สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก การกำกับควบคุมตนเอง

Tag: การกำกับควบคุมตนเอง

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #9 การเลี้ยงดูบนฐานการส่งเสริมและพัฒนา “จุดแข็ง” กับความเครียดของเด็ก

การเลี้ยงดูบนฐานการส่งเสริมและพัฒนา “จุดแข็ง” กับความเครียดของเด็ก ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิต ที่แสดงพฤติกรรมต่อสิ่งเร้าที่คุกคามความอยู่ดีมีสุขเป็นปกติ ความเครียดมักเกิดจากความต้องการกับทรัพยากรที่มีอยู่ไม่สมดุลกัน คนที่เครียดนั้นเกิดจากความรับรู้ว่า ตนไม่สามารถรับมือกับความต้องการหรือความคาดหวังที่ถูกวางไว้ได้ดีเพียงพอ ความเครียดส่งผลต่อระบบของร่างกายและการทำงานของสมอง โดยเฉพาะเด็กที่ประสบกับความเครียดเรื้อรังนั้นแขนงของเซลล์ประสาทหดสั้นลง คล้ายรากของต้นไม้ที่เหี่ยวแห้งลงจากขาดน้ำ ส่งผลต่อการเรียนรู้และสติปัญญา แต่ยิ่งไปกว่านั้น ความเครียด ความเจ็บปวดทางกายและใจที่เด็กได้รับจะส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพทั้งทางกายและสุขภาพทางใจไปจนตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความเครียดในเด็ก กลับพบว่าเด็กมีอัตราความเครียดที่สูงมากขึ้นทุกปี จากการที่ชีวิตของเด็กในสมัยนี้ ต้องเผชิญกับความคาดหวังและความกดดันเพิ่มมากขึ้นกว่าต้นทุนหรือความสามารถที่ตนมี  ในปี 2010 จากการสำรวจความเครียดในอเมริกา (APA, 2010) เด็กถึง...

ครู โรงเรียน กับ การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก

เด็กบางคนโชคร้ายไม่ได้รับโอกาสพัฒนา Self-Esteem จากพ่อแม่ในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิต ก็อาจมีโอกาสครั้งที่สองที่โรงเรียน นี่คือหลักการทั่วไปที่ควรคาดหวังได้  แต่ถ้าครูไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็อาจเป็นโชคร้ายที่ซ้ำสองของเด็กคนนั้น !!?? งานวิจัยมากมายยืนยันว่า ถ้าครูมีศรัทธาในเด็ก เชื่อว่าเด็กมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ และมุ่งมั่นที่จะแปรความรักความเมตตาของตน ให้กลายเป็นความเอาใจใส่ กำลังใจ ให้การกระตุ้นเชิงบวก ให้คำชี้แนะ ให้โอกาสฝึกฝนในสิ่งที่เด็กสนใจ ให้คำชมเชยที่กระบวนการ ครูก็จะมีอิทธิพลต่อชีวิตของเด็กอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถสร้างความเชื่อมั่น ให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเองเด็กได้ และนั่นคือการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตของเด็กอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ มีตัวอย่างมากมายของครูที่สร้าง Self-Esteem ให้แก่เด็ก เช่น...

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Self-Esteem

ปัจจัยที่เชื่อกันว่า ส่งผลให้คนเรามี Self-Esteem สูงหรือต่ำนั้นมีหลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อ ว่ากันตั้งแต่กรรมพันธุ์; พ่อแม่เป็นคนที่มี Self-Esteem เป็นอย่างไร อาจถ่ายทอดต่อให้ลูกได้ อายุ; เด็กที่อายุน้อยกว่าเพื่อนในห้องมากๆ จนทำอะไรไม่ทันเพื่อน ก็อาจจะเสียความมั่นใจในตนเอง ไม่สามารถสร้างความภาคภูมิใจในตนเองได้เพราะรู้สึกว่าตนเองทำไม่ได้เท่าเพื่อน คนแก่ที่อายุมากขึ้นและความสามารถในการดูแลตนเองลดลง ต้องพึ่งพาคนอื่นก็อาจจะรู้สึกสูญเสียคุณค่าในตนเองสุขภาพที่ไม่แข็งแรง ทำอะไรไม่ได้อย่างที่ต้องการ มักจะทำให้ Self-Esteem ต่ำลง ประสบการณ์ชีวิตที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ ถูกข่มเหงกลั่นแกล้งหรือรังเกียจ ก็อาจรู้สึกไม่ดีกับตนเองพอๆ กับที่รู้สึกไม่ดีต่อคนอื่นความคิด...

Self – Esteem

Self - Esteem เป็น ประเด็นที่มีความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ และเป็นคอนเซ็ปต์ทางจิตวิทยาที่ได้รับการศึกษาค้นคว้ามากในโลกปัจจุบัน Nathaniel Branden นักจิตวิทยาผู้เขียนหนังสือ The Six Pillars of Self - Esteem ให้ความสำคัญว่า “Self-esteem คือระบบภูมิคุ้มกันของจิตสำนึก ที่จะช่วยสร้างพลังชีวิตที่เข้มแข็ง ให้มีความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ และความสามารถในการพลิกฟื้นจิตใจตนเอง เหมือนกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่จะช่วยเรารับมือกับความยากลำบากในชีวิต เช่น...

ถ้าเป็นฉัน…

การลงมือทำ สร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และจะส่งข้อมูลผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังสมองซึ่งทำหน้าที่ตีความและตอบสนองกลับไปยังสิ่งเร้า เพื่อรักษาการอยู่ดีมีสุขของชีวิตได้ อย่างน้อยเฉพาะหน้าก็เอาตัวรอดไปให้ได้ อันเป็นกลไกธรรมชาติของสัตว์โลก เมื่อเทียบกับสัตว์อื่น มนุษย์เป็นสัตว์ซึ่งสมองส่วนหน้ามีเนื้อที่มากที่สุดและมีการเชื่อมต่อมากที่สุดเมื่อเทียบกับขนาดและน้ำหนักตัว สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ (Executive Function: EF) กำกับการกระทำและพฤติกรรม และเมื่อทำงานเชื่อมต่อเส้นใยประสาทกับสมองส่วนอื่นๆ ก็ทำให้มนุษย์สามารถสร้างภาษาเพื่อการสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้มากกว่าสัตว์ คิดซับซ้อน วิเคราะห์ สังเคราะห์ มองการณ์ไกลได้มากกว่าสัตว์ทุกชนิดบนโลก จากการฝึกฝนผ่านประสบการณ์ ทำให้ทักษะเหล่านี้เติบโตแข็งแรง แตกแขนงเส้นใยประสาทเชื่อมโยงไปทั่ว เปรียบเหมือนผืนดินที่มีเมล็ดพันธุ์ซ่อนอยู่ เมื่อได้แดดน้ำและอุณหภูมิที่พอเหมาะ ก็จะเติบโต แทงยอด...

อย่าพัฒนา EF เด็กในห้องทดลอง ต้องฝึกในบริบทจริง

อย่าหวังพัฒนา EF แบบสำเร็จรูป อย่าพัฒนา EF เด็กในห้องทดลอง ต้องฝึกในบริบทจริง สมองอยู่ในศีรษะของมนุษย์เรามาตลอด ช่วยให้มนุษยชาติพัฒนาอารยธรรมมาหลายพันปี แต่เราเพิ่งมารู้จักธรรมชาติของสมองกันไม่นานนี้เอง ที่สำคัญและน่าทึ่งที่สุดก็คือทักษะสมอง EF - Executive Functions นี่เอง มันเป็นความสามารถที่สุดยอดที่สุดของเราเมื่อเทียบกับบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  เพราะ EF ช่วยให้เรากำกับความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของเราได้อย่างมีสติรู้ตัว เพื่อให้เราไปถึงจุดหมายที่เราต้องการ ไม่ใช่แค่กับเป้าหมายใหญ่ของชีวิต แต่เราใช้ EF กับเป้าหมายทุกอย่างแม้เล็กๆน้อยๆ...

อย่างน้อยมันก็ไม่ใช่ยาเสพติดนะแม่

เด็กอาฟริกันอเมริกันวัย 8 ขวบคนหนึ่ง เห็นไมเคิล จอร์แดน แข่งฟุตบอลทางโทรทัศน์ ภาพที่จอร์แดนกระโดดชู้ตลูกลงห่วงแล้วได้คะแนนนำจนทำให้ทีมชนะนั้น ติดตาตรึงใจ แต่ไม่ใช่ท่วงท่าหรือแรงบันดาลใจว่าอยากเป็นนักบาสฝีมือฉกาจ หากเป็น “รองเท้า”ที่จอร์แดนสวมใส่ เด็กน้อยขอตังค์แม่ซื้อ ข้อต่อรองจากแม่คือคะแนนเรียนต้องได้เอ เพราะแม่เป็นครู นั่นทำให้เขาตั้งใจเรียนสุดๆ เพื่อจะได้เป็นเจ้าของรองเท้าแบบที่จอร์แดนสวมใส่ในภาพนั้น ช่วงเป็นวัยรุ่นที่มักหมกมุ่นคลั่งไคล้แฟชั่น เขาเอาวาดแต่รูปรองเท้า สะสมแต่รองเท้า ถึงขนาดตอนอายุสิบห้าเริ่มทำงานพาร์ทไทม์ในร้านรองเท้า เพื่อจะได้แกะดูชิ้นส่วนรองเท้าที่มีตำหนิ ที่ลูกค้าคืนมา ได้ลองออกแบบรองเท้าบนกระดาษให้เพื่อน และได้ซื้อรองเท้าก่อนคนอื่นในราคาลดเฉพาะพนักงาน จนบางทีแม่ถึงกับถามว่า...

พลังของความหวัง (Pygmalion Effect)

ปรากฏการณ์ ‘ความคาดหวังสร้างความจริง’ (Self-fulfilling Prophecy) เมื่อความเชื่อเป็นพลังทำให้เราลงมือทำตามความเชื่อนั้นจนเกิดเป็นความจริงขึ้นมา มีความเป็นมาจากตำนานกรีกที่กล่าวถึง พีกมาเลี่ยน (Pygmalion) ซึ่งเป็นปฏิมากรที่หลงรักรูปปั้นหญิงสาวของตนเองมาก จนปฏิบัติต่อรูปปั้นเช่นคนคนๆ หนึ่ง ความรักและความหวังอย่างเหลือล้นทำให้พีกมาเลี่ยนไปอธิษฐานขอพรจากเทพวีนัสให้รูปปั้นนั้นมีชีวิต และได้รับคำพรสมปรารถนา รูปปั้นเกิดมีเลือดเนื้อและลมหายใจกลายเป็นหญิงสาว และพิกมาเลี่ยนได้แต่งงานกับหญิงสาวสมปรารถนา ปรากฏการณ์ ‘ความคาดหวังสร้างความจริง’ (Self-fulfilling Prophecy) หรือ Pygmalion Effect คือปรากฎการณ์ที่ความคาดหวังหรือการปักใจเชื่อในสิ่งใด จะนำไปสู่การกระทำที่ผลักดันให้ความคิดหรือความคาดหวังนั้นเป็นจริงขึ้นมา เหมือนคำพูดที่ว่า...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...