สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Initiating

Tag: Initiating

วัยรุ่นติดเบรก

วัยรุ่นติดเบรก ทักษะสมอง EF: ยับยั่งชั่งใจ ในการเติบโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่นนั้น สมองส่วนกลาง (Limbic System) ซึ่งทำงานร่วมกันในการรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ พฤติกรรม ความทรงจำ การตอบสนองต่อการได้รับรางวัลและการถูกลงโทษ จะสมบูรณ์เต็มที่แล้วตั้งแต่อายุราว 13  ปี  แต่สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนการคิดชั้นสูง มีทักษะพื้นฐาน การจำเพื่อใช้งาน การยับยั้งชั่งใจ และการยืดหยุ่นความคิด รวมทั้งทักษะการกำกับตนเอง และทักษะปฏิบัติยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุประมาณ 25-26...

ฐานราก 3 มิติในการพัฒนาวัยรุ่น

วัยรุ่นคือช่วงสะพานของชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ ชีวิตช่วงวัยรุ่นเริ่มต้นที่อายุ 10-12 ปี สิ้นสุดประมาณ 21-25 ปี ชีวิตช่วงนี้เป็นชีวิตที่ชวนน่าสับสน เต็มไปด้วยความโกลาหล สุดเหวี่ยง ขณะเดียวกันก็มีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง เพราะเพิ่งพ้นจากความเป็นเด็กที่ไม่รู้ประสีประสานัก มาเป็นวัยที่มีความสามารถในการเข้าใจเรื่องยากๆที่เป็นนามธรรม ทำอะไรได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนได้มากเท่าผู้ใหญ่คนหนึ่ง ส่วนทางด้านร่างกายอยู่ๆ ก็พรวดพราดสูงปรี๊ดชั่วข้ามคืน ชวนให้สยองว่า หากไม่หยุดสูงจะเป็นอย่างไร การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นอย่างเด่นชัดทั้งวัยรุ่นหญิงและชาย หากยังจำกันได้ผู้ใหญ่ที่ผ่านการเป็นวัยรุ่น คงไม่ลืมความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะอารมณ์ที่ความรุนแรงกว่าปกติอย่างที่ไม่เข้าใจตนเองว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ จำเป็นต้องได้รับความเข้าใจ...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #2

เซลล์ประสาทและสารสื่อประสาท เซลล์ประสาทมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่; เซลล์สมอง (Cell Body)สายใยประสาทรับข้อมูล (Dendrite)สายใยประสาทส่งข้อมูล (Axon) ตรงปลายของเซลล์ประสาทมีช่องว่างเล็กๆระหว่างเซลล์ที่ถูกเรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) ที่ได้รับการค้นพบโดยนักพยาธิวิทยาชาวสเปน Santiago Ram’on y Cajal ในต้นศตวรรษที่ 21  ไซแนปส์มี ช่วงกว้างประมาณ 200-500 อังสตรอม หรือประมาณ 0.1 นาโนเมตร...

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #10

ไม่มีพ่อแม่คนไหนสมบูรณ์แบบ ความทรงจำในวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ในครอบครัว ความรู้สึกต่อพ่อแม่ที่เป็นอดีตอันเจ็บปวด ในวัยเด็ก หรือความสุขที่ได้รับจากความรักการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่  มักหล่อหลอมและเป็นรูปแบบความผูกพัน และวิธีการ ที่คนเป็นพ่อแม่นำไปปฏิบัติต่อลูกของตนต่อ  ดังที่ตนเคยได้รับประสบการณ์มาในอดีตมา รูปแบบความผูกพันที่ผู้ใหญ่มีกับพ่อแม่ของตน เป็นตัวทำนายที่ดีว่า พ่อแม่แต่ละคนจะมีสไตล์การสร้าง ความสัมพันธ์แบบใดแบบหนึ่งกับลูกของตน การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในอดีตของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง จะช่วยให้เราเข้าใจกระจ่างถึงพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ปฏิบัติต่อลูกได้   เนื่องจากโดยปกติมนุษย์เรียนรู้ ผ่าน “การ เลียนแบบ” มากกว่าการเรียนรู้แบบอื่น  การเลียนแบบเป็นการเรียนรู้ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาที่เรารับเข้ามาในตนเองโดยไม่รู้ตัว ผ่านการเห็น การ ได้ยิน การสัมผัส คนส่วนมากจึงมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ที่กระทำต่อตัวเอง...

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #9

เมื่อต้องส่งลูกเข้าสถานพัฒนาเด็ก การส่งเด็กเข้าสถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ของ จิตวิทยาพัฒนาการ การอภิปรายเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกตะวันตก เมื่อผู้หญิงเริ่มต่อสู้เพื่อ สิทธิในการทำงาน  ในสังคมเกษตรกรรมก่อนหน้านั้น ไม่มีความจำเป็นต้องมีสถานรับเลี้ยงเด็ก เนื่องจากผู้หญิงอยู่ ทำงานที่บ้าน ทำอาหารเลี้ยงครอบครัว ดูแลสัตว์เลี้ยง รวมทั้งเลี้ยงลูกๆ จนถึงยุคสังคมอุตสาหกรรมทำให้ผู้หญิง ต้องออกมาทำงานนอกบ้าน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเด็กไปอยู่ ในความดูแลของคนอื่น สถานรับเลี้ยงเด็กจึง เกิดขึ้นมากมาย เพื่อรองรับความจำเป็นและความต้องการดังกล่าว ในระยะแรกของการมีสถานรับเลี้ยงเด็กเกิดขึ้นในสังคมอุตสาหกรรม มีรายงานแสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็ก ต้องออกจากบ้านพร้อมพ่อแม่ที่เข้าไปทำงานในโรงงาน...

พ่อแม่และคุณครูคือ “นั่งร้าน” ของเด็ก

ในการพัฒนาเด็ก พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน ในการพัฒนาเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กเปรียบเสมือน“นั่งร้าน”ที่จะทำให้อาคารก่อร่างสร้างตัว พ่อแม่ก็คือสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูก พ่อแม่จะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้ก่อน โดย สร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน ครูในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดูแลเด็กวัย 3-6 ปีก็เปรียบ”นั่งร้าน”ที่มีความสำคัญอย่างมากเป็นผู้ที่จะต้องฝึกฝนคุณลักษณะความสามารถ EF ทั้ง 9 ด้าน ในชีวิตประจำวันของเด็กและในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดย สร้างกิจวัตรในชีวิตประจำวันที่โรงเรียน ให้รู้จักรอคอย เข้าคิว ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองและแสดงออกอย่างเหมาะสม ฝึกเข้าใจความรู้สึกของตนเอง...

ฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำให้สำเร็จ

เราสามารถฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนสำเร็จได้ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ เช่น ปล่อยให้เด็กมีการเล่นอิสระ (Free Play) เด็กจะตั้งเป้าหมายของเขาเอง เช่น ตั้งใจจะต่อตัวต่อเป็นปราสาท จะปีนต้นไม้ให้ถึงกิ่งนั้นกิ่งนี้ การทำงานศิลปะอย่างอิสระ คุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่อาจมีตะกร้าของที่ไม่ใช้แล้ว ไว้ให้เด็กได้นำไปคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดยืดหยุ่นพลิกแพลงด้วย และเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานสำเร็จ ก็จะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จจากการลงมือคิด ทำด้วยตัวเอง พอโตขึ้นอีกนิด เด็กจะสามารถขยายการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกันกับเพื่อน แล้วขยายเป็นการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกลุ่มกับเพื่อนทั้งห้อง เรื่องนี้ครูก้าหรือคุณครูกรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัยได้ให้คำแนะนำว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานที่เด็กมีอิสระทางความคิด แต่อยู่ในกรอบของความเหมาะสม เช่น กติกาการเก็บของ...

เด็กจะเป็นอย่างไรถ้าขาดทักษะ EF

เด็กที่ขาดทักษะ EF มักมีปัญหาพฤติกรรมและขาดทักษะในการบริหารจัดการชีวิต นักจิตวิทยาพัฒนาการ Prof.Dr.Philip David Zelazo ชี้ไว้ว่า “เด็กที่ขาดทักษะ EF มักมีปัญหาพฤติกรรมด้วย เช่น แม้ว่าเด็กจะมีจุดมุ่งหมาย แต่ถ้าไม่สามารถวางแผน ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถประเมินตัวเองได้ก็อาจจะนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ และไม่รู้ว่าจะจัดการกับผลที่ตามมาอย่างไร” จากคำอธิบายนี้ ทำให้เรามองเห็นว่า ในการทำให้จุดมุ่งหมายใดๆ สำเร็จได้นั้น ใช่ว่าเพียงมีเป้าหมายตั้งไว้แล้ว ทุกอย่างก็จะเดินหน้าไปได้เอง เพราะในการบวนการทำให้เสร็จบรรลุตามเป้าหมายนั้นต้องใช้ทักษะความสามารถอีกหลายอย่าง เช่น ต้องวางแผนว่า...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...