สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก ความคิดสร้างสรรค์

Tag: ความคิดสร้างสรรค์

“ความจำกัด”สร้างความคิดยืดหยุ่นสู่ความคิดสร้างสรรค์

การกระตุ้นให้เด็กคิดยืดหยุ่นจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจเรื่องนี้จากกิจกรรมในชั้นเรียน “ข้อจำกัด” เป็นสิ่งเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางความคิดอันนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ได้ เช่น ในกิจกรรมประดิษฐ์ของจากวัสดุเหลือใช้ หากวัสดุที่จัดเตรียมไว้ไม่ครบ แทนที่คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูจะไปจัดการจัดหามาให้ ถ้าถามกลับว่า “จะใช้อะไรทดแทนได้ไหม”จะพบว่า เด็กจะพยายามคิดหาสิ่งทดแทน โดยใช้ความจำจากที่เคยทำแล้วนำมาคิดใหม่ ค้นหาทางใหม่ๆ การให้โอกาสพัฒนาความคิดยืดหยุ่นของเด็กบนข้อจำกัดเช่นนี้ จะเป็นการฝึกที่ได้ผล เราอาจพบว่า สิ่งที่เด็กหามาทดแทนนั้นน่าทึ่ง คาดไม่ถึง เมื่อฝึกบ่อยๆ เด็กจะไม่รู้สึกว่านั่นคือการขาดแคลน แต่กลับเป็นความท้าทายที่น่าลุ้น และเมื่อเขาทำได้ดีก็จะเกิดเป็นความภาคภูมิใจในตนเอง “เด็กได้ใช้ความจำจากการเคยทำเคยมีประสบการณ์ แล้วเอามาปรับใช้ โดยคุณครู พ่อแม่ให้โอกาสเด็กได้ใช้ความคิดของตัวเอง โยนคำถามกระตุ้น...

“กิจกรรมวิเคราะห์ภาพถ่าย” : คำถามปลายเปิดที่ฝึกความคิดยืดหยุ่น

คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะกระตุ้นเด็กให้ดึงความจำ (Working Memory) ออกมาใช้ แล้วคิดยืดหยุ่นดัดแปลงแก้ปัญหาผู้ใหญ่ที่เข้าไปช่วยเด็กในทุกเรื่อง เด็กก็จะขาดโอกาสได้ใช้ความคิดยืดหยุ่น คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือสำคัญมากที่จะสร้างโอกาสให้ลูกได้ใช้ความคิดของตัวเอง โดยดึงความจำ (Working Memory) ออกมาใช้ แล้วนำมาใช้ดัดแปลง ยืดหยุ่น คุณครูก้า (อ.กรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัย) เสนอแนะว่า กิจกรรมวิเคราะห์ถ่ายภาพ ทำได้ง่ายๆ โดยเลือกภาพมาให้เด็กดู แล้วตั้งคำถามจากรูปภาพให้เด็กคิด วิเคราะห์ เช่น ”หนูคิดว่า...

กรอบกติกาที่ฝึกเด็กให้ใช้ความคิดยืดหยุ่น

การตั้งกรอบ การตั้งโจทย์ที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้พยายามใช้ความคิดยืดหยุ่นหาทาง วิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกรอบกติกาหรือโจทย์ที่ผู้ใหญ่ตั้งไว้การให้อิสระทางคิดแก่เด็กจะทำให้เด็กมีความคิดนอกกรอบ คิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์ได้ดี แต่ใช่ว่าผู้ใหญ่ เช่น คุณพ่อคุณแม่ คุณครู จะไม่ต้องมีการสร้างกรอบกติกาให้เด็กปฏิบัติตามเสียทีเดียว ในทางตรงข้ามการตั้งกรอบ การตั้งโจทย์ที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้พยายามใช้ความคิดยืดหยุ่นหาทาง วิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกรอบกติกาหรือโจทย์ที่ผู้ใหญ่ตั้งไว้ ลองดูตัวอย่างกิจกรรมของโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่เด็กจะต้องใช้ความคิดพลิกแพลงให้เข้ากับกติกาที่คุณครูตั้งไว้ ในชั่วโมงศิลปะ คุณครูให้เด็กทำกิจกรรมตัดปะกระดาษสีอย่างอิสระ คุณครูมีโจทย์กำหนดไว้ว่าให้เด็กเลือกกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีใดก็ได้ที่ชอบเพียง 1 ชิ้น แล้วจะตัดหรือฉีกหรือทำอะไรก็ได้ให้กระดาษเปลี่ยนเป็นรูปร่างอื่นเช่นเด็กอนุบาล 3 คนหนึ่งเล่านิทานเกี่ยวกับ Perfect Square...

ทำไมเราต้องฝึกยืดหยุ่นความคิดมันสำคัญต่อชีวิตอย่างไร?

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าลูกเรา”หัวสี่เหลี่ยม” ไม่รู้จักการยืดหยุ่นพลิกแพลง การยืดหยุ่นความคิด (Shifting/Cognitive Flexibility) เป็น 'ทักษะสมอง' EF ที่ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนจุดสนใจ เปลี่ยนโฟกัสหรือเปลี่ยนทิศทางไปตามที่ตนต้องการ หรือไปตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยน คนที่สมองไม่มีทักษะยืดหยุ่น มักมีปัญหาในเรื่องการปรับตัว ทุกข์ง่าย อึดอัดคับข้องเพราะติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ เรื่องเดิมๆ พลิกแพลงไม่เป็น คิดว่าโลกนี้มีทางออกแค่ทางเดียว ถ้าจะเปรียบ Shift/Cognitive Flexibility หรือการยืดหยุ่นความคิด ก็เสมือนการ “เปลี่ยนเกียร์” เวลาที่ขับรถ เราขับมาด้วยความเร็ว...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...