สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Self Monitoring

Tag: Self Monitoring

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #6

ความรู้เรื่องสมอง 3 ส่วน ในระยะหลัง การศึกษาค้นคว้าที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้เราเห็นวิวัฒนาการของสมอง ซึ่งทำให้เข้าใจกลไกการเกิดพฤติกรรม การเรียนรู้ สติปัญญา การตัดสินใจ และทักษะการบริหารชีวิตของมนุษย์ลึกซึ้งขึ้น โดย พอล ดี. แมคลีน Paul  D. Maclean (1913-2007) นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ได้พัฒนาทฤษฎีสมองสามส่วน บนรากฐานวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สมองส่วนแรกที่มีวิวัฒนาการขึ้นมาในสิ่งมีชีวิต คือสมองเพื่อการอยู่รอดหรือที่เรียกว่าสมองสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian Brain)...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #5

เมื่อสมองผิดปกติ ปัจจุบันเราสามารถเห็นการทำงานของสมองจากกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ในบริเวณของสมองส่วนที่กำลังทำงาน ผ่านการสร้างภาพด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Functional Magnetic Resonance Imaging : fMRI   โดยการสร้างภาพ เกิดจากการอาศัยสนามแม่เหล็กแรงสูงทำงาน โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ที่เหมาะสมกับสนามแม่เหล็ก เพื่อกระตุ้นและสร้างภาพของอวัยวะในร่างกายที่เราไม่สามารถเห็นได้ด้วยการมองจากภายนอก โดยเฉพาะอวัยวะภายในที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะตรวจจับการไหลเวียนของเลือดที่มีธาตุเหล็กอยู่  สมองส่วนใดที่กำลังทำงานอยู่ การไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นจะเพิ่มขึ้น ความสามารถของเครื่อง fMRI ได้ทำให้เราเข้าใจการทำงานของสมองมากขึ้น ว่าสมองส่วนใดกำลังทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะ หรือการคิด การกระทำของเราอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การมองเห็นแสงสว่างในบริเวณสมองที่กำลังทำงานขณะที่เราคิด...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #4

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมอง หนึ่งในห้าของสมองเป็นเลือดและน้ำไขสันหลัง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cerebrospinal fluid ซึ่งเป็นน้ำที่สร้างขึ้นในโพรงสมอง ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาโดยสกัดออกมาจากเลือดแดง เพื่อไหลเวียนหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ห่อหุ้มทั้งสมองและไขสันหลังไว้   น้ำไขสันหลัง มีหน้าที่หลักคือ การนำอาหารไปเลี้ยงสมอง ขนส่ง Hormone ต่างๆภายในสมองและรับเอาของเสียจากสมองไปทิ้ง นอกจากนั้นยังเป็นฉนวนลดแรงกระแทกต่อสมองที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาที่หัวหรือหลังถูกกระทบกระแทกด้วย สมองมนุษย์เริ่มก่อตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์อายุได้ ๒ สัปดาห์ ปัจจัยที่ได้รับขณะที่อยู่ในครรภ์ของแม่ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองอย่างมาก แม่ต้องมีอารมณ์ที่ดี ได้รับสารอาหารที่ครบห้าหมู่ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #2

เซลล์ประสาทและสารสื่อประสาท เซลล์ประสาทมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่; เซลล์สมอง (Cell Body)สายใยประสาทรับข้อมูล (Dendrite)สายใยประสาทส่งข้อมูล (Axon) ตรงปลายของเซลล์ประสาทมีช่องว่างเล็กๆระหว่างเซลล์ที่ถูกเรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) ที่ได้รับการค้นพบโดยนักพยาธิวิทยาชาวสเปน Santiago Ram’on y Cajal ในต้นศตวรรษที่ 21  ไซแนปส์มี ช่วงกว้างประมาณ 200-500 อังสตรอม หรือประมาณ 0.1 นาโนเมตร...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #1

“สมอง” คืออะไรกันแน่ มนุษย์พยายามทำความเข้าใจ และให้คำจำกัดความ “สมอง” เรื่อยมา ในสมัยกรีกรุ่งเรืองเมื่อ ประมาณสองพันปีก่อน เพลโต Plato (427 ปีก่อนคริสตกาล) ผู้ก่อตั้ง อะคาดิมี่ (Academy) ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก และเป็นผู้นำเสนอกฎที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ คือกฎเกี่ยวกับแสงที่อธิบายอย่างถูกต้องและเป็นที่ยึดถือมาจนทุกวันนี้ ที่ว่า “แสงเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อมีแสงมากระทบวัตถุ มุมแสงตกกระทบจะเท่ากับมุมแสงสะท้อน” นั้น  เมื่ออธิบายว่าสมองเป็นอย่างไร เพลโตเปรียบสมองด้วยความเข้าใจและเทคโนโลยีที่มีอยู่ยุคนั้นว่า...

ความรู้ชุด: สมองเด็กและเยาวชนกับการเสพติด #3

ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกัน ดังกล่าวแล้วว่า การศึกษาวิจัยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาพยายามที่จะหาว่า  ปัญหาการเสพติดเกิดขึ้นอย่างไร  พัฒนาอย่างไร ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสพติดเราเรียกว่า “ปัจจัยเสี่ยง” ปัจจัยที่ลดโอกาสเสพติด เรียกว่า “ปัจจัยป้องกัน” งานวิจัยชี้ว่า ปัจจัยเสี่ยงสำหรับคนคนหนึ่ง อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของอีกคนหนึ่งก็ได้  และที่สำคัญ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันอาจจะส่งผลต่อเด็กในช่วงความเสี่ยงตามพัฒนาการ ที่เรียกว่า Risk Trajectory (หรือเส้นทาง- Path)  ที่ต่างกัน   เส้นทางการเสพติดนี้จะชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงปรากฏตัวอย่างไรในแต่ละช่วงชีวิตของเด็ก เช่น ความเสี่ยงตั้งแต่วัยเด็กเล็ก...

ความรู้ชุด: สมองเด็กและเยาวชนกับการเสพติด #2

การเปลี่ยนมุมมองต่อการเสพติดว่าเป็นโรคของสมอง NIDA และสำนักงาน National Drug Control Policy ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยเรื่องการเสพติดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เห็นพ้องกันว่าตลอดศตวรรษที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ศึกษาการเสพติดด้วยความเข้าใจผิดต่อธรรมชาติของยาเสพติด และธรรมชาติของสมองมนุษย์ ในทศวรรษที่ 1930 คนติดยาถูกมองว่าเป็นพวกศีลธรรมบกพร่องและไม่มีความมุ่งหมายในชีวิต ทัศนคติเช่นนี้ส่งผลต่อการตอบสนองของสังคมต่อการใช้ยา และปฏิบัติต่อผู้ใช้ยาประหนึ่งพวกอาชญากร และพวกล้มเหลวทางศีลธรรม มากกว่าเป็นปัญหาสุขภาพ ซึ่งนำไปสู่การลงโทษมากกว่าการป้องกันหรือบำบัด    สามทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีมติทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันว่า การเสพติดเป็นภาวะทางการแพทย์เรื้อรังที่รักษาได้ ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทัศนคติและการตอบสนองของเราเปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด การค้นพบสำคัญในเรื่องธรรมชาติของสมอง ปฏิวัติความเข้าใจของเราที่มีต่อการเสพยา...

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #8

4 + 4 วิธีตอบสนองความต้องการของเด็กเล็กในแต่ละสถานการณ์ ความต้องการของเด็กเล็กในแต่ละสถานการณ์มีความแตกต่างกันไป ผู้ปกครองที่เข้าใจวงจรความต้อง การทางใจของเด็ก จะสามารถสร้างความสมดุลระหว่างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย กับความต้องการพัฒนาการพึ่ง ตนเองของเด็ก ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นฐานที่มั่นทางใจได้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับ ธรรมชาติความต้องการของเด็กเล็กได้ “วงจรความปลอดภัย” หรือ The Circle of Security ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสังเกตเด็กเล็กที่ช่วยให้ พ่อแม่ผู้ปกครองมีทักษะในการดูแลเด็กได้ดีขึ้น สามารถหนุนสร้างสมดุลในเด็ก ระหว่างความต้องการความ ปลอดภัยกับความเป็นอิสระของเด็ก ช่วยให้เข้าใจถึงสิ่งที่เด็กต้องการจากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงได้แม่นยำ ยิ่งขึ้น...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...