สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก การควบคุมอารมณ์ตนเอง

Tag: การควบคุมอารมณ์ตนเอง

วิธีช่วยเด็กให้มีอารมณ์มั่นคง

ก่อนจะคาดหวังให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ควรแนะนำให้เด็กได้รู้จักอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาในสถานการณ์ต่างๆ เสียก่อน เช่นอารมณ์โกรธ เศร้า เสียใจ มีความสุข ฯลฯ เพราะความสามารถในการควบคุมตนเองเริ่มจากการทำความรู้จักอารมณ์ที่ทั้งบวกและลบ และรู้ตัวว่ากำลังรู้สึกอย่างไร การที่เด็กเล็กๆ ยังไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองเป็นเรื่องปกติธรรมดา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเด็กยังไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเอง ก่อนจะคาดหวังให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ คุณครูควรหาวิธีแนะนำให้เด็กได้รู้จักอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาในสถานการณ์ต่างๆ เสียก่อน เพราะความสามารถในการควบคุมตนเองเริ่มจากการทำความรู้จักอารมณ์ที่หลากหลายทั้งบวกและลบ และรู้ตัวว่ากำลังรู้สึกอย่างไรนั่นเอง วิธีการก็คือให้เด็กเล่าว่าเมื่อไรที่เขาเศร้า เมื่อไรที่มีความสุขแล้วให้เด็กลองแสดงท่าทางที่เป็นอารมณ์เหล่านั้น เพื่อให้เขารับรู้เรียนรู้ และคุณครูต้องเท่าทันอารมณ์ของเด็กด้วย สังเกตรู้ว่าเด็กอยู่ในอารมณ์ใด แล้วช่วยจัดการคลี่คลาย...

วิธีช่วยเด็กจัดการกับอารมณ์

ไม่ว่าทางบ้าน ครอบครัวของเด็กจะมีสภาวะอารมณ์อย่างไร เมื่อเด็กมาโรงเรียนแล้วเจอคุณครูที่มีสภาวะอารมณ์คงที่ จะทำให้เด็กลดความไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ หรือสภาวะขุ่นมัวในจิตใจไปได้ เมื่อเด็กเข้าในโรงเรียนแล้ว คุณครูจะเป็นผู้มีบทบาทดูแลเด็กในทุกๆ ด้านรวมทั้งด้านอารมณ์ความรู้สึกด้วย อย่างแรกครูจะต้องเป็นต้นแบบที่ดีในการควบคุมอารมณ์ตนเอง ไม่ว่าทางบ้าน ครอบครัวของเด็กจะมีสภาวะอารมณ์อย่างไร เมื่อเด็กมาโรงเรียนแล้วเจอคุณครูที่มีสภาวะอารมณ์คงที่ จะทำให้เด็กลดความไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ หรือสภาวะขุ่นมัวในจิตใจไปได้ การโอบกอด รอยยิ้ม การทักทายของคุณครู ก็จะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและไว้วางใจที่จะเล่าความไม่สบายใจต่างๆ ให้ฟังที่สำคัญคุณครูต้องยอมรับอารมณ์ต่างๆ ของเด็ก เช่น เมื่อเด็กโกรธ คุณครูต้องชวนเด็กหาวิธีจัดการกับอารมณ์ ถ้าเด็กมีความคิดที่จะไปทำร้ายคนอื่นคืน คุณครูก็ควรถามให้เด็กหาทางเลือกอื่น......

ลูกเล็กฝึกให้ควบคุมอารมณ์ได้แล้วจริงหรือ?

การควบคุมอารมณ์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเด็กรู้จักยับยั้ง (Inhibit) รู้จักหยุดคิดและควบคุมการกระทำของตัวเอง ทักษะสำคัญอีกอันที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมอารมณ์ ก็คือการคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนความคิดได้ ไม่ยึดติดความคิดเดิม เมื่อเด็กถูกเพื่อนแกล้งให้เจ็บ หากเด็กไม่มีทักษะการควบคุมอารมณ์ ก็จะตีเพื่อนกลับไปทันที แต่ถ้าเด็กมีการควบคุมอารมณ์ที่ดีจะใช้ทักษะการยับยั้งตนเองไม่ให้โต้ตอบกลับไปแบบเดียวกัน การหยุด (ยับยั้ง)ได้ เป็นขั้นตอนอันดับแรกของการควบคุมอารมณ์ หากขาดทักษะด้านการยับยั้ง (Inhibit) แล้วการควบคุมอารมณ์ก็จะเกิดได้ยาก เมื่อเด็กหยุดและควบคุมตัวเองได้แล้ว ทักษะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมอารมณ์ คือ การคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนความคิดได้ไม่ยึดติดความคิดเดิม แทนที่จะครุ่นคิดถึงสิ่งที่ทำให้โกรธก็เปลี่ยนไปคิดในแง่อื่นการหยุดได้จะช่วยให้อารมณ์โกรธเย็นลง คลายลงและค่อยๆ คิดหาหนทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าในระยะยาว ทักษะด้านการยับยั้ง (Inhibit)...

วิธีฝึกเด็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์

เด็กที่รู้จักควบคุมอารมณ์จะกำกับควบคุมตนเองได้ดี จะส่งผลดีในระยะยาว มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในด้านการเรียน การทำงาน รวมทั้งมีชีวิตคู่ที่ราบรื่น มีสุขภาพกายและใจที่ดีในวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อย่าละเลยที่จะฝึกลูกเล็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองในสถานการณ์ต่างๆ เด็กที่รู้จักควบคุมอารมณ์จะกำกับควบคุมตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้านได้ดีกว่าดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่าละเลยที่จะฝึกลูกเล็กให้รู้จักควบคุมตนเองในสถานการณ์ต่างๆเมื่อลูกหงุดหงิดด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยควรปลอบใจและช่วยให้ลูกทำสำเร็จด้วยตัวเอง แล้วอย่าลืมชมเชย สอนให้ลูกเข้าใจว่าคนเราสามารถแสดงอารมณ์โกรธ หงุดหงิดได้แต่เพียงการแสดงออกนั้นไม่ช่วยแก้ปัญหา วิธีที่ถูกคือหาทางแก้ปัญหาให้ตรงจุดต่างหาก หากลูกผิดหวังเสียใจ ให้ลูกเล่าว่าเขารู้สึกอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ปลอบใจลูกและแสดงให้เขาเห็นว่าเราเข้าใจความรู้สึกนั้นและอธิบายให้ลูกรู้ว่าความรู้สึกอย่างนี้เดี๋ยวมันจะค่อยๆ หายไป ชวนให้เขาปรับอารมณ์สู่ภาวะปกติ อย่าปล่อยให้ลูกโกรธ ผิดหวัง เสียใจนานเกินไป เพราะไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาสมอง คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกอดทนต่อสิ่งล่อใจ พยายามจดจ่อกับงานจนเสร็จ...

วิธีช่วยลูกจัดการกับอารมณ์

ยามที่ลูกโมโห โกรธ อาละวาด ร้องไห้เสียใจ งอแง คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ที่จะช่วยลูกจัดการกับอารมณ์เหล่านั้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีสภาวะอารมณ์คงที่ มีความหนักแน่น จะช่วยให้ลูกลดความไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ หรือสภาวะขุ่นมัวในจิตใจไปได้ ยามที่ลูกโมโห โกรธ อาละวาด ร้องไห้เสียใจ งอแงคุณพ่อคุณแม่ต้องตระหนักว่า เรามีหน้าที่ช่วยลูกจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีสภาวะอารมณ์มั่นคงหนักแน่น จะช่วยให้ลูกลดความไม่สบายใจในเรื่องต่างๆไปได้ง่ายการโอบกอดจะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและไว้วางใจที่จะเล่าความไม่สบายใจต่างให้ฟังที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับอารมณ์ต่างๆของลูก “แม่เข้าใจว่าลูกโกรธ” แล้วค่อยชวนลูกหาวิธีจัดการกับอารมณ์ต่างๆ “แต่เราจะไม่ขว้างของ ลูกอาจจะเดินออกไปก็ได้นะ” ถ้าลูกมีอาการโกรธจัดและคิดจะไปทำร้ายผู้อื่นคืน คุณพ่อคุณแม่ต้องชวนคุย ถามว่าเรามีทางเลือกอื่นอะไรไหม ที่จะแก้ปัญหาโดยไม่ไปทำร้ายใครถ้าลูกให้คำตอบไม่ได้...

พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล

เมื่อดูพัฒนาการตามวัยของเด็กวัยอนุบาลแล้ว เราจะพบว่าเด็กเล็กมีพัฒนาการทางอารมณ์ รู้จักอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ และสามารถควบคุมอารมณ์ได้บ้างแล้ว ลองดูว่าลูกมีพัฒนาการดังนี้หรือไม่ ช่วงวัย 3 ขวบ บอกว่ารักพ่อแม่ คนใกล้ชิดได้ แสดงความดีใจ พอใจ เมื่อทำอะไรสำเร็จ ควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อเจอเรื่องที่ไม่ได้ดังใจ ไม่อาละวาดโวยวาย เข้าไปในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เช่น ไปตัดผม ไปหาหมอ ฯลฯ ก็ไม่ถึงกับกลัว เมื่อผู้ใหญ่ปลอบประโลมก็หยุดหรือสงบสติอารมณ์ลงได้บ้าง แบ่งปันการเล่นกับเพื่อนได้ ช่วงวัย 4ขวบ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...