สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Ef

Tag: ef

ฐานราก 3 มิติในการพัฒนาวัยรุ่น

วัยรุ่นคือช่วงสะพานของชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ ชีวิตช่วงวัยรุ่นเริ่มต้นที่อายุ 10-12 ปี สิ้นสุดประมาณ 21-25 ปี ชีวิตช่วงนี้เป็นชีวิตที่ชวนน่าสับสน เต็มไปด้วยความโกลาหล สุดเหวี่ยง ขณะเดียวกันก็มีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง เพราะเพิ่งพ้นจากความเป็นเด็กที่ไม่รู้ประสีประสานัก มาเป็นวัยที่มีความสามารถในการเข้าใจเรื่องยากๆที่เป็นนามธรรม ทำอะไรได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนได้มากเท่าผู้ใหญ่คนหนึ่ง ส่วนทางด้านร่างกายอยู่ๆ ก็พรวดพราดสูงปรี๊ดชั่วข้ามคืน ชวนให้สยองว่า หากไม่หยุดสูงจะเป็นอย่างไร การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นอย่างเด่นชัดทั้งวัยรุ่นหญิงและชาย หากยังจำกันได้ผู้ใหญ่ที่ผ่านการเป็นวัยรุ่น คงไม่ลืมความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะอารมณ์ที่ความรุนแรงกว่าปกติอย่างที่ไม่เข้าใจตนเองว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ จำเป็นต้องได้รับความเข้าใจ...

ความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน

เมื่อมีการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ ครูสามารถวางแผน และกำหนดกรอบหลักสูตร พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือ และตัวเลือกต่างๆเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในงานของตนเอง หลักการที่จะช่วยให้ครูประสบความสำเร็จในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แก่นักเรียน มีมากมาย ตัวอย่างเช่น สร้างสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ ครูไม่ใช่เพียงทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitate) หรือเป็นตัวกลางในการเรียนรู้ของเด็กๆ (Mediate) เท่านั้น หากแต่มีหน้าที่ส่งเสริมให้กำลังใจ หรือเป็น “นั่งร้าน” โดยเฉพาะด้วยการใช้คำพูดของครูเพื่อให้กำลังใจ และเป็นนั่งร่านที่ต่อให้สูงขึ้นๆ คำพูดที่มีความหมายที่คุณครูควรใช้ เช่น           ครูเห็นด้วย เพราะ......           ครูอยากเสริมว่า....           ช่วยอธิบายเพิ่มอีกนิดได้ไหม...          ...

สรุป Mind Map จากงาน “ความรู้พร้อมใช้จากเวทีวิจัย EF พ.ศ. 2561-2565”

สรุปความรู้พร้อมใช้ในรุปแบบของ Mind Map จากงาน “ความรู้พร้อมใช้จากเวทีวิจัย EF พ.ศ. 2561-2565” ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2565 ที่ทุกท่านรอคอย สามารถ คลิกขวาที่ภาพ และ บันทึกไฟล์ หรือสามารถดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #9

ตระหนักในกฎแห่งการเรียนรู้ของสมอง ทันทีที่เด็กเกิดมา สิ่งที่เกิดขึ้นมาแรกสุกคือการพัฒนาระบบประสาทที่เกี่ยวกับการหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหว การมองเห็น และการได้ยินเสียง ทั้งนี้ทารกแรกเกิดจนถึงอายุหนึ่งขวบนั้นมีจำนวนเซลล์สมอง (Neurons) ประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์เช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่มี สมองของเด็กที่มีจำนวนเซลล์สมองเท่ากับที่ผู้ใหญ่มี จะมีการพัฒนาและมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากกระบวนการสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1.การเพิ่มขึ้นของจุดเชื่อมต่อเส้นประสาท เรียกว่า synapses ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ได้รับ ประสบการณ์ที่หลากหลาย ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะการที่เด็กทารกได้รับการอุ้ม การก อด และบอกรัก 2....

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #4

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมอง หนึ่งในห้าของสมองเป็นเลือดและน้ำไขสันหลัง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cerebrospinal fluid ซึ่งเป็นน้ำที่สร้างขึ้นในโพรงสมอง ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาโดยสกัดออกมาจากเลือดแดง เพื่อไหลเวียนหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ห่อหุ้มทั้งสมองและไขสันหลังไว้   น้ำไขสันหลัง มีหน้าที่หลักคือ การนำอาหารไปเลี้ยงสมอง ขนส่ง Hormone ต่างๆภายในสมองและรับเอาของเสียจากสมองไปทิ้ง นอกจากนั้นยังเป็นฉนวนลดแรงกระแทกต่อสมองที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาที่หัวหรือหลังถูกกระทบกระแทกด้วย สมองมนุษย์เริ่มก่อตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์อายุได้ ๒ สัปดาห์ ปัจจัยที่ได้รับขณะที่อยู่ในครรภ์ของแม่ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองอย่างมาก แม่ต้องมีอารมณ์ที่ดี ได้รับสารอาหารที่ครบห้าหมู่ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #2

เซลล์ประสาทและสารสื่อประสาท เซลล์ประสาทมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่; เซลล์สมอง (Cell Body)สายใยประสาทรับข้อมูล (Dendrite)สายใยประสาทส่งข้อมูล (Axon) ตรงปลายของเซลล์ประสาทมีช่องว่างเล็กๆระหว่างเซลล์ที่ถูกเรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) ที่ได้รับการค้นพบโดยนักพยาธิวิทยาชาวสเปน Santiago Ram’on y Cajal ในต้นศตวรรษที่ 21  ไซแนปส์มี ช่วงกว้างประมาณ 200-500 อังสตรอม หรือประมาณ 0.1 นาโนเมตร...

ความรู้ชุด: สมองเด็กและเยาวชนกับการเสพติด #4

การวางแผนป้องกันยาเสพติดในชุมชน ชุมชนจะพัฒนาแผนป้องกันยาเสพติดบนฐานการวิจัยได้อย่างไร   กระบวนการวางแผนป้องกันยาเสพติดของชุมชน  ทำได้โดย ; ระบุปัญหา; สภาพและลักษณะของการติดยาเสพติดในชุมชน( Identifies) พัฒนาแผนบนฐานทุนที่อยู่จริงพัฒนาเป้าหมายระยะสั้น ให้เชื่อมโยงกับการดำเนินงานโปรแกรมป้องกันบนฐานงานวิจัยวางวัตถุประสงค์ระยะยาว เพื่อว่าแผนและฐานทุนจะเป็นไปได้ในอนาคต รวมการประเมินระหว่างดำเนินการเข้าไปด้วย เพื่อวัดผลความมีประสิทธิผลของกลยุทธ์การป้องกัน  กระบวนการวางแผน การวางแผนมักจะเริ่มด้วยการประเมินสถานการณ์การเสพสารเสพติดและปัญหาอื่นๆ ของเด็กและเยาวชนในชุมชน  เพื่อประเมินระดับการใช้สารเสพติดในชุมชน พร้อมไปกับการตรวจสอบระดับความเสี่ยงอื่นที่มีอยู่ในชุมชน (เช่น ความยากจน)   ผลของการประเมินนี้จะช่วยยกระดับความตระหนักของชุมชนที่มีต่อระดับความหนักหน่วงของปัญหา  และร่วมกันเลือกโปรแกรมที่เห็นว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมากมี่สุด   เช่น จะเลือกใช้โปรแกรมป้องกันในโรงเรียนเท่านั้น  หรือจะวางแผนโปรแกรมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งชุมชน ต่อจากนั้นเป็นการประเมินความพร้อมของชุมชนในการป้องกัน  ซึ่งก่อนที่จะเริ่มแผนงานป้องกัน   จะต้องพิจารณาขั้นตอนเพิ่มเติม ในเรื่องการให้การศึกษาแก่คนในชุมชนซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นยิ่ง  จากนั้นการทบทวนโปรแกรมเดิมที่มีอยู่...

ความรู้ชุด: สมองเด็กและเยาวชนกับการเสพติด #3

ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกัน ดังกล่าวแล้วว่า การศึกษาวิจัยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาพยายามที่จะหาว่า  ปัญหาการเสพติดเกิดขึ้นอย่างไร  พัฒนาอย่างไร ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสพติดเราเรียกว่า “ปัจจัยเสี่ยง” ปัจจัยที่ลดโอกาสเสพติด เรียกว่า “ปัจจัยป้องกัน” งานวิจัยชี้ว่า ปัจจัยเสี่ยงสำหรับคนคนหนึ่ง อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของอีกคนหนึ่งก็ได้  และที่สำคัญ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันอาจจะส่งผลต่อเด็กในช่วงความเสี่ยงตามพัฒนาการ ที่เรียกว่า Risk Trajectory (หรือเส้นทาง- Path)  ที่ต่างกัน   เส้นทางการเสพติดนี้จะชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงปรากฏตัวอย่างไรในแต่ละช่วงชีวิตของเด็ก เช่น ความเสี่ยงตั้งแต่วัยเด็กเล็ก...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...