สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

นางอัจจชิญา สงวนศรีพิสุทธิ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. ขอนแก่น

ในขณะที่ศน.กฤษณา เป็นผู้นำศธจ.ในการขับเคลื่อน EF จังหวัดขอนแก่น ศน.อัจจชิญา ก็ร่วมทีมสนับสนุน เข้ารับการอบรม EF และเรียนรู้จากเครือข่าย EF ขอนแก่นออนไลน์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้พัฒนาไปด้วยกัน  แล้วร่วมทีมศธจ.ขับเคลื่อนความรู้ EF สู่ครูและโรงเรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ คือโรงเรียนเอกชนในพื้นที่อำเภอชุมแพ อำเภอหนองเรือ อำเภอภูเวียง และอำเภอภูผาม่าน โดยมุ่งเป้าที่เครือข่ายโรงเรียนการกุศล (โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งเพื่อผู้ยากไร้ เช่น โรงเรียนในความอุปถัมภ์ของวัด) มีโรงเรียนวัดศรีจันทร์เป็นเป้าหมายใหญ่ในการขยายความรู้ EF ซึ่งครูมีความพร้อม ใส่ใจเด็ก มีความเป็นทีม และมีครูปฐมวัยเป็นแกนที่พาเพื่อนเรียนรู้ได้  ในสถานการณ์โควิดเช่นนี้ ศน.ใช้ไลน์กลุ่มในการสื่อสารข่าวสารข้อมูลความรู้ EF แก่ครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูได้รู้จัก สนใจ และตระหนักถึงความสำคัญของ EF

ขณะนี้ ศน.อัจจชิญากำลังมองหาโรงเรียนที่จะเป็น “แม่ไก่” คือโรงเรียนที่มีศักยภาพในการขยายความรู้ EF มีผู้บริหารและครูที่เชี่ยวชาญการศึกษาปฐมวัย มีแนวทางที่จะบูรณาการเชื่อมโยงการเรียนรู้กับ EF ได้  และคิดจะต่อยอดความรู้ให้ครูด้วยกระบวนการอบรมในลักษณะเดียวกับที่สถาบัน RLG จัดทำ ซึ่งจะทำให้ครูได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาสาระและเห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ครูสามารถเข้าใจและนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งจะจัดอบรมความรู้ EF แก่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถทำงานร่วมกับครูในการพัฒนา EF ให้เด็ก

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

ขับเคลื่อน EF ในเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ ขยายความรู้สู่เครือข่ายโรงเรียนการกุศล โดยมีโรงเรียนวัดศรีจันทร์เป็นเป้าหมายหลัก เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ผู้บริหารเปิดโอกาส ครูมีความเป็นทีม และมีครูปฐมวัยเป็นแกนพาเพื่อนเรียนรู้ 

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • ประสานกับทีมงานศธจ.ขอนแก่น ร่วมมือกันขับเคลื่อน EF ในระดับจังหวัด โดยทำงานเป็นทีม เช่นในขณะที่ศน.อัจจชิญาขับเคลื่อนความรู้กับครู ศน.กฤษณาก็ขับเคลื่อนกับผู้บริหารโรงเรียน
  • สื่อสารกับเครือข่าย EF จังหวัดขอนแก่น เครือข่ายครูโรงเรียนเอกชน โรงเรียนการกุศล

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • ติดตามนิเทศโดยกลุ่มบูรณาการนิเทศ เนื่องจากสถานการณ์โควิด มีการติดตาม ให้คำปรึกษาผ่านทางไลน์และโทรศัพท์

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • วางเป้าหมายที่จะหาโรงเรียน “แม่ไก่” ในการขยายความรู้ EF ซึ่งก็คือโรงเรียนที่มีศักยภาพ มีผู้บริหารและครูที่เชี่ยวชาญการศึกษาปฐมวัย มีแนวทางที่จะสามารถบูรณาการเชื่อมโยงการเรียนรู้กับ EF ได้ เช่น โรงเรียนแนวการเรียนการสอน BBL เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบ EF
  • จะต่อยอดความรู้ให้ครูซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ด้วยกระบวนการอบรมในลักษณะเดียวกับที่สถาบัน RLG จัดทำเพื่อให้ครูเกิดความเข้าใจถ่องแท้ และสามารถนำความรู้ EF ไปใช้ได้จริง (กระบวนการอบรมของสถาบัน RLG ที่ไม่ได้ให้แค่ข้อมูลความรู้ แต่มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา หากครูได้ผ่านกระบวนการอบรมแบบนี้ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติ)

การแก้ปัญหา

  • ปัญหาครูยังไม่มีความมั่นใจในการปฏิบัติและการสังเกตพฤติกรรม ไม่แน่ใจว่าใช่ EF หรือไม่  ซึ่งมองว่าการอบรมออนไลน์และการนิเทศออนไลน์จะช่วยให้ครูเกิดความมั่นใจได้ โดยครูจะได้เห็นตัวอย่างหรือมีแหล่งเรียนรู้ให้ครูไปเรียนรู้ต่อได้ 
  • โรงเรียนที่มีแนวการเรียนการสอนพิเศษอยู่แล้ว เช่น BBL มอนเตสซอรี วอลดอร์ฟ อาจจะไม่สนใจ EF เพราะยังไม่เข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ต้องให้ข้อมูลที่มากพอ และต้องทำให้ผู้บริหารเข้าใจว่า EF กับทฤษฎีต่างๆ บูรณาการกันได้
  • ศน.ไม่สามารถกำหนดแนวทางให้โรงเรียนเอกชนปฏิบัติตามได้ หากไม่ใช่นโยบายจากกระทรวงฯ  โรงเรียนเอกชนจะเปิดรับด้วยความสมัครใจหากเห็นประโยชน์ ศน.จูงใจผู้บริหารโรงเรียนว่า EF จะเป็นจุดขายของโรงเรียน ซึ่งจุดขายของโรงเรียนเอกชนก็คือการเรียนการสอนระดับปฐมวัย และแรงกระเพื่อมที่มีผลต่อโรงเรียนคือการตอบรับและความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ศน.ได้ต่อยอดความรู้ เรียนรู้ไปด้วยกันกับทีม เพื่อร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อน EF ให้จังหวัดขอนแก่น

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...