สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Self Monitoring

Tag: Self Monitoring

บทที่ 9 ตอนที่ 4 : เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้

เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้ อย่าละเลยที่จะสอนเด็กเล็กๆ ให้รู้จักอารมณ์ ทักษะอารมณ์เป็นทักษะที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของทักษะสังคม ส่งผลซึ่งกันและกัน แต่ผู้ใหญ่มักมองข้ามและไม่ได้ส่งเสริมเด็ก เพราะเข้าใจว่าจะเกิดขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เด็กอาจจะมีทักษะเอง แต่มีแบบไม่มีคุณภาพ ถ้าพิจารณาถึงพัฒนาการทางสมอง เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องทักษะทางอารมณ์ได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน เพราะฉะนั้นวิธีการเลี้ยงดูที่บอกว่า “ยังเด็กอยู่ ปล่อยไปก่อน” สวนทางกับพัฒนาการทางสังคม มีการศึกษาทดลองในห้องทดลองที่สหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าเด็กในวัย 8 เดือนเมื่อมีอารมณ์แล้วจะตามอารมณ์ตัวเองได้ทัน ยับยั้งได้ แล้วยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ จึงสอนภาษามือง่ายๆ ให้เด็ก เช่น...

ความรู้ชุด : Strength จุดแข็ง #7 การพัฒนา “จุดแข็ง”ในลูกวัยรุ่น

การพัฒนา “จุดแข็ง”ในลูกวัยรุ่น ความรู้ทางประสาทวิทยาทำให้เรารู้ว่า สมองของวัยรุ่นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปอย่างมากจากตอนที่เป็นเด็ก นักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองของวัยรุ่นนั้น มีการตัดแต่ง (Pruning) ด้วยตัวเองตามธรรมชาติ ในช่วงอายุราว 9-15  ปีโดยประมาณ สมองส่วนที่ไม่ได้ใช้ หรือที่เคยใช้แล้วไม่ได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมจะหดหายไป การศึกษาเกี่ยวกับสมองวัยรุ่นในปี 2544 ของ E.R. Sorrell ยืนยันข้อเท็จจริงที่ว่า จำนวนเซลล์สมองในช่วงวัยรุ่นของคนนั้นมีจำนวนลดน้อยลงกว่าช่วงที่เป็นเด็ก โดยกระบวนการตัดแต่งนี้จะดำเนินต่อไปตลอดเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ การที่สมองตัดแต่งส่วนที่ไม่ได้ใช้ออกไป เป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ความชำนาญเฉพาะด้าน จากการที่วงจรประสาทส่วนที่แข็งแรงได้ใช้บ่อย จะยิ่งเชื่อมต่อ...

พ่อแม่คือคนสร้าง Self-Esteem ให้เด็ก

วัฒนธรรมไทยดั้งเดิมเราอาจจะไม่คุ้นนักกับ Self-Esteem หรือการเห็นคุณค่าในตนเอง เพราะเรามักจะ “กลัวเด็กเหลิง” เข้าใจไปว่าถ้าเด็กเห็นคุณค่าในตนเองมาก จะหยิ่งยะโส ผู้ใหญ่ก็จะเอาไม่อยู่ กำกับควบคุมไม่ได้  หรือเด็กจะตัวตนสูงจนอยู่กับคนอื่นยาก  ความเข้าใจนี้ผิดมหันต์ เพราะการเห็นคุณค่าในตนเองจะทำให้เด็กมีเหตุผล มีความเชื่อมั่นในตนเองพร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ รู้สึกดีกับตัวเองแต่ก็รู้สึกดีกับคนอื่นได้ด้วย เด็กจะรู้สึกดีกับสิ่งที่ตนเองทำ เห็นจุดแข็งในตนเองแต่ก็เห็นจุดอ่อนในตนเองที่ต้องพัฒนาปรับปรุงต่อ เพราะมี Self-Esteem ที่เห็นคุณค่าในตนเอง เด็กจึงจะมีฐานของการกำกับควบคุมตนเอง หรือมี Self-Control คนที่เห็นคุณค่าในตนเอง รักตนเองมักจะไม่ทำลายตนเอง แต่จะพยายามกำกับตนเองให้อยู่ในลู่ในทางที่ตนเห็นว่าดี พยายามไปสู่เป้าหมายที่ตนตั้งไว้...

Self – Esteem

Self - Esteem เป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ และเป็นคอนเซ็ปต์ทางจิตวิทยาที่ได้รับการศึกษาค้นคว้ามากในโลกปัจจุบัน           ในขณะที่ Courtney E. Ackerman นักจิตวิทยาจาก www.positivepsychology.com ให้คำอธิบายสั้นๆ ว่า Self-esteem หมายถึงความรู้สึกทั้งปวงที่คนคนหนึ่งมีต่อคุณค่าในตนเอง และ Morris Rosenberg (1965) เห็นว่า เป็นเจตคติของคนคนหนึ่งที่มีต่อตนเอง ซึ่งอาจมีทั้งความชอบหรือไม่ชอบในตนเองก็ได้  Nathaniel Branden นักจิตวิทยาผู้เขียนหนังสือ...

อย่าพัฒนา EF เด็กในห้องทดลอง ต้องฝึกในบริบทจริง

อย่าหวังพัฒนา EF แบบสำเร็จรูป อย่าพัฒนา EF เด็กในห้องทดลอง ต้องฝึกในบริบทจริง สมองอยู่ในศีรษะของมนุษย์เรามาตลอด ช่วยให้มนุษยชาติพัฒนาอารยธรรมมาหลายพันปี แต่เราเพิ่งมารู้จักธรรมชาติของสมองกันไม่นานนี้เอง ที่สำคัญและน่าทึ่งที่สุดก็คือทักษะสมอง EF - Executive Functions นี่เอง มันเป็นความสามารถที่สุดยอดที่สุดของเราเมื่อเทียบกับบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  เพราะ EF ช่วยให้เรากำกับความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของเราได้อย่างมีสติรู้ตัว เพื่อให้เราไปถึงจุดหมายที่เราต้องการ ไม่ใช่แค่กับเป้าหมายใหญ่ของชีวิต แต่เราใช้ EF กับเป้าหมายทุกอย่างแม้เล็กๆน้อยๆ...

ผมมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

ภาพครอบครัวคนชั้นกลางที่ดูอบอุ่นมั่นคง มีชีวิตตามครรลอง มีลูกชายกำลังจะเข้าวัยรุ่น เรียบร้อย เรียนดี อยู่ในมาตรฐานที่ดีของสังคม  เพราะมีพ่อแม่ ดูแล กำกับ เอาใจใส่ ใกล้ชิด อบรมสั่งสอน จัดการให้แต่ละย่างก้าวของลูกไปสู่ความสำเร็จ เพื่อไปประกอบอาชีพที่ได้เงินดี มีความมั่นคง และเป็นที่ยอมรับในสังคม           แต่ภาพถัดๆ มา..กลับไม่เป็นไปตามหวัง ในความทรงจำของลูก คือฉากที่พ่อแม่คุยกันถึงอนาคตการทำงานของลูก พ่ออยากให้รับราชการ แม่อยากให้เป็นวิศวกร ลูกชายคนเดียวเป็นหน่อของความหวังของพ่อแม่ที่ปลูกไว้ในใจลูกมาตั้งแต่เล็ก กับคำที่พ่อปลูกฝังเสมอว่าต้องเป็น “คนดี”...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #9

ตระหนักในกฎแห่งการเรียนรู้ของสมอง ทันทีที่เด็กเกิดมา สิ่งที่เกิดขึ้นมาแรกสุกคือการพัฒนาระบบประสาทที่เกี่ยวกับการหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหว การมองเห็น และการได้ยินเสียง ทั้งนี้ทารกแรกเกิดจนถึงอายุหนึ่งขวบนั้นมีจำนวนเซลล์สมอง (Neurons) ประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์เช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่มี สมองของเด็กที่มีจำนวนเซลล์สมองเท่ากับที่ผู้ใหญ่มี จะมีการพัฒนาและมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากกระบวนการสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1.การเพิ่มขึ้นของจุดเชื่อมต่อเส้นประสาท เรียกว่า synapses ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ได้รับ ประสบการณ์ที่หลากหลาย ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะการที่เด็กทารกได้รับการอุ้ม การก อด และบอกรัก 2....

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #7

อะไรทำให้เราเป็น “ตัวเรา” ในทุกวันนี้ “เราเป็นคนอย่างที่เราเป็นเพราะสิ่งที่เราเรียนรู้และสิ่งที่เราจดจำได้” - We are who we are because of what we learn and what we remember. เป็นคำกล่าวของอีริค อาร์ เคนเดล (Eric R. Kandel)...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...