สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ฝึกลูกให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำให้สำเร็จ

เราสามารถฝึกเด็กให้รู้จักวางแผน ตั้งเป้าหมาย ลงมือทำจนสำเร็จ ได้ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ เราสามารถฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนสำเร็จได้ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ เช่นปล่อยให้เด็กมีการเล่นอิสระ (Free Play) เด็กจะตั้งเป้าหมายของเขาเอง การทำงานศิลปะอย่างอิสระ คุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่อาจมีตะกร้าของที่ไม่ใช้แล้วไว้ให้เด็กนำไปคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดยืดหยุ่นพลิกแพลงและเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จจากการลงมือคิด ทำด้วยตัวเองนั้นพอโตขึ้นอีกหน่อย เด็กจะสามารถขยายการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกันกับเพื่อน แล้วขยายเป็นการตั้งเป้าหมายและทำงานร่วมกลุ่มกับเพื่อนทั้งห้องได้ ครูก้าหรือคุณครูกรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัยได้ให้คำแนะนำว่า
สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานที่เด็กมีอิสระทางความคิด แต่อยู่ในกรอบของความเหมาะสม เช่นกติกาการเก็บของ ความปลอดภัย ผู้ใหญ่ต้องไม่แทรกแซงในการคิด วางแผน การลงมือทำของเด็ก และในที่สุดเราต้องยอมรับผลงานของเด็ก ถ้าเราดูเด็กๆ เล่น ล้วนมีเป้าหมายทั้งนั้น เช่น หินมาตำใบไม้ เขามีเป้าหมายว่าจะทดลองทำอะไรสักอย่าง ทำให้เกิดความรู้ใหม่
หากเด็กลงมือทำแล้วไม่สำเร็จอาจจะไม่เกี่ยวกับการวางแผน แต่เกี่ยวกับความไม่พร้อมด้านกล้ามเนื้อมือ เช่น ตัดกล่องนมเป็นรูปนั้นรูปนี้ไม่ได้ ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยตัดให้ แสดงว่าที่จริงเด็กมีแผนมีเป้าหมายว่าจะทำอะไรเราไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กจะคิดไม่ได้
สำหรับบทบาทของผู้ใหญ่ต้องเป็นคนเอื้อ ให้โอกาส เรื่องสื่อวัสดุ สถานที่ ดูแลความปลอดภัย สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง เฝ้าสังเกต แล้วจะเห็นศักยภาพของเด็กแต่ละคนผู้ใหญ่ต้องมีทักษะในการสื่อสาร ในการพูดกระตุ้นเด็ก
ผู้ใหญ่ไม่ควรห้ามหากในการทำงานร่วมกันของเด็ก เด็กอาจจะเลียนแบบกัน ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้อยู่นิ่งๆ มีสมาธิ วางแผน ทำคนเดียว หากเรารีบให้เด็กมีประสบการณ์ทำร่วมกับเพื่อนเร็วเกินไป เด็กอาจจะไม่ชอบ
การพูดของผู้ใหญ่ต้องไม่ไปสกัดกั้นความคิดเด็ก ต้องมีจังหวะในการที่ลงไปแทรกแซง ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่ตั้งใจจะกระตุ้นเด็กแต่พูดในจังหวะที่ไม่เหมาะ เช่น ในขณะเด็กกำลังคิดอะไรอยู่ เด็กก็หันเหมาจากเป้าหมายมาที่ความต้องการของผู้ใหญ่แทน เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ต้องระมัดระวังในการลงไปมีปฏิสัมพันธ์กับการเล่นของเด็ก ไม่ใส่ความคิด ความคาดหวัง รวมทั้งต้องพยายามให้เด็กตั้งโจทย์ด้วยตัวเองด้วย ต้องรักษาสมดุลระหว่างโจทย์ที่เราจะตั้งให้เด็กกับให้โอกาสเด็กคิดโจทย์เอง ถ้าเด็กไม่ได้รับโอกาสตั้งโจทย์ตั้งเป้าหมายเอง ในที่สุดเด็กจะตั้งเป้าหมายไม่เป็น
การลงมือทำมีความสำคัญมากที่จะทำให้เด็กเกิดการต่อยอด พอทำได้สำเร็จแล้วก็อยากทำสิ่งที่ยากขึ้นไปอีก เป็นพลังท้าทายให้เด็กอยากทำโน่นทำนี่

การฝึกเด็กให้รู้จักตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนสำเร็จจะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานที่เด็กมีอิสระทางความคิด แต่อยู่ในกรอบของความเหมาะสม เช่นกติกาการเก็บของ ความปลอดภัย ผู้ใหญ่ต้องไม่แทรกแซงในการคิด วางแผน การลงมือทำของเด็ก และในที่สุดต้องยอมรับผลงานของเด็ก

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...