สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

ปรารถนา หาญเมธี

112 โพสต์0 ความคิดเห็น

บทที่ 3 ตอนที่ 3 : จะทำให้เด็กวัยเรียน “เรียนรู้อย่างมีความหมาย” ได้อย่างไร

จะทำให้เด็กวัยเรียน “เรียนรู้อย่างมีความหมาย” ได้อย่างไร เรารู้กันดีว่า เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีหากมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) แต่ยังอาจไม่ชัดเจนว่าการเรียนรู้อย่างมีความหมายนั้นเป็นอย่างไร มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร และควรใช้วิธีการใด ถาม : การเรียนรู้อย่างมีความหมายคืออย่างไร  ตอบ : การเรียนรู้อย่างมีความหมาย คือการเรียนรู้ที่รู้ว่าจะเรียนรู้ไปเพื่ออะไร เชื่อมโยงกับตัวผู้เรียน ผู้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เรียนรู้จะมีผล...

บทที่ 3 ตอนที่ 2 : การเตรียมเด็กประถมให้เป็น Active Citizen หรือพลเมืองที่เข้มแข็ง

การเตรียมเด็กประถมให้เป็น Active Citizen หรือพลเมืองที่เข้มแข็ง คำว่า “การเป็นพลเมืองดี พลเมืองที่เข้มแข็ง” อาจฟังดูห่างไกลจากเด็ก เป็นนามธรรมที่เด็กเล็กไม่น่าจะเรียนรู้เข้าใจได้ แต่โดยธรรมชาติพัฒนาการแล้ว เด็กในวัยประถม หน้าต่างแห่งโอกาสของการปลูกฝัง ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม กำลังเปิด เพราะถึงวัยที่เด็กเริ่มรับรู้เหตุผล ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง...

บทที่ 3 ตอนที่ 1 : คุณลักษณะเด็กวัยประถมศึกษาที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21

คุณลักษณะเด็กวัยประถมศึกษาที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21 จากการจัดการความรู้เพื่อหาแนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF ในการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 2  โดยสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ซึ่งประกอบด้วยนักการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน คณาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก ได้ประชุมแลกเปลี่ยนกันถึงคุณลักษณะของเด็กวัยประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21...

เทคนิควิธีส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้พัฒนาทักษะอารมณ์-สังคม

บทที่ 2 ตอนที่ 6 เทคนิควิธีส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้พัฒนาทักษะอารมณ์-สังคม ทักษะอารมณ์และสังคมเป็นทักษะทีใช้เชื่อมโยงกับการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เด็กๆ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้พัฒนาอารมณ์และสังคมควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิชาการและเรื่องอื่นๆ ด้วย จากวิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม สำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษา ปีที่ 1 ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดีคณะครุศาสตร์...

New Normal ส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมควบคู่ไปกับวิชาการ

บทที่ 2 ตอนที่ 5 New Normal ส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมควบคู่ไปกับวิชาการ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โลกผันผวนเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีโรคระบาดเช่นโควิด19 มีภัยพิบัติต่างๆ เราต้องสร้างเด็กที่มีความอดทนสูง ปรับตัวได้ไว ล้มแล้วลุกขึ้นมาเองได้เร็ว โดยไม่ต้องรอให้ใครมาช่วยดึงขึ้น  มนุษย์ที่มีความสามารถเช่นนี้จะต้องมีทักษะทางอารมณ์และสังคมที่ดี ซึ่งจะทำให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น...

เปิดโลกการเรียนรู้ให้เด็กด้วยการเข้าใจ เข้าถึงเด็กให้มากขึ้น

บทที่ 2 ตอนที่ 4 เปิดโลกการเรียนรู้ให้เด็กด้วยการเข้าใจ เข้าถึงเด็กให้มากขึ้น การจะทำให้เด็กเปิดใจเปิดประตูสู่การเรียนรู้อย่างแท้จริงได้นั้น อันดับแรกครูต้องตระหนักว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กแต่ละคน มีความสามารถในการมีสมาธิ (Attention Span) ไม่เท่ากัน ความสามารถที่จะจดจ่อกับเรื่องใดๆ นั้น เป็นพัฒนาการของสมอง หมายความว่า ผู้ใหญ่ไม่สามารถคาดหวังให้เด็กเล็กๆ นั่งลงแล้วเรียนเพราะสมองยังไม่พัฒนา และขณะเดียวกัน เด็กถึงแม้จะมีอายุเท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมี Attention Span เท่ากัน พันธุกรรมเกี่ยวกับสมองส่วนหน้าของเด็กแต่ละคนทำให้การพัฒนาของสมองไม่เท่ากัน เด็กบางคนสามารถจดจ่อได้นาน...

การเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กขาดโอกาสพัฒนาสมอง

บทที่ 2 ตอนที่ 2 การเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กขาดโอกาสพัฒนาสมอง พัฒนาการทางสมองของคนเรามีอยู่ 2 แบบ คือ Experience-Expectant Development เป็นพัฒนาการทางสมองที่คาดหวังได้ในสิ่งมีชีวิต เช่น เราคาดหวังได้ว่าคนๆ หนึ่งนั้น จะคืบ คลาน นั่ง...

ครูคือคนสำคัญ ต้องเสริมความรู้ที่เข้มแข็งให้ครู

บทที่ 2 ตอนที่ 3 ครูคือคนสำคัญ ต้องเสริมความรู้ที่เข้มแข็งให้ครู ครูนับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ จะเรียกว่ามีบทบาทหน้าที่ “สร้างชาติ”ก็ว่าได้ ปัจจุบันพบว่าครูมีทั้งส่วนที่ปรับเปลี่ยนพัฒนาบทบาทตนเอง และมีส่วนที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนบทบาท ยังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้และการพัฒนาเด็กไม่ดีพอ ...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...