สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Ef

Tag: ef

เกมฝึกสมาธิจดจ่อ ควบคุมกำกับตนเอง

กิจกรรมสร้างเสริมทักษะความสามารถด้านการมีสมาธิจดจ่อ การกำกับควบคุมตัวเอง กิจกรรมสร้างเสริมให้เด็กเรียนรู้ได้ดี มีสมาธิจดจ่อ กำกับควบคุมตัวเองให้ตั้งใจฟัง อ่าน เขียนและทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ ลองนำไปใช้กัน เช่น การเล่านิทาน / อ่านหนังสือ เด็กได้ฝึกการตั้งใจฟัง คิดตามเรื่องราว เก็บข้อมูลไว้ในความทรงจำ ถ้าครูให้เด็กเล่าย้อนกลับบ้าง ตั้งคำถามชวนเกมนักสืบ เช่น “พ่อกำลังสืบหาอะไรสักอย่างในห้องนี้ ที่เป็นสีน้ำตาล...” “แม่กำลังสืบหาอะไรสักอย่างบนถนนนี้ที่มีสองล้อ..อยู่ไหนนะ”เกมค้นหาอะไรเอ่ย เช่น “สัตว์อะไรเอ่ยที่มีชื่อออกเสียงคล้าย”หมู”....”ผักผลไม้อะไรบ้างที่มีสีเหลือง”เกมต่อจิ๊กซอว์ หาจิ๊กซอว์มาให้ลูกต่อ เริ่มจากง่ายแล้วค่อยยากขึ้นทีละน้อยเกมเก้าอี้ดนตรี...

เล่นเกมพัฒนาความคิดยืดหยุ่น

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (Nanyang Technological University-NTU) ชี้ว่า ผู้ใหญ่ที่เล่นเกม “Cut the Rope” สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ทำให้ EF ดีขึ้น เช่นเดียวกับเด็กที่เล่นเกมนี้ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (Nanyang Technological University -NTU) ชี้ว่า ผู้ใหญ่ที่เล่นเกม “Cut...

วางกรอบให้เด็กมากไป เด็กจะไม่รู้จักกำกับสั่งการตัวเอง

งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีอิสระในการคิดเอง ทำกิจกรรมเองจะเติบโตเป็นคนที่เรียนรู้ได้ดี มีอนาคตดีกว่าเด็กที่ผู้ใหญ่วางกรอบปฏิบัติให้ทุกอย่างจากผลการศึกษาของนักจิตวิทยามหาวิทยาลัยโคโลราโดและมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ ที่ศึกษาตารางของเด็กอายุ 6 ขวบจำนวน 70 คน พบว่า หากเด็กต้องรับผิดชอบการตัดสินในด้วยตัวเองในกิจกรรมที่ครูวางกรอบปฏิบัติน้อย เด็กจะเรียนรู้ได้มากกว่าและมีการพัฒนา EF ในด้านการกำกับสั่งการตนเองได้ดีกว่า เด็กที่ครูวางกรอบปฏิบัติทั้งหมด ที่ใช้ในการกำกับสั่งการตนเอง พัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงวัยเด็กเล็ก รวมถึงกระบวนการคิดที่ช่วยให้บรรลุสู่เป้าหมาย เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การหยิบใช้ข้อมูล การปรับเปลี่ยนงาน...

จากโรงเรียนสู่บ้าน ช่วยกันพัฒนา EF ให้เด็ก

โรงเรียนและบ้าน คุณครูและผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน จึงจะพัฒนา EF ได้ผลดี ทุกเช้าคุณครูตรวจเช็คว่าการบ้านเรียบร้อยไหม พ่อแม่เซ็นสมุดหรือไม่คุณครูเขียนตารางเรียนของวันนี้ไว้บนกระดานให้เห็นชัดๆ และอ่านให้เด็กๆ ฟังว่าวันนี้เราจะทำอะไรกันบ้างคุณครูให้เด็กๆ จัดวางอุปกรณ์การเรียนไว้เป็นที่ทาง คอยเตือนให้บนโต๊ะสะอาดไม่มีของเกะกะใช้สีช่วยในการแบ่งแยกอุปกรณ์ สมุดวิชาต่างๆ เพื่อให้เด็กจำได้ง่ายคุณครูคอยเตือนก่อนถึงเวลา เช่น อีก 10 นาทีเราจะทำอะไร....แล้วเมื่อถึงเวลา ให้เด็กๆ ช่วยกันนับ 1-5 เพื่อให้ทุกคนเตรียมความพร้อมและตั้งใจเริ่มต้นหรือกิจกรรมต่างๆ พร้อมกันให้เด็กทำรายการกิจกรรมประจำวันติดไว้ที่โต๊ะ และเมื่อทำกิจกรรมแล้วก็เช็ครายการนั้นออกให้เด็กเปลี่ยนอิริยาบถหรือเคลื่อนไหวได้ ไม่ใช่นั่งที่เดิมตลอดเวลาให้เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซ้ำๆ...

การแสดงละครบทบาทสมมุติกับการกำกับควบคุมตนเอง

งานวิจัยที่พบว่า การแสดงละครบทบาทสมมุติ มีผลต่อการพัฒนาการกำกับควบคุมตนเอง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กที่มีปัญหาขาดความยั้งคิด หรือเด็กที่กำกับควบคุมตนเองไม่ค่อยได้ จากงานวิจัยพบว่า การแสดงละครบทบาทสมมุติ (Complex Socio-Dramatic Play) มีผลต่อการพัฒนาการกำกับควบคุมตนเองและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กที่มีปัญหาขาดความยั้งคิดนักวิจัยยังพบว่า การเล่นละครนอกจากให้ผลในเรื่องการกำกับควบคุมตนเองแล้วยังส่งผลดีด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ช่วยพัฒนาความจำ เพราะในขณะแสดงบทไปตามเรื่องราวของละคร เด็กจะค้นพบว่ามีการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความหมายทำให้พวกเขาจดจำได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าการเล่นละครของเด็กๆต้องใช้ EF ทุกด้านอย่างฉับพลันทันที นอกจากต้องจำบทบาทของตนเองได้ (Working Memory) ยังต้องจำบทบาทของคนอื่นได้ด้วย...

ช่วยเด็กสร้างการกำกับควบคุมตนเองและทักษะการวางเป้าหมาย

วิธีการที่จะช่วยสร้างเสริมความสามารถในการกำกับควบคุมตนเองและการวางแผนของเด็ก วิธีการที่จะช่วยสร้างเสริมความสามารถในการกำกับควบคุมตนเองและการวางแผนของเด็ก ให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้นำไปปรับใช้ได้ดังต่อไปนี้ สร้างสัญลักษณ์ที่จะช่วยเตือนใจเด็ก เช่น เสียงเพลงที่ดังขึ้น หมายความว่า เขาต้องเริ่มลงมือทำการบ้านได้แล้ว เป็นต้นให้เด็กพูดทบทวน เตือนใจตัวเองฝึกเด็กให้รางวัลตนเอง เช่น ถ้าทำการบ้านเสร็จแล้วได้ออกไปวิ่งเล่น ถ้าตั้งใจทำงานชิ้นนี้ เดี๋ยวจะได้กินไอศกรีมชวนเด็กวางแผนพัฒนา EF ด้านที่อ่อนแอ ว่าจะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร แล้วร่วมมือกันติดตามงานของเด็ก เพื่อประคับประคองไม่ให้เบี่ยงเบนออกนอกเส้นทางที่วางไว้ฝึกให้เด็กใช้บอร์ดสำหรับติดบันทึก ตารางแผนงานหรือบันทึกในสมุดบันทึกจนเป็นนิสัยวิธีการเหล่านี้หากทำสม่ำเสมอ เด็กจะรู้จักควบคุมตนเองให้ทำงานจนสำเร็จลุล่วง รู้จักวางแผน จัดระบบการทำงานของตนเอง เป็นการสร้าง EF...

บ้าน-โรงเรียนร่วมด้วยช่วยกันฝึกการควบคุมให้เด็ก

การพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ให้เด็ก มีหลายสิ่งที่พ่อแม่และคุณครูต้องทำความเข้าใจร่วมกัน จึงจะแก้ปัญหาอารมณ์ให้เด็กได้ และสามารถสร้างเสริมทักษะในการควบคุมอารมณ์ให้เด็กได้ การพัฒนาลูกให้มีทักษะในการควบคุมอารมณ์ พ่อแม่และคุณครูต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ดังต่อไปนี้บ้านและโรงเรียนต้องมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางหรือกระบวนการที่จะควบคุมอารมณ์ให้เด็ก รวมทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ถึงข้อตกลงนี้ด้วยความรักของพ่อแม่และครู จะช่วยสร้างการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ผู้ใหญ่ต้องใจเย็นและมีวิธีการโน้มน้าวจูงใจเด็กใช้กิจกรรมต่างๆ เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กไปจากเรื่องที่ทำให้เกิดอารมณ์โกรธ หรือเสียใจ ฯลฯนำนิทานมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กต้องมีความสม่ำเสมอต่อเนื่องการจัดการให้เด็กได้สงบจิตใจ มีสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆ จะช่วยให้เด็กปรับอารมณ์ได้ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูต้องตั้งสติ หนักแน่น ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ของเด็ก ความรักของพ่อแม่และครู จะช่วยปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สร้างการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้

พ่อแม่และคุณครูคือ “นั่งร้าน” ของเด็ก

ในการพัฒนาเด็ก พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันในการพัฒนาเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กเปรียบเสมือน“นั่งร้าน”ที่จะทำให้อาคารก่อร่างสร้างตัว พ่อแม่ก็คือสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูก พ่อแม่จะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้ก่อน โดยสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคมสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันครูในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดูแลเด็กวัย 3-6 ปีก็เปรียบ "นั่งร้าน" ที่มีความสำคัญอย่างมากเป็นผู้ทีจะต้องฝึกฝนคุณลักษณะความสามารถ EF ทั้ง 9 ด้านในชีวิตประจำวันของเด็กและในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...