สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก จุดแข็ง

Tag: จุดแข็ง

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #6 จะสอนเด็กให้รู้เรื่อง “จุดแข็ง” ของตนเอย่างไร

จะสอนเด็กให้รู้เรื่อง “จุดแข็ง” ของตนเอย่างไร เด็กทุกคนที่เกิดมามี “จุดแข็ง” อันหมายถึงความสามารถหรือคุณลักษณะโดดเด่นเฉพาะตน อีกทั้งมีสิ่งท้าทายที่ต้องเผชิญและฝ่าข้ามไปในการพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จและชีวิตที่ดีกว่า การช่วยให้ลูกๆ หรือเด็กที่ดูแลอยู่ให้รู้ว่าตนมี “ดี” อะไร ช่วยให้เด็กๆตระหนักถึงตัวตนของตนเอง (Self-Awareness) มีความเชื่อมั่นและตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง (Self-Esteem) “จุดแข็ง” ของคนนั้นสามารถแสดงออกได้เป็นคุณภาพได้หลากหลายแบบ “จุดแข็ง” ในบางเรื่องเป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิตที่ต้องการประสบความสำเร็จ “จุดแข็ง” ในบางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆในการจัดการหรือดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กวัยรุ่นมีความสุขขึ้นเมื่อใช้เวลาจดจ่อกับ “จุดแข็ง” มากกว่าการใช้เวลากับการทำให้ “จุดอ่อน”...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #5 หา “จุดแข็ง”ของลูกให้เจอ แล้วลงมือพัฒนา

หา “จุดแข็ง”ของลูกให้เจอ แล้วลงมือพัฒนา เด็กคนหนึ่ง อาจจะเติบโตขึ้นไปเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นครูที่ยอดเยี่ยม เป็นวิศกรที่เก่งกาจ หรือเป็นนักเล่นตลกที่เป็นขวัญใจคนทั้งประเทศ หรือเป็นใครก็ได้ที่มีความสุขกับการทำงานที่ตนถนัด ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนเลือก ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เห็นคุณค่าและภูมิใจของสิ่งที่ตนทำ สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ คือ การสังเกตการเล่นของเด็ก และสังเกตว่า “จุดแข็ง”ที่เด็กแสดงออกนั้นคืออะไร แล้วสนับสนุนฐานทุนที่เด็กมี ก็จะช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นมาด้วยการรู้ “จุดแข็ง” ของตนทั้งที่เป็น “จุดแข็ง” ทางด้านบุคลิกภาพ  ความสามารถ...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #4 เมื่อลูก “ยัง” ทำไม่ได้

เมื่อลูก “ยัง” ทำไม่ได้ จากวิวัฒนาการที่ผ่านมานับแสนๆ ปี ธรรมชาติของสมองมนุษย์มักจะพุ่งความสนใจไปที่ข้อบกพร่อง และด้านลบของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต จากพื้นฐานหน้าที่หลักของสมองที่ทำงานเพื่อให้มีชีวิตอยู่ให้รอดปลอดภัยเป็นพื้นฐาน มนุษย์ในสมัยนี้มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ปลอดภัยที่สุดในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ ที่ผ่านมนุษย์ไม่ได้มีชีวิตที่สุขสบาย ไม่ได้ปลอดภัยจากการถูกข่มเหงจากคนด้วยกัน จากสัตว์ร้าย และภัยธรรมชาติ และการคุกคามอื่นๆเท่ากับทุกวันนี้ สมองของมนุษย์จึงถูกโปรแกรมให้น้ำหนักความสนใจไปที่ภยันอันตราย เหตุร้าย และภัยคุกคามชีวิต แม้ว่าการคาดการณ์ในแง่ลบเป็น “อคติ” ที่ทำให้เราสนใจแต่ปัญหาในสภาพแวดล้อมมากกว่าการคาดการณ์ในแง่ดี แต่การระแวดระวังก็ช่วยให้มนุษย์เอาตัวรอดในโลกที่ผ่านมาและมีวิวัฒนาการมาจนทุกวันนี้           การมองสิ่งต่างๆในแง่ลบจึงเป็นเหมือนดีเอ็นเอที่ส่งต่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในตัวตนของมนุษย์เรา ในวัฒนธรรมของชาติต่างๆ เราจึงพบเห็นได้ทั่วไปว่า การเลี้ยงดูอบรม...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #2 ฝึกสมองให้แข็งแรงได้เหมือนฝึกกล้ามเนื้อ

ฝึกสมองให้แข็งแรงได้เหมือนฝึกกล้ามเนื้อ สมองสามารถฝึกฝนให้แข็งแกร่งได้ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายเป็นการฝึกฝนให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การฝึกฝนเล็กน้อยอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ สามารถทำให้วงจรประสาทในเรื่องนั้นๆ ภายในสมองของเราแข็งแรงขึ้นมาได้ ในปี พ.ศ. 2549 M. Oaten และ K. Cheng ได้ทำการทดลองโดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง รับคำสั่งให้นั่งหน้าคอมพิวเตอร์และจดจ่อไปที่สี่เหลี่ยมจตุรัสสีซึ่งเคลื่อนที่ ย้ายไปมาผ่านหน้าจอ โดยในระหว่างที่ผู้เข้าร่วมจ้องจตุรัสสีที่กำหนด มีภาพสเก็ตตลกๆ แทรกเข้ามา เพื่อทดสอบระดับความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้เข้าร่วมแต่ละคน ว่ายังคงจดจ่อกับรูปจตุรัสที่กำหนดมาได้แค่ไหน ผลการทดลองพบว่า ผู้เข้าร่วมสามารถจดจ่อภาพจตุรัสที่กำหนดไว้ได้ดีขึ้นทีละเล็กทีละน้อยในแต่ละครั้งที่ทำการทดสอบ การทดลองนี้ได้แสดงให้เห็นว่า...

สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม “จุดแข็ง” ของลูก

สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม “จุดแข็ง” ของลูก เด็กทุกคนมีพัฒนาการที่สังเกตเห็นได้ เมื่อเด็กมีอายุราว 2-3 ขวบ พ่อแม่ผู้ปกครองและครู จะเริ่มมองเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น หรือมี “จุดแข็ง” เฉพาะตัวในเรื่องใดบ้าง เช่น เป็นเด็กที่จับจังหวะได้ดี ร้องเพลงถูกทำนอง ชอบตัวเลข ชอบเล่นของที่เป็นกลไก เข้ากับผู้อื่นง่าย ช่างพูด หรือมีบุคลิกที่สุขุม เอาใจใส่ผู้อื่น ฯลฯ แม้แต่เด็กที่เป็นฝาแฝดกันก็มี “จุดแข็ง”ที่แตกต่างกันไป อะไรทำให้เด็กแต่ละคนมีความเฉพาะตัว...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...