สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Working Memory

Tag: Working Memory

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 8 (ตอนที่ 2) : หลากหลายวิธี ฝึก EF ที่บ้านได้

หลากหลายวิธี ฝึก EF ที่บ้านได้ หากในชีวิตประจำวันเรากำลัง           ...ตั้งใจเรียนหรือทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เสร็จสำเร็จลง แม้ว่าเรื่องนั้นน่าเบื่อมาก           …พยายามไม่ใส่ใจเรื่องที่กวนใจหรือเรื่องที่เข้ามาแทรก แล้วรบกวนสิ่งที่เราต้องตั้งใจทำให้สำเร็จ           …มีข้อมูลจำนวนมากมายอยู่ในหัวที่ต้องจัดการและขบคิด ในเวลาเดียวกัน           …ระงับบังคับตัวเองไม่ให้พูดหรือทำสิ่งใดลงไป แล้วทำให้ตนเองเดือดร้อน           …จำต้องเปลี่ยนสิ่งที่กำลังทำอยู่ไปจากเดิม เนื่องจากสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากที่                 คาดคิด สถานการณ์ทั้งหมดดังได้กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของทุกคน ในขณะที่พฤติกรรมของเราแสดงออกไปตามที่กล่าวมา แทนที่จะเลิกทำหรือบ่นโวยวายเมื่องานน่าเบื่อกลับอดทนทำจนเสร็จเรียบร้อยดี ไม่มัวเสียเวลากับเรื่องกวนใจจนทำงานไม่ได้ แต่พยายามจดจ่อทำงานไม่ให้ผิดพลาด ไม่โพล่งพูดจาให้ตนเองหรือผู้อื่นเสียหาย ยั้งคิด ไตร่ตรอง...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 7) ออกกำลังกายแล้ว สมองดีมี EF?

ออกกำลังกายแล้ว สมองดีมี EF? “การออกกำลังกาย” เป็นยาแขนงวิเศษ ที่ไม่ต้องจ่ายเงินไปหาหมอ เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัด การออกกำลังกายเคลื่อนไหวไม่เพียงลดความเสี่ยงของโรคที่ไม่ติดต่อ ยังช่วยทำให้สมองมีประสิทธิภาพดี กิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมถึงนิสัยเกี่ยวกับสุขภาพมีส่วนสำคัญต่อคุณภาพสมองในวัยชราของเรา ในขณะเดียวกันทักษะการทำงานของสมองส่วนหน้าหรือ EF (Executive Function) ในทุกๆ วันที่เราดำเนินชีวิต ก็มีผลต่อพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพของเราในการกำกับตนเองเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย การเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ล จะสูบบุหรี่หรือใช้สิ่งเสพติดอย่างอื่นหรือไม่ หรือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตัวที่ส่งผลให้สุขภาพเสีย           ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 6) ทักษะอารมณ์และสังคมกับทักษะสมอง EF

ทักษะอารมณ์และสังคมกับทักษะสมอง EF พัฒนาการทางอารมณ์และการควบคุมอารมณ์เกี่ยวข้องกับทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) การพัฒนาทักษะอารมณ์และสังคมหมายถึง การมีทักษะสังเกตตนเอง การตระหนักรู้ถึงสภาวะอารมณ์ที่ตนเองเป็นอยู่ และการควบคุมตนเองมีความสำคัญในกระบวนการทำงานระดับสูงของสมอง ในขณะที่เรากำลังพยายามควบคุมพฤติกรรมของเรานั้นสมองส่วนหน้าตรงบริเวณหน้าผากกำลังทำงานอย่างหนักในการควบคุมแรงกระตุ้นภายใน การริเริ่มทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเองเห็นควร ตรวจสอบตนเอง รวมทั้งกำลังเรียนรู้จากประสบการณ์ที่กำลังเผชิญ ทักษะต่างๆ เหล่านี้เติบโตและพัฒนาตลอดวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ การทำงานของสมองส่วนอารมณ์กับสมองส่วนหน้าที่ไม่สมดุลจะสะท้อนออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เด็กวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการฝึกหัดทักษะสมองส่วนหน้า (EF) มาตั้งแต่ยังเล็กต่อเนื่องเพียงพอจะอดทนต่อสิ่งเร้าที่อยู่ตรงหน้าได้ยาก และทั้งนี้เนื่องจากสมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่คิดเหตุผลนั้น ยังไม่เติบโตเต็มที่จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนปลายถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น หรืออายุราวประมาณ 25 -...

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 3) กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็ก 7-12 ปี

กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็ก 7-12 ปี พ่อแม่ทุกคนต้องการเห็นว่า เมื่อส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียน ลูกจะสามารถเรียนหนังสือได้ดีที่สุดเท่าที่ลูกทำได้ ส่วนมากสิ่งที่โรงเรียนและพ่อแม่ รวมทั้งรัฐบาลที่มีความรู้ไม่พอ พยายามทำคือ เร่งสอนหนังสือและเลขให้เด็กเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่งานวิจัยใหม่ๆ พบว่า การเร่งอ่านเขียนและคิดเลขให้เป็นตั้งแต่เด็กยังเล็กเกิน อาจจะไม่ใช่ทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้ลูกๆ และเด็กๆ ของเราประสบความสำเร็จในการเรียนหนังสือ การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) ตั้งแต่ยังเป็นเด็กปฐมต่างหากที่จะช่วยให้เด็กมีความสามารถวางแผน แก้ปัญหา และควบคุมตนเองจนเป็นนิสัย...

ความรู้ชุด : Self-Esteem#5 Social Media กับ Self-Esteem

Social Media กับ Self-Esteem โซเชียลมีเดีย เปลี่ยนวิถีโลก สื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในวิถีโลกยุคใหม่ มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย กลายเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิต ทุกเช้าเราทุกคนตื่นขึ้นมาพร้อมกับกิจกรรมแรกคือ หยิบมือถือมาเช็คดูว่าโซเชียลมีเดียที่เราเกี่ยวข้องนั้น ใครกำลังพูดอะไรกัน ซึ่งในทางบวก มันช่วยในแง่ของการทำงานอาชีพ และการสื่อสารกับผู้คน มันไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมยามว่างอย่างที่เราเคยเข้าใจ โซเชียลมีเดียทำให้คนเข้ามาเชื่อมโยงกันและเกิดปฏิสัมพันธ์กันกว้างขวาง ช่วยให้เราขยายเครือข่ายของเรา มีโอกาสได้พบกับผู้คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และช่วยให้เราสามารถสื่อสารสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่เรารู้จักแล้วในชีวิตจริง ได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและถี่ขึ้น   กิจกรรมผ่านโซเชียลมีเดียเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงมนุษย์เข้าหากันมากยิ่งกว่ากิจกรรมใดๆ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แม้แต่ในช่วงล็อกดาวน์ของสถานการณ์โควิด...

บทที่ 9 ตอนที่ 9 : ลูกจะมีทักษะสมอง EF ดี พ่อแม่ต้องมีทักษะสมอง EF ดีด้วย

ลูกจะมีทักษะสมอง EF ดี พ่อแม่ต้องมีทักษะสมอง EF ดีด้วย ลูกจะมีทักษะสมอง EF ที่ดี พ่อแม่ต้องใช้หลักการวินัยเชิงบวก และพ่อแม่จะใช้วินัยเชิงบวกได้ดี พ่อแม่ก็ต้องมีทักษะสมอง EF ที่ดีด้วย ทักษะสมอง EF ด้านที่สำคัญที่สุดที่พ่อแม่ต้องมี คือ Cognitive Flexibility หรือทักษะคิดยืดหยุ่น เพราะพ่อแม่มักเคยชินกับการใช้คำว่า “ไม่” กับเด็ก ซึ่งไม่ใช่การสร้างวินัยเชิงบวก...

บทที่ 9 ตอนที่ 4 : เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้

เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้ อย่าละเลยที่จะสอนเด็กเล็กๆ ให้รู้จักอารมณ์ ทักษะอารมณ์เป็นทักษะที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของทักษะสังคม ส่งผลซึ่งกันและกัน แต่ผู้ใหญ่มักมองข้ามและไม่ได้ส่งเสริมเด็ก เพราะเข้าใจว่าจะเกิดขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เด็กอาจจะมีทักษะเอง แต่มีแบบไม่มีคุณภาพ ถ้าพิจารณาถึงพัฒนาการทางสมอง เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องทักษะทางอารมณ์ได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน เพราะฉะนั้นวิธีการเลี้ยงดูที่บอกว่า “ยังเด็กอยู่ ปล่อยไปก่อน” สวนทางกับพัฒนาการทางสังคม มีการศึกษาทดลองในห้องทดลองที่สหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าเด็กในวัย 8 เดือนเมื่อมีอารมณ์แล้วจะตามอารมณ์ตัวเองได้ทัน ยับยั้งได้ แล้วยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ จึงสอนภาษามือง่ายๆ ให้เด็ก เช่น...

ครู โรงเรียน กับ การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก

เด็กบางคนโชคร้ายไม่ได้รับโอกาสพัฒนา Self-Esteem จากพ่อแม่ในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิต ก็อาจมีโอกาสครั้งที่สองที่โรงเรียน นี่คือหลักการทั่วไปที่ควรคาดหวังได้  แต่ถ้าครูไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็อาจเป็นโชคร้ายที่ซ้ำสองของเด็กคนนั้น !!?? งานวิจัยมากมายยืนยันว่า ถ้าครูมีศรัทธาในเด็ก เชื่อว่าเด็กมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ และมุ่งมั่นที่จะแปรความรักความเมตตาของตน ให้กลายเป็นความเอาใจใส่ กำลังใจ ให้การกระตุ้นเชิงบวก ให้คำชี้แนะ ให้โอกาสฝึกฝนในสิ่งที่เด็กสนใจ ให้คำชมเชยที่กระบวนการ ครูก็จะมีอิทธิพลต่อชีวิตของเด็กอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถสร้างความเชื่อมั่น ให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเองเด็กได้ และนั่นคือการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตของเด็กอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ มีตัวอย่างมากมายของครูที่สร้าง Self-Esteem ให้แก่เด็ก เช่น...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...