สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

ปรารถนา หาญเมธี

112 โพสต์0 ความคิดเห็น

สัมพันธภาพครู-เด็ก ต้องมาก่อนการเรียนการสอน

บทที่ 2 ตอนที่ 1 สัมพันธภาพครู-เด็ก ต้องมาก่อนการเรียนการสอน นักการศึกษาเชื่อว่า การเริ่มต้นเรียนรู้ใดๆ ก็ตามในเด็กวัย สัมพันธภาพ หรือ Relationshipระหว่างผู้สอนกับเด็ก ควรเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดเป็นอันดับแรก ไม่ใช่เฉพาะการสอนเด็กพิเศษเท่านั้นที่ต้องสร้าง Relationship ก่อน Relationship เป็นกุญแจ...

กระบวนการพัฒนาทักษะอารมณ์และสังคม (Social-Emotional Skills) ในเด็กปฐมวัย

กระบวนการพัฒนาทักษะอารมณ์และสังคม (Social-Emotional Skills) ในเด็กปฐมวัย เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปูรากฐานให้เด็กมีทักษะอารมณ์และสังคม การจะเกิดทักษะนี้ได้ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาความสามารถของเด็กหลายๆ ด้านด้วยกัน ได้แก่ พัฒนาการตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง(Self-awareness) พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง (Independence) พัฒนาการกำกับอารมณ์ตนเอง (Emotional regulation) พัฒนาความสัมพันธ์กับคนอื่น (Relation with others)...

ชีวิต New normal ระวังเด็กขาดทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น

ชีวิต New normal ระวังเด็กขาดทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น รศ.ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ จากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่มีการพัฒนาทางสังคมอ่อนแอแล้วถูกวิเคราะห์ว่าเป็นสมาธิสั้นหรือออทิสติคอ่อนๆ  ซึ่งเด็กออทิสติคแท้ๆ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของเด็กที่ไม่เข้าใจเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ และอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น ...

ทักษะอารมณ์และสังคม (Social-Emotional Skills)ทักษะจำเป็นยิ่ง สำหรับเด็กปฐมวัยในวิถี New Normal

ทักษะอารมณ์และสังคม (Social-Emotional Skills) ทักษะจำเป็นยิ่ง สำหรับเด็กปฐมวัยในวิถี New Normal สถานการณ์โควิด19 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวิถีชีวิตคนทั่วโลก เกิดความปกติรูปแบบใหม่ หรือ...

กิจกรรมสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะอารมณ์-สังคมให้เด็กในช่วงโควิด

กิจกรรมสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะอารมณ์-สังคมให้เด็กในช่วงโควิด เป็นที่ห่วงว่าสถานการณ์โควิดจะส่งผลให้การสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเพื่อนๆ อาจลดน้อยลง มีระยะห่างระหว่างกันมากขึ้น ทำให้เด็กๆ ถูกละเลยด้านอารมณ์ความรู้สึก และกระทบต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี รวมทั้งอาจจะขาดการปลูกฝังเรื่องทางสังคม นักวิชาการจากสมาคมอนุบาลศึกษาฯ และภาคี Thailand EF Partnership มีข้อแนะนำแก่ครูในการส่งเสริมทักษะอารมณ์ สังคมแก่เด็กๆ ดังนี้ ใช้ศิลปะ ดนตรี...

ครูควรปรับบทบาทอย่างไรในสถานการณ์โควิด

ครูควรปรับบทบาทอย่างไรในสถานการณ์โควิด แม้ว่าในสถานการณ์โควิดที่มีมาตรการรักษาระยะห่าง จะทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนเปลี่ยนไป มีการสื่อสารและการเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์มากขึ้น การสัมผัสร่างกายระหว่างครูกับเด็กน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่า ครูจะลดบทบาทในการใส่ใจใกล้ชิดเด็กลง เวลาเช่นนี้ครูกลับมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เด็กยังคงได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและได้รับการดูแลที่อบอุ่นใกล้ชิด สถานการณ์โควิดจะต้องไม่เป็นอุปสรรคในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับครู ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีเป็นหัวใจสำคัญให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นักวิชาการภาคีเครือข่าย Thailand...

ใส่ใจความเครียดของเด็กในสถานการณ์โควิด

ใส่ใจความเครียดของเด็กในสถานการณ์โควิด สถานการณ์โควิด 19 ทำให้ทุกคนต้องรักษาระยะห่างทางร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งทั้งสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก และตัวเด็กเอง ที่จะให้เด็กรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ การที่เด็กไม่สามารถเล่นหรือสัมพันธ์กับเพื่อนๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาวะทางอารมณ์ของเด็ก เช่นเครียด กังวล  ซึ่งในที่สุดก็อาจจะส่งผลลกระทบต่อการเรียนรู้และการพัฒนาในด้านต่างๆ ต่อไปด้วย  แม้ว่าสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American...

สถานการณ์โควิด เด็กขาดโอกาสเรียนรู้เรื่องสำคัญของชีวิต

สถานการณ์โควิด เด็กขาดโอกาสเรียนรู้เรื่องสำคัญของชีวิต เวลานี้มนุษยชาติทั้งโลกต้องเผชิญและหาทางตอบสนองต่อแรงกดดันที่ไม่เคยมีมาก่อน เมื่อเกิดโรคระบาดระดับที่คร่าชีวิตผู้คนได้ง่ายอย่างเชื้อโคโรนาไวรัส เรามีโอกาสติดเชื้อจากฝอยละออง (Droplets) ที่กระเด็นมาจากปาก/จมูกของผู้ที่มีเชื้อโรคซึ่งอยู่ห่างจากตัวเราไม่ถึง 1- 2 เมตร ทั้งๆ ที่ผู้ติดเชื้อนั้นอาจยังไม่แสดงอาการใดๆ ของโรคให้ปรากฏเห็นเลยก็ตาม มาตรการสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำในขณะนี้ก็คือ การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และใช้ชีวิตอยู่ห่างจากกัน (Physical...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...