สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Self Monitoring

Tag: Self Monitoring

EF พัฒนาคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21

การพัฒนา Executive Functions (EF) จะทำให้คนเราเกิดทักษะความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต ซึ่งจะสอดคล้องกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สถาบัน RLG ได้จัดการความรู้และเสนอ "คุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21" เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าได้แก่ Self-Realization = รู้จักตนเองรู้จุดแข็งจุดอ่อน รู้จักอารมณ์ตนเองและสาเหตุของการเกิด อารมณ์นั้นๆ รู้ศักยภาพของตนเอง รู้วิธีจัดการตนเอง Humanity = เห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ เคารพเพื่อนมนุษย์ เอาใจเขามาใส่ใจเรา Social...

ขาดทักษะ EF ชีวิตขาดคุณภาพและอายุสั้น

งานวิจัยที่ชี้ว่า คุณภาพชีวิต สุขอนามัย อายุขัย ฯลฯ ของคนเราล้วนเป็นผลมาจากระดับทักษะ EF ในด้านการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) ทั้งสิ้น ดร.รัสเซล เอ บาร์กเลย์ (Russell A. Barkley) นักจิตวิทยาได้ชี้ว่า ความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขอนามัย สาธารณสุข ฯลฯ ทำให้มนุษยชาติมีอายุยืนยาวนานนั้น ล้วนเป็นการพัฒนาที่ต้องอาศัยทักษะ EF...

เด็กจะเรียนได้ดี ต้องมีพลังในการกำกับตนเองเสียก่อน

Jessica Lahey นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง Self-Directed Executive Functions หรือ ความสามารถในการตั้งเป้าหมายและกำกับตนเองให้ปฏิบัติจนสัมฤทธิ์ผล พลังของการกำกับตนเองสู่เป้าหมายเป็นทักษะที่มีคุณค่าอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กกระทำการใดๆ สำเร็จลุล่วง บรรลุเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ เธอกล่าวว่า ครูอนุบาลรู้ดีว่าการกำกับตนเอง (Self-Regulation) เป็นความสามารถที่สำคัญที่สุดในการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมกับการเรียนในระดับประถม ซึ่งปกติแล้วมักจะพบว่าเด็กจำนวนมากตอนเริ่มการเรียนในชั้นประถมมีความสามารถในการกำกับตนเองที่ต่ำ งานวิจัยพบว่า ความสามารถในการกำกับตนเองในช่วงปฐมวัยมีความสำคัญต่อความพร้อมในการเรียนมากกว่า IQ หรือทักษะในเรื่องคณิตศาสตร์หรือการอ่านเสียอีก และเกี่ยวข้องกับอย่างมากกับความสำเร็จในการเรียนในระยะต่อๆ มา เด็กที่พัฒนา EF มาดีจะมีความสามารถในการกำกับเป้าหมายตนเอง เห็นได้ชัดในเด็กที่ดูแลตนเองได้...

วิธีช่วยเหลือเด็กให้ลดอารมณ์และการแสดงออกที่ก้าวร้าวรุนแรง

เด็กเล็กๆ ยังไม่มีทักษะในการจัดการอารมณ์ตนเอง จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้กับตนเองและผู้อื่น ผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมเด็กไม่ว่าพ่อแม่หรือคุณครูมีบทบาทในการสอนเด็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม เด็กเล็กๆ ยังไม่มีทักษะในการจัดการอารมณ์ตนเอง จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้กับตนเองและผู้อื่น ผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมเด็ก ไม่ว่าพ่อแม่หรือคุณครูมีบทบาทในการสอนเด็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่คุณครูค่อยๆ ช่วยเหลือเด็กให้ลดอารมณ์และการแสดงออกที่รุนแรง มีการควบคุมอารมณ์และกำกับตนเองได้ดีขึ้น เด็กชายวัยอนุบาลคนหนึ่งเป็นเด็กที่ชอบเล่นแรงๆ ทำอะไรรุนแรง จนเพื่อนไม่อยากเล่น คบหาด้วย ซึ่งเด็กก็ไม่รู้ตัวว่าตนทำอะไรผิด คุณครูจึงช่วยเหลือด้วยการฝึกเด็กคนนี้ให้มีบทบาทเป็นผู้ให้ โดยในช่วงกลางวันทุกวัน ให้เด็กช่วยคุณครูยกตะกร้าแก้ว จัดจานข้าว ถ้วยน้ำซุป แก้วน้ำวางบนโต๊ะอาหารของเพื่อนๆทั้งหมด ระหว่างที่เขาช่วยเหลือคุณครู มีความใกล้ชิดกับคุณครู...

ดนตรีส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนา EF

งานวิจัยที่ใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI บ่งชี้ว่า การฝึกฝนดนตรีตั้งแต่วัยเด็กเล็กส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ EF ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ การฝึกฝนดนตรีช่วยให้เด็กมีผลการเรียนในอนาคตดีขึ้น งานวิจัยที่ใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI บ่งชี้ว่า การฝึกฝนดนตรีตั้งแต่วัยเด็กเล็กส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ EF ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ การฝึกฝนดนตรีช่วยให้เด็กมีผลการเรียนในอนาคตดีขึ้น Dr.Nadine Gaab และทีมนักวิจัยจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ ของโรงพยาบาลเด็กบอสตันในรัฐแมสซาจูเสจ สหรัฐอเมริกา มีผลงานวิจัยที่สนับสนุนเรื่องการฝึกเล่นดนตรีอาจช่วยให้พัฒนา EF ได้ โดยได้วิจัยเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างในผู้ใหญ่ที่เป็นนักดนตรี และผู้ที่ไม่ได้เป็นนักดนตรี พบว่า .... ผู้ที่เป็นนักดนตรีสามารถทำการทดสอบได้ดีกว่าในด้านความคล่องทางภาษา...

เด็กขาดทักษะในการบริหารจัดการชีวิตหรือไม่

หากคนเรามี EFหรือทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่ดี จะส่งผลต่อการเรียนรู้ไม่ว่าที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือในที่ทำงาน เพราะในแต่ละวันเราใช้ทักษะ EF ใน หากคนเรามี EFหรือทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่ดี จะส่งผลต่อการเรียนรู้ไม่ว่าที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือในที่ทำงาน เพราะในแต่ละวันเราใช้ทักษะ EF ในการ.... - วางแผนทำโน่นนี่ - จัดแบ่งเวลาในการทำเรื่องต่างๆ - จัดการภารกิจหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ - สื่อสาร พูดคุยกับผู้คน ซึ่งต้องดึงข้อมูลในอดีตที่จำไว้มาใช้ - ใช้ชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน - ประเมิน คาดเดาความคิดทั้งของตัวเองและของคนอื่นที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วย -...

ไอคิวดี EF จะดีด้วยจริงไหม

คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าคนที่มีไอคิวสูง ฉลาด เรียนเก่ง น่าจะมี EF หรือทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่ดี หรือพูดง่ายๆ ว่า เราคาดหวังว่าเด็กที่เรียนดีจะมีนิสัยการทำงานที่ดีด้วย และจะสามารถจัดการการงานทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนได้ดี นักวิชาการชื่อดัง Joyce Cooper-Kahn และ Laurie Dietzel ชี้เรื่องนี้ไว้ว่า คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าคนที่มีไอคิวสูง ฉลาด เรียนเก่งน่าจะมี EF หรือทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่ดี แต่ในความเป็นจริง ไอคิว หรือความสามารถทางปัญญากับ EF...

ขั้นพัฒนาการ EF ในเด็กแต่ละวัย

ขั้นตอนพัฒนาการ EF ของเด็กแต่ละช่วงวัย คุณครูสามารถมองเห็นทักษะความสามารถ EF ในตัวเด็กที่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างขึ้นทีละน้อยตามวัย คุณครูสามารถมองเห็นทักษะความสามารถ EF ในตัวเด็กที่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างขึ้นทีละน้อยตามวัยตามที่นักวิชาการศึกษา Joyce Cooper-Kahn และ Laurie Dietzel แนะนำไว้ดังนี้ 0-2 ปี ทารกและเด็กเล็กก่อนเข้าโรงเรียน เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า “อยู่กับปัจจุบันขณะ” (“live in the moment”)...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...