา..กลับไม่เป็นไปตามหวัง ในความทรงจำของลูก คือฉากที่พ่อแม่คุยกันถึงอนาคตการทำงานของลูก พ่ออยากให้รับราชการ แม่อยากให้เป็นวิศวกร ลูกชายคนเดียวเป็นหน่อของความหวังของพ่อแม่ที่ปลูกไว้ในใจลูกมาตั้งแต่เล็ก กับคำที่พ่อปลูกฝังเสมอว่าต้องเป็น “คนดี”...

วัยรุ่น: ติดจอ ออนไลน์ ร้ายและดี

เมื่อมือถือและสื่อออนไลน์ได้กลายเป็นปัจจัยจำเป็นต่อชีวิตในปัจจุบัน จำนวนประชากรมากกว่าครึ่งโลกใช้สื่อออนไลน์ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน สภาวะ New Normal จากสถานการณ์โควิด ยิ่งทำให้คนทุกวัยมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ เมื่อก้าวขึ้นมาเป็นวัยรุ่น ก็มีมือถือกันทุกคน เฮนรี เจนคินส์ (Henry Jenkins) จากสถาบันการสื่อสารสำหรับวัยรุ่นแห่งแอนเนนเบิร์ก มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การที่วัยรุ่นเล่นเกมออนไลน์ ใช้เฟซบุ๊ก และทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์แบบ Interactive นั้น วัยรุ่นไม่ได้เป็นเพียงเป็นผู้เสพสื่อ แต่กำลังสั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้วิธีการผลิตและแบ่งปันความรู้ในโลกยุคใหม่ (ทั้งนี้ สมาคมกุมารแพทย์...

วัยรุ่นติดเบรก

วัยรุ่นติดเบรก ทักษะสมอง EF: ยับยั่งชั่งใจ ในการเติบโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่นนั้น สมองส่วนกลาง (Limbic System) ซึ่งทำงานร่วมกันในการรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ พฤติกรรม ความทรงจำ การตอบสนองต่อการได้รับรางวัลและการถูกลงโทษ จะสมบูรณ์เต็มที่แล้วตั้งแต่อายุราว 13  ปี  แต่สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนการคิดชั้นสูง มีทักษะพื้นฐาน การจำเพื่อใช้งาน การยับยั้งชั่งใจ และการยืดหยุ่นความคิด รวมทั้งทักษะการกำกับตนเอง และทักษะปฏิบัติยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุประมาณ 25-26...

ความผูกพันในสมองวัยรุ่น

ปัจจุบัน วิทยาการทางการแพทย์ได้เห็นความเชื่อมโยงของความผูกพันในครอบครัว ที่ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อวัยรุ่นคนหนึ่ง ทั้งในเรื่องพฤติกรรมและสุขภาพทั้งทางด้านใจและกาย ในงานวิจัยของไทย วัยรุ่นซึ่งมีปัญหาเชิงพฤติกรรมหรือมีปัญหาทางจิตมีความเกี่ยวพันกับปัญหาครอบครัว ตั้งแต่ พ่อแม่แยกกันอยู่ ตายจากกัน รวมทั้งไม่มีความรักใคร่ผูกพันในครอบครัว อีกทั้งสังคมไทยมีสภาพต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ครอบครัวเดี่ยวและมีขนาดเล็กลง อัตราหย่าร้างมีสูงขึ้น ความรู้สึกผูกพัน (Attachment) เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่รับรู้ถึงความเอาใจใส่ของผู้ดูแลหลักในปฐมวัยซึ่งส่วนใหญ่คือแม่ รู้สึกว่าตนเป็นที่รักและได้รับการยอมรับ เป็นสุข รู้สึกดีต่อตนเองและผู้อื่น ทารกคนหนึ่งจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนเลี้ยงหลักอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อเรียนรู้ และเกิดพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ โดยเฉพาะเรียนรู้ในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง  ความผูกพันแน่นแฟ้นของครอบครัวจึงส่งผลต่อความมั่นคงทางอารมณ์และสติปัญญา โดยองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความผูกพันไว้ใจ...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...