สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Working Memory

Tag: Working Memory

สรุป Mind Map จากงาน “ความรู้พร้อมใช้จากเวทีวิจัย EF พ.ศ. 2561-2565”

สรุปความรู้พร้อมใช้ในรุปแบบของ Mind Map จากงาน “ความรู้พร้อมใช้จากเวทีวิจัย EF พ.ศ. 2561-2565” ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2565 ที่ทุกท่านรอคอย สามารถ คลิกขวาที่ภาพ และ บันทึกไฟล์ หรือสามารถดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #9

ตระหนักในกฎแห่งการเรียนรู้ของสมอง ทันทีที่เด็กเกิดมา สิ่งที่เกิดขึ้นมาแรกสุกคือการพัฒนาระบบประสาทที่เกี่ยวกับการหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหว การมองเห็น และการได้ยินเสียง ทั้งนี้ทารกแรกเกิดจนถึงอายุหนึ่งขวบนั้นมีจำนวนเซลล์สมอง (Neurons) ประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์เช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่มี สมองของเด็กที่มีจำนวนเซลล์สมองเท่ากับที่ผู้ใหญ่มี จะมีการพัฒนาและมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากกระบวนการสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1.การเพิ่มขึ้นของจุดเชื่อมต่อเส้นประสาท เรียกว่า synapses ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ได้รับ ประสบการณ์ที่หลากหลาย ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะการที่เด็กทารกได้รับการอุ้ม การก อด และบอกรัก 2....

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #8

สามเสาหลัก : การเปลี่ยนผ่านของสมองส่วนอารมณ์สู่เหตุผล Howard Bath นักจิตวิทยาคลีนิกชาวออสเตรเลีย ผู้เขียนหนังสือร่วมกับ John Seita เรื่อง 'The Three Pillars of Transforming Care: Trauma and resilience in the other 23 hours' (2018).ได้อธิบายว่า ...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #7

อะไรทำให้เราเป็น “ตัวเรา” ในทุกวันนี้ “เราเป็นคนอย่างที่เราเป็นเพราะสิ่งที่เราเรียนรู้และสิ่งที่เราจดจำได้” - We are who we are because of what we learn and what we remember. เป็นคำกล่าวของอีริค อาร์ เคนเดล (Eric R. Kandel)...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #6

ความรู้เรื่องสมอง 3 ส่วน ในระยะหลัง การศึกษาค้นคว้าที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้เราเห็นวิวัฒนาการของสมอง ซึ่งทำให้เข้าใจกลไกการเกิดพฤติกรรม การเรียนรู้ สติปัญญา การตัดสินใจ และทักษะการบริหารชีวิตของมนุษย์ลึกซึ้งขึ้น โดย พอล ดี. แมคลีน Paul  D. Maclean (1913-2007) นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ได้พัฒนาทฤษฎีสมองสามส่วน บนรากฐานวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สมองส่วนแรกที่มีวิวัฒนาการขึ้นมาในสิ่งมีชีวิต คือสมองเพื่อการอยู่รอดหรือที่เรียกว่าสมองสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian Brain)...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #5

เมื่อสมองผิดปกติ ปัจจุบันเราสามารถเห็นการทำงานของสมองจากกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ในบริเวณของสมองส่วนที่กำลังทำงาน ผ่านการสร้างภาพด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Functional Magnetic Resonance Imaging : fMRI   โดยการสร้างภาพ เกิดจากการอาศัยสนามแม่เหล็กแรงสูงทำงาน โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ที่เหมาะสมกับสนามแม่เหล็ก เพื่อกระตุ้นและสร้างภาพของอวัยวะในร่างกายที่เราไม่สามารถเห็นได้ด้วยการมองจากภายนอก โดยเฉพาะอวัยวะภายในที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะตรวจจับการไหลเวียนของเลือดที่มีธาตุเหล็กอยู่  สมองส่วนใดที่กำลังทำงานอยู่ การไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นจะเพิ่มขึ้น ความสามารถของเครื่อง fMRI ได้ทำให้เราเข้าใจการทำงานของสมองมากขึ้น ว่าสมองส่วนใดกำลังทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะ หรือการคิด การกระทำของเราอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การมองเห็นแสงสว่างในบริเวณสมองที่กำลังทำงานขณะที่เราคิด...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #4

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมอง หนึ่งในห้าของสมองเป็นเลือดและน้ำไขสันหลัง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cerebrospinal fluid ซึ่งเป็นน้ำที่สร้างขึ้นในโพรงสมอง ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาโดยสกัดออกมาจากเลือดแดง เพื่อไหลเวียนหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ห่อหุ้มทั้งสมองและไขสันหลังไว้   น้ำไขสันหลัง มีหน้าที่หลักคือ การนำอาหารไปเลี้ยงสมอง ขนส่ง Hormone ต่างๆภายในสมองและรับเอาของเสียจากสมองไปทิ้ง นอกจากนั้นยังเป็นฉนวนลดแรงกระแทกต่อสมองที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาที่หัวหรือหลังถูกกระทบกระแทกด้วย สมองมนุษย์เริ่มก่อตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์อายุได้ ๒ สัปดาห์ ปัจจัยที่ได้รับขณะที่อยู่ในครรภ์ของแม่ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองอย่างมาก แม่ต้องมีอารมณ์ที่ดี ได้รับสารอาหารที่ครบห้าหมู่ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #3

สารสื่อประสาทกับความจำและการเรียนรู้ ความจำและการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานชั้นสูงของสมองมนุษย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และซับซ้อนกว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิด กระบวนการนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมากระหว่างสารสื่อประสาทกับการที่เซลล์ประสาทได้รับการกระตุ้นความสนใจต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  การได้ประสบการณ์ การจัดเก็บและการดึงข้อมูลของแต่ละประสบการณ์ขึ้นมาใช้นั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทซึ่งถูกสร้างขึ้นบริเวณปลายประสาท เพื่อเป็นตัวนำสัญญาณประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง หรือเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเนื้อ โดยการส่งสัญญาณจะเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) กระบวนการเชื่อมต่อกันของไซแนปส์เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในสมองได้รับสัญญานจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ทำให้การทำงานของระบบประสาทเชื่อมโยง “ข้อมูล” ที่สมองได้รับ เกิดเป็นวงจรประสาทอย่างความสมบูรณ์ เกิดเป็นเครือข่าย ความจำและการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่เข้ามากระทบ โดยมีสารสื่อประสาทที่สำคัญกับการเรียนรู้ 3 ชนิด คือ อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งทำหน้าที่ในเรื่องความจำ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...