สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Ef

Tag: ef

สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกห่างไกลสิ่งเสพติด

งานวิจัยชี้ว่าสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ทำหน้าที่ยับยั้งการเข้าหายาเสพติดโดยควบคุมความคิดและการกระทำ (Cognitive Control) ยับยั้งไม่ให้ตอบสนองออกไปตามความต้องการ รู้จักคิดว่าสิ่งไหนไม่ดี ยับยั้งไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี การที่คนเราจะติดสิ่งเสพติดต่างๆ ไม่ว่า เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ติดเกม ฯลฯ เป็นเพราะไม่สามารถต้านทานสิ่งเร้านั้นๆ ไม่สามารถยับยั้งความอยาก ความต้องการที่จะทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ได้ ทั้งๆ ที่ทุกคนรู้ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี ทำไมบางคนถึงห้ามใจไม่ลองไม่แตะได้ และทำไมบางคนถึงหักห้ามใจไม่ได้ รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล...

กฎ กติกา มารยาทสังคม ช่วยให้เด็กมีความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น

วิธีการใช้กฎ กติกา มารยาทสังคม ช่วยปลูกฝังความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ การรู้จักอดทนอดกลั้น รอคอยเพื่อทำสิ่งที่เหมาะสมให้เด็กเล็กที่ยังไม่เข้าใจเรื่องเหตุผลการจะฝึกลูกเล็กให้รู้จักยับยั้งชั่งใจเป็นเรื่องยากทีเดียว ลองดูวิธีฝึกเด็กเล็กๆ วัยอนุบาลให้มีความยับยั้งชั่งใจของคุณครูโรงเรียนเพลินพัฒนากันช่วงเวลาอาหารกลางวัน คุณครูนำเด็กๆ อนุบาลไปที่ห้องอาหาร ที่โต๊ะรับประทานอาหารคุณครูจะจัดถาดอาหาร วางช้อนไว้ให้ เมื่อเด็กนั่งประจำที่โต๊ะ ก็จะมีเด็กบางคนที่ยั้งใจไม่อยู่ ตักขนมกินก่อน คุณครูแก้ปัญหาด้วยการไม่วางช้อนไว้ให้ แต่จะเรียกเด็กทีละโต๊ะมาหยิบช้อนไป โดยตั้งกฎว่าคนที่ได้ช้อนแล้วอย่าเพิ่งลงมือรับประทาน ต้องรอให้เพื่อนได้ช้อนครบทุกคนก่อน ยิ่งกว่านั้นก่อนจะลงมือรับประทาน ต้องมีพิธีพิจารณาอาหารก่อนแล้วจึงรับประทานอาหารพร้อมกัน หากใครได้ช้อนมาแล้วไม่ฟังเสียงทำผิดกฎ ลงมือกินก่อนคนอื่น...

กรอบกติกาที่ฝึกเด็กให้ใช้ความคิดยืดหยุ่น

การตั้งกรอบ การตั้งโจทย์ที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้พยายามใช้ความคิดยืดหยุ่นหาทาง วิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกรอบกติกาหรือโจทย์ที่ผู้ใหญ่ตั้งไว้การให้อิสระทางคิดแก่เด็กจะทำให้เด็กมีความคิดนอกกรอบ คิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์ได้ดี แต่ใช่ว่าผู้ใหญ่ เช่น คุณพ่อคุณแม่ คุณครู จะไม่ต้องมีการสร้างกรอบกติกาให้เด็กปฏิบัติตามเสียทีเดียว ในทางตรงข้ามการตั้งกรอบ การตั้งโจทย์ที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้พยายามใช้ความคิดยืดหยุ่นหาทาง วิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกรอบกติกาหรือโจทย์ที่ผู้ใหญ่ตั้งไว้ ลองดูตัวอย่างกิจกรรมของโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่เด็กจะต้องใช้ความคิดพลิกแพลงให้เข้ากับกติกาที่คุณครูตั้งไว้ ในชั่วโมงศิลปะ คุณครูให้เด็กทำกิจกรรมตัดปะกระดาษสีอย่างอิสระ คุณครูมีโจทย์กำหนดไว้ว่าให้เด็กเลือกกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีใดก็ได้ที่ชอบเพียง 1 ชิ้น แล้วจะตัดหรือฉีกหรือทำอะไรก็ได้ให้กระดาษเปลี่ยนเป็นรูปร่างอื่นเช่นเด็กอนุบาล 3 คนหนึ่งเล่านิทานเกี่ยวกับ Perfect Square...

เข้าใจธรรมชาติของลูกเพื่อฝึกความยับยั้งชั่งใจ

พลังความอยากกับการยับยั้งชั่งใจมันคู่กัน ถ้าเด็กมีพลังอยากมากแล้วเราไปหยุดเขาเสียหมด บางทีอีกมุมหนึ่งอาจไปทำลายความอยากของเด็ก โอกาสที่เด็กจะ explore ทำสิ่งที่หลากหลายอย่างอิสระเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่ขอบเขตก็จำเป็น ครูก้าหรือคุณครูกรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัย ได้กล่าวว่า ”ก่อนจะฝึกเด็กวัยอนุบาลให้รู้จักมีความยับยั้งชั่งใจ เราต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กวัยนี้เสียก่อน...” “ก่อนที่เราจะใช้สถานการณ์หรือโอกาสฝึกฝนเด็กจนกระทั่งเด็กคุ้นเคยกับการยับยั้งชั่งใจเข้าไปอยู่ในเนื้อตัวเขาโดยไม่ต้องคอยกำกับภายหลัง เราต้องเริ่มจากรู้จักธรรมชาติของเด็กเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็กๆ ชอบการเคลื่อนไหว ชอบเสียงเพลง เพราะฉะนั้นเราก็ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวกับเสียงเพลงทำได้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ เลย “ที่โรงเรียนจิตตเมตต์ใช้กิจกรรมประเภทนี้ตั้งแต่ชั้นเนิร์สเซอรี่ พอเด็กได้ยินเสียงเพลงเราก็ชวนเขาเล่น เคลื่อนไหว พอเสียงเพลงหยุดปั๊บ เราก็หยุด การวิ่งการเดินเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กถึงแม้จะยังอยู่ในวัยเตาะแตะ...

ฝึกลูกให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำให้สำเร็จ

เราสามารถฝึกเด็กให้รู้จักวางแผน ตั้งเป้าหมาย ลงมือทำจนสำเร็จ ได้ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ เราสามารถฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนสำเร็จได้ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ เช่นปล่อยให้เด็กมีการเล่นอิสระ (Free Play) เด็กจะตั้งเป้าหมายของเขาเอง การทำงานศิลปะอย่างอิสระ คุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่อาจมีตะกร้าของที่ไม่ใช้แล้วไว้ให้เด็กนำไปคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดยืดหยุ่นพลิกแพลงและเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จจากการลงมือคิด ทำด้วยตัวเองนั้นพอโตขึ้นอีกหน่อย เด็กจะสามารถขยายการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกันกับเพื่อน แล้วขยายเป็นการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกลุ่มกับเพื่อนทั้งห้องได้ ครูก้าหรือคุณครูกรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัยได้ให้คำแนะนำว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานที่เด็กมีอิสระทางความคิด แต่อยู่ในกรอบของความเหมาะสม เช่นกติกาการเก็บของ ความปลอดภัย ผู้ใหญ่ต้องไม่แทรกแซงในการคิด วางแผน การลงมือทำของเด็ก...

ข้อควรรู้ที่สำคัญในการพัฒนาทักษะ EF

การศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กด้วยวิธีการต่างๆ 6 แบบ ได้แก่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเกมต่างๆ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ศิลปะการต่อสู้ การฝึกสมาธิ และวิธีการมอนเตสซอรี พบประเด็นสำคัญในการพัฒนาทักษะ EF หลายประการ จากการศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กของ Dr.Adele Diamonds และ Kathleen Lee ด้วยวิธีการต่างๆ 6...

ขั้นตอนพัฒนาการ EF ในเด็กเล็กแต่ละวัย

ขั้นตอนพัฒนาการ EF ของเด็กแต่ละช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนโตเป็นผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่สามารถมองเห็นทักษะความสามารถ EF ในตัวลูกที่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างขึ้นทีละน้อยตามวัยของเด็กตามที่นักวิชาการศึกษา Joyce Cooper-Kahn และ Laurie Dietzel แนะนำไว้ดังนี้ 0-2 ปี ทารกและเด็กเล็กก่อนเข้าโรงเรียน เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า “อยู่กับปัจจุบันขณะ” (“live in the moment”) ต้องการการตอบสนองในทันที เด็ก 1...

ปฐมวัย วัยทองของการพัฒนาทักษะ EF

ในช่วงปฐมวัย(แรกเกิด-6 ปี)เป็นวัยทองของการพัฒนาทักษะ EF ที่พ่อแม่และครูอนุบาลจะต้องช่วยเด็กในวัยนี้ให้พัฒนาทักษะ EF เพื่อให้เด็กมีความพร้อมกับการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป “มีงานวิจัยจากการประเมินผลของโครงการ Chicago School Readiness ชี้ว่า ทักษะ EF ของเด็กที่พัฒนาในช่วงวัยอนุบาล สามารถทำนายถึงความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านในเวลาอีก 3 ปีต่อมา ยิ่งไปกว่านั้น ทักษะ EF ยังแสดงถึงความพร้อมในการเข้าเรียนได้ดีกว่าการวัด IQ ของเด็ก ทักษะ EFในเด็ก ไม่ว่าการมีสมาธิจดจ่อในงานที่ผู้ใหญ่มอบหมายให้...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...