สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Ef

Tag: ef

พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน

หลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยเราพูดกันมาก ถึงการเตรียมความพร้อมเด็กไทยสู่โลกศตวรรษที่ 21 ด้วยสถานการณ์ทุกแง่มุมในปัจจุบันต่างชี้ไปในทิศทางที่บอกเราว่าโลกข้างหน้านั้น “อยู่ยาก” ท้าทาย อัดแน่นไปด้วยข้อมูลมหาศาล หากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความรู้หาได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส คนรู้มากที่สุดจะไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดอีกต่อไปความพยายามในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กไทยก็พูด และแก้กันอย่างหนักมาโดยตลอด แต่สภาวะความเป็นจริงของเด็กไทยวันนี้ก็ยังสาหัส นี่ยังไม่นับประเด็นที่ประเทศไทยเรานั้นกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบในปี 2573 เด็กไทยของเราที่จะเติบโตเป็นพลเมืองรุ่นใหม่จะต้องแบกรับภาระหนักกว่าคนรุ่นพ่อแม่เป็นเท่าตัว ประเทศไทยวันนี้จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาเด็กๆของเรา เพื่อสร้าง “คนคุณภาพ” ที่ไม่ใช่แค่ผู้มีความรู้มากเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้มีทักษะความคิด ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเอง ไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแสสังคมที่คงจะเชี่ยวกรากกว่าทุกวันนี้ไปให้ได้ดาวน์โหลดเอกสาร คลิก

ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ :Executive Functions = EF

คนที่ “คิดเป็น ทำงำนเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหำเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และหำควำมสุขเป็น” คือเป้าหมายของระบบการศึกษาและการสร้างพลเมืองของทุกสังคม ใช่หรือไม่ ? และคนแบบนี้ ย่อมประสบความสาเร็จในการเรียน ชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว หรือในการทางานประกอบอาชีพด้วย ใช่หรือไม่ ในชีวิตจริง พวกเราล้วนมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า คนที่ประสบความสาเร็จมักจะมีคุณลักษณะเหล่านี้... - คิดมีเหตุมีผล เป็นระบบ คิดวิเคราะห์ได้ เมื่อต้องตัดสินใจก็มีหลักคิด มีการพิจารณาไตร่ตรองดี - ทำงานเป็น...

ใช้ศิลปะพัฒนาความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์

วิธีใช้กิจกรรมงานศิลปะพัฒนาความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์ให้ลูกวัยอนุบาล ก่อนอื่น คุณครูต้องเข้าใจพัฒนาการด้านการทำงานศิลปะของเด็กด้วยว่า วัยใดทำอะไรได้แล้ว ดังนี้ ช่วงวัย 3 ขวบ สามารถละเลงหรือระบายสี วาดรูป หรือปั้นตามจินตนาการ ช่วงวัย 4 ขวบ ละเลงหรือระบายสี วาดรูป หรือปั้นตามจินตนาการ และเล่า อธิบายสิ่งที่ทำได้ สามารถให้ความเห็นเมื่อดูงานศิลปะของคนอื่นได้ บอกหรือชี้ได้ว่าสีใดอ่อน สีใดเข้มประดิษฐ์สิ่งของหรือของเล่นตามจินตนาการของตัวเองได้ โดยใช้วัสดุใกล้ตัว ช่วงวัย 5 ขวบ สามารถบอกชื่อรูปทรง รูปร่าง...

ทักษะ EF กำกับจริยธรรม คุณธรรมในสังคม

เรื่องของการมีคุณธรรม จริยธรรมนั้น เกี่ยวข้องกับความสามารถในการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งความต้องการของคนเรา กำกับให้เราปฏิบัติตามบรรทัดฐานสังคม ไม่ละเมิด ดร.รัสเซล เอ บาร์กเลย์ (Russell A. Barkley) นักจิตวิทยาคลินิกชี้ว่า การมีคุณธรรม จริยธรรมนั้น เกี่ยวข้องกับความสามารถในการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) ไตร่ตรองความต้องการ และคอยกำกับให้เราปฏิบัติตามบรรทัดฐานสังคม ไม่ละเมิดกฎหมาย นึกถึงใจเขาใจเรา และช่วยให้รู้ผิดรู้ถูก ดร.บาร์คลีย์ ชี้ว่า การที่คนเราจะครองตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามได้นั้น...

ใช้ดนตรีพัฒนาความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์

วิธีการใช้เสียงเพลง ดนตรี การเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความจำ (Working Memory) และความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์ให้ลูก มนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติที่รักเสียงดนตรี การเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรีก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกเชื้อชาติวัฒนธรรมตลอดมา ช่วงวัย 3 ขวบ เด็กจะร้องเพลงได้บางเพลงง่ายๆ ร้องกับคนอื่นได้ เล่นเครื่องเคาะจังหวะง่ายๆ ได้ ทำเสียงดนตรีตามจินตนาการได้ เต้นหรือทำท่าทางตามจังหวะได้ ช่วงวัย 4 ขวบ บอกความแตกต่างของจังหวะเพลงอย่างง่ายๆ ได้ เช่น ช้าหรือเร็ว ร้องเพลงกับกลุ่มได้สอดคล้องพร้อมเพรียงกันมากขึ้น ช่วงวัย 5...

พัฒนาการของ EF ในช่วงประถมและมัธยม

เมื่อขึ้นวัยประถมปลาย เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น ทำสิ่งต่างๆได้มากขึ้นคุณพ่อคุณแม่จะเห็นว่า เขาสามารถเรียนรู้การวางแผน จัดการและติดตามงาน ทำงานได้นานขึ้น เรียนรู้วินัยได้ดีขึ้น เช่น จัดโต๊ะ สมุดทำงานหรือตู้หนังสือเป็นระเบียบ แม้จะต้องมีการเตือนกันบ้างก็ตาม 11-12 ปี เด็กส่วนใหญ่ควรสามารถจัดการกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยต่อยอด EF ในเรื่องการยับยั้งชั่งใจ รู้เรื่องกติกามารยาทมากขึ้น เริ่มวางแผน ตั้งเป้า ทำงานตามแผนและจัดการเวลาเป็น จัดลำดับความสำคัญของงานที่ซับซ้อนขึ้นได้ ช่วงวัยนี้เด็กส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจได้ว่าพฤติกรรมของตนเองแบบไหนสมควรหรือไม่ รวมทั้งประเมินงานได้ เช่น...

อาร์แอลจี เร่งขับเคลื่อน EF : Executive Functions พัฒนาทักษะสมองเด็กปฐมวัย

กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) จัดงานประชุมวิชาการ RLG Symposium 2015 EF : Executive Functions ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ร่วมกับ 5 หน่วยงานหลัก คือ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ...

ข้อแนะนำที่พ่อแม่และครูควรใส่ใจ

ในการพัฒนาทักษะ EF มีข้อแนะนำที่พ่อแม่และครูควรใส่ใจ ดังต่อไปนี้ ในการพัฒนาทักษะ EF อาศัยความเข้าใจ บนสัมพันธภาพที่อบอุ่น มีความรักความเมตตา ความสม่ำเสมอของพ่อแม่ และครูเป็นพื้นฐาน พัฒนาทักษะ EF ให้ลูกสม่ำเสมอในกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ประเมินว่าลูกมี EF ในด้านใดบ้างเป็นจุดแข็ง ด้านใดบ้างเป็นจุดอ่อน ด้านที่เป็นจุดแข็งให้ส่งเสริมและชมเชย ด้านที่เป็นจุดอ่อนให้คอยปรับแก้ พัฒนาหรือเลือกกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา EF แต่ละด้านที่เหมาะสมกับลูก ค่อยๆ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...