สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก การยับยั้งชั่งใจ

Tag: การยับยั้งชั่งใจ

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #5

เมื่อสมองผิดปกติ ปัจจุบันเราสามารถเห็นการทำงานของสมองจากกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ในบริเวณของสมองส่วนที่กำลังทำงาน ผ่านการสร้างภาพด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Functional Magnetic Resonance Imaging : fMRI   โดยการสร้างภาพ เกิดจากการอาศัยสนามแม่เหล็กแรงสูงทำงาน โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ที่เหมาะสมกับสนามแม่เหล็ก เพื่อกระตุ้นและสร้างภาพของอวัยวะในร่างกายที่เราไม่สามารถเห็นได้ด้วยการมองจากภายนอก โดยเฉพาะอวัยวะภายในที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะตรวจจับการไหลเวียนของเลือดที่มีธาตุเหล็กอยู่  สมองส่วนใดที่กำลังทำงานอยู่ การไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นจะเพิ่มขึ้น ความสามารถของเครื่อง fMRI ได้ทำให้เราเข้าใจการทำงานของสมองมากขึ้น ว่าสมองส่วนใดกำลังทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะ หรือการคิด การกระทำของเราอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การมองเห็นแสงสว่างในบริเวณสมองที่กำลังทำงานขณะที่เราคิด...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #2

เซลล์ประสาทและสารสื่อประสาท เซลล์ประสาทมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่; เซลล์สมอง (Cell Body)สายใยประสาทรับข้อมูล (Dendrite)สายใยประสาทส่งข้อมูล (Axon) ตรงปลายของเซลล์ประสาทมีช่องว่างเล็กๆระหว่างเซลล์ที่ถูกเรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) ที่ได้รับการค้นพบโดยนักพยาธิวิทยาชาวสเปน Santiago Ram’on y Cajal ในต้นศตวรรษที่ 21  ไซแนปส์มี ช่วงกว้างประมาณ 200-500 อังสตรอม หรือประมาณ 0.1 นาโนเมตร...

ความรู้ชุด: สมองเด็กและเยาวชนกับการเสพติด #2

การเปลี่ยนมุมมองต่อการเสพติดว่าเป็นโรคของสมอง NIDA และสำนักงาน National Drug Control Policy ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยเรื่องการเสพติดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เห็นพ้องกันว่าตลอดศตวรรษที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ศึกษาการเสพติดด้วยความเข้าใจผิดต่อธรรมชาติของยาเสพติด และธรรมชาติของสมองมนุษย์ ในทศวรรษที่ 1930 คนติดยาถูกมองว่าเป็นพวกศีลธรรมบกพร่องและไม่มีความมุ่งหมายในชีวิต ทัศนคติเช่นนี้ส่งผลต่อการตอบสนองของสังคมต่อการใช้ยา และปฏิบัติต่อผู้ใช้ยาประหนึ่งพวกอาชญากร และพวกล้มเหลวทางศีลธรรม มากกว่าเป็นปัญหาสุขภาพ ซึ่งนำไปสู่การลงโทษมากกว่าการป้องกันหรือบำบัด    สามทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีมติทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันว่า การเสพติดเป็นภาวะทางการแพทย์เรื้อรังที่รักษาได้ ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทัศนคติและการตอบสนองของเราเปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด การค้นพบสำคัญในเรื่องธรรมชาติของสมอง ปฏิวัติความเข้าใจของเราที่มีต่อการเสพยา...

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #7

วงจรแห่งความปลอดภัย (Circle of Security) เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความต้องการความปลอดภัยในระดับที่แตกต่างกัน   Circle of Security  เป็น โปรแกรมหนึ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจวงจรความต้องการทางใจ ของเด็กที่ต้องการสร้างความสมดุลย์ ระหว่างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยกับความต้องการพัฒนาการพึ่งตนเอง ของเด็ก ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถทำหน้าที่เป็นฐานที่มั่นทางใจ ได้เหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้อง กับธรรมชาติความต้องการของเด็กเล็ก โปรแกรมนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย  โรเบิร์ต มาร์วิน (Robert Marvin)  จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เกลน คูเปอร์ (Glen...

ผลดีในระยะยาวของการพัฒนาทักษะสมอง EF

ในบทความก่อนหน้า หมอมักจะพูดเกี่ยวกับผลดีของการฝึกทักษะสมอง EF ต่อการพัฒนาศักยภาพของตัวเด็ก ซึ่งมักจะเน้นไปที่พัฒนาการด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ผลของการพัฒนาทักษะสมอง EF ไม่ได้มีเพียงแค่ผลในระยะสั้นที่เกิดขึ้นในวัยเด็กเท่านั้น แต่ยังไปมีผลถึงกระบวนการต่างๆ ของทั้งสมองและร่างกายเมื่อเด็กคนนั้นเติบโตขึ้นมาอีกด้วย ในบทความอันนี้ ซึ่งเป็นอันสุดท้ายแล้ว เราจะมาคุยกันว่า การฝึกทักษะสมอง EF ส่งผลดีในระยะยาวสำหรับเด็กคนหนึ่งได้อย่างไรบ้าง มาลองติดตามอ่านกันนะครับ การศึกษาผลระยะยาวของทักษะสมอง EF มักจะอ้างอิงจากการทดลองที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งก็คือ การทดสอบมาร์ชเมลโลว์ (Marshmallow...

วัยรุ่นระยะกลางกับทักษะสมอง EF

วัยรุ่นระยะกลางกับทักษะสมอง EF จากที่ครั้งก่อนได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจในช่วงวัยรุ่นระยะต้นไปแล้ว บทความในครั้งนี้ก็จะขอมาพูดเกี่ยวกับวัยรุ่นระยะกลางบ้างนะครับ โดยช่วงวัยรุ่นระยะกลาง จะหมายถึง วัยรุ่นอายุระหว่าง 14-17 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ช่วงวัยนี้ลูกมักจะมีความสูงใกล้เคียงหรือมากกว่าคุณพ่อคุณแม่ มีการพัฒนาลักษณะทางเพศที่ค่อนข้างเด่นชัด รวมถึงมีกระบวนการคิด อารมณ์ และการแสดงออกที่แตกต่างไปจากวัยเด็กอย่างมาก แต่ก็ยังไม่ใช่ผู้ใหญ่ซะทีเดียว โดยตัวของวัยรุ่นจะต้องการความเป็นอิสระจากการดูแลของพ่อแม่ แต่ก็มักจะยังต้องพึ่งพิงพ่อแม่ในหลายด้าน ในขณะเดียวกันก็สนใจปฏิกิริยาของคนรอบข้าง รวมถึงต้องการการยอมรับถึงตัวตนของตนเองจากบุคคลอื่นในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน ทำให้มีโอกาสเกิดความขัดแย้งกับคุณพ่อคุณแม่ได้ง่าย รวมไปถึงการเกิดความสับสนในการค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตนเอง ประเด็นสำคัญในความเป็นวัยรุ่นที่แตกต่างจากวัยผู้ใหญ่อยู่ที่สมองส่วนหน้าหรือพรีฟรอนทัล คอร์เท็กซ์ อันเป็นสมองส่วนที่มีบทบาทในด้านการคิดวิเคราะห์...

อย่าปล่อยให้เด็กเป็น “รถที่เบรกแตก”

EF, Inhibitory Control คือความสามารถในการควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในเวลาที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ จะเหมือน ”รถที่ขาดเบรก” อาจทำสิ่งใดๆ ไปโดยไม่คิด หรือมีปฏิกิริยาตอบโต้สิ่งต่างๆ ไปในทางที่สร้างปัญหา ลองนึกภาพรถที่เบรกแตกดู...โครม!! จะต้องเกิดความเสียหายตามมาอย่างแน่นอน คนเราก็เช่นกัน ถ้าตกอยู่ในสภาพเบรกแตก ยั้งอารมณ์ไม่อยู่ ก็ต้องเกิดเรื่องร้ายๆ ตามมา เช่นโมโหแล้วอาละวาด ด่าทอ ขว้างปาข้าวของ เสียใจแล้วร้องไห้ฟูมฟาย เสียสติ ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น...

การทดสอบที่บอกว่า เด็กยับยั้งชั่งใจได้ดีแค่ไหน

งานวิจัยที่พบว่า เด็กที่มี EF แข็งแรง สามารถกำกับควบคุมตนเองได้ สามารถพัฒนาไปเป็นวัยรุ่นที่มีความสามารถในการเรียนรู้ และเข้าสังคมได้ดี ประสบผลสำเร็จในการเรียน ทำคะแนนสอบ SAT ได้ดี ในปี 1968 Prof. Dr. Walter Mischel ซึ่งขณะนั้นสอนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำการวิจัยที่โด่งดังชื่อ The Marshmallow Test (ดูได้จากwww.youtube.com/watch?v=QX_oy9614HQ) โดยให้เด็ก 4 ขวบเข้ามานั่งในห้องกระจกสังเกตการณ์ เจ้าหน้าที่วิจัยเข้าไปบอกเด็กว่า...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...