สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

14 โพสต์0 ความคิดเห็น
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาศักยภาพสมองเด็ก สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

วัคซีนชีวิตสำหรับลูกวัยรุ่น

วัคซีนชีวิตสำหรับลูกวัยรุ่น ช่วงนี้กระแสเรื่องของวัคซีนโควิด-19 กำลังมาแรงนะครับ หมอก็เลยจะขอเกาะกระแสวัคซีนด้วยนิดหนึ่ง เพียงแต่ว่าวัคซีนที่จะพูดถึงในวันนี้ ไม่ใช่วัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อโรค แต่เป็นวัคซีนป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อยู่รายล้อมตัวของวัยรุ่นยุคนี้ ไม่ว่าจะภัยยาเสพติด การพนัน เกมออนไลน์ การกลั่นแกล้ง พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม การหลอกลวงเพื่อหวังทรัพย์สิน ไปจนถึงการทำร้ายร่างกาย ฯลฯ ทั้งนี้โดยธรรมชาติแล้ว วัยรุ่นมักจะเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงต่อการถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย เนื่องจากการพัฒนาของสมองยังเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์เหมือนกับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าที่มีบทบาทด้านการคิดวิเคราะห์ การยับยั้งชั่งใจ และการวางแผน แม้ร่างกายจะมีการพัฒนาจนใกล้เคียงกับผู้ใหญ่แล้วก็ตาม การป้องกันความเสี่ยงที่บุตรหลานวัยรุ่นจะเข้าสู่หนทางที่ไม่ดี สามารถกระทำได้โดยการให้วัคซีนชีวิตแก่บุตรหลานวัยรุ่น...

วัยรุ่นระยะกลางกับทักษะสมอง EF

วัยรุ่นระยะกลางกับทักษะสมอง EF จากที่ครั้งก่อนได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจในช่วงวัยรุ่นระยะต้นไปแล้ว บทความในครั้งนี้ก็จะขอมาพูดเกี่ยวกับวัยรุ่นระยะกลางบ้างนะครับ โดยช่วงวัยรุ่นระยะกลาง จะหมายถึง วัยรุ่นอายุระหว่าง 14-17 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ช่วงวัยนี้ลูกมักจะมีความสูงใกล้เคียงหรือมากกว่าคุณพ่อคุณแม่ มีการพัฒนาลักษณะทางเพศที่ค่อนข้างเด่นชัด รวมถึงมีกระบวนการคิด อารมณ์ และการแสดงออกที่แตกต่างไปจากวัยเด็กอย่างมาก แต่ก็ยังไม่ใช่ผู้ใหญ่ซะทีเดียว โดยตัวของวัยรุ่นจะต้องการความเป็นอิสระจากการดูแลของพ่อแม่ แต่ก็มักจะยังต้องพึ่งพิงพ่อแม่ในหลายด้าน ในขณะเดียวกันก็สนใจปฏิกิริยาของคนรอบข้าง รวมถึงต้องการการยอมรับถึงตัวตนของตนเองจากบุคคลอื่นในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน ทำให้มีโอกาสเกิดความขัดแย้งกับคุณพ่อคุณแม่ได้ง่าย รวมไปถึงการเกิดความสับสนในการค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตนเอง ประเด็นสำคัญในความเป็นวัยรุ่นที่แตกต่างจากวัยผู้ใหญ่อยู่ที่สมองส่วนหน้าหรือพรีฟรอนทัล คอร์เท็กซ์ อันเป็นสมองส่วนที่มีบทบาทในด้านการคิดวิเคราะห์...

การเตรียมพร้อมของพ่อแม่เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่นระยะต้น

การเตรียมพร้อมของพ่อแม่เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่นระยะต้น เมื่อลูกเติบโตขึ้นจนผ่านพ้นชีวิตในช่วง 10 ปีแรกไปแล้ว ลูกๆ ก็จะเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่นในระยะต้น (Early Adolescence) อันหมายถึงเด็กอายุระหว่าง 10-13 ปี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เด็กผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเร็วกว่าเด็กผู้ชาย คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านร่างกายและด้านจิตใจในช่วงวัยนี้ได้ชัดเจน ท่านจึงควรเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของลูกกันอีกครั้ง อันถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการเติบโตของมนุษย์ ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงและการวางตัวอย่างเหมาะสมของคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้ลูกๆ ของเราผ่านช่วงนี้ไปได้อย่างราบรื่นครับ ลูกๆ ในช่วงเข้าสู่วัยรุ่นระยะต้นจะมีการเพิ่มขึ้นของส่วนสูงอย่างชัดเจน คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะดูแตกต่างจากช่วงปีก่อนๆ มาก นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในด้านความสูงแล้ว การปรากฏของลักษณะทางเพศก็เริ่มเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการมีขนขึ้นตามรักแร้และอวัยวะเพศ...

ความรักกับพัฒนาการของลูก

ในเดือนกุมภาพันธ์ คงไม่มีสิ่งไหนที่น่าจะพูดคุยมากไปกว่าเรื่องของความรักอีกแล้วนะครับ เพราะเรื่องความรัก ไม่ใช่เพียงแค่ความรักแบบหนุ่มสาว แต่ยังรวมไปถึงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

โควิด-19 ระลอกใหม่ กับ EF ของคุณพ่อคุณแม่

โควิด-19 ระลอกใหม่ กับ EF ของคุณพ่อคุณแม่ สถานการณ์ในเดือนแรกของปีใหม่นี้ไม่ค่อยดีเลยนะครับ จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้หลายๆ ท่านต้องปรับตัวทำงานอยู่ที่บ้าน แถมโรงเรียนก็ยังปิดอีก ทำให้เจ้าตัวน้อย หรือเจ้าตัวยุ่งของหลายๆ ครอบครัวต้องมาเรียนที่บ้านแทน ซึ่งบางทีก็เรียนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตั้งใจเรียนบ้าง แอบมองไปทางอื่นบ้าง หรือพยายามไปเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังทำงานอยู่บ้าง ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า คุณพ่อคุณแม่เกินครึ่งมีปัญหาความเครียดทั้งจากปัญหาโควิด-19 ที่กำลังระบาด ปัญหารายได้ที่ลดลง และการเรียนออนไลน์ของลูก ในสถานการณ์เช่นนี้...

บทบาทของคุณพ่อ ต่อพัฒนาการของลูก

เนื่องในเดือนธันวาคมของทุกปี อันเป็นเดือนของวันสำคัญคือวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต ในหลวงรัชกาลที่ 9
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...