นางเอมอร รสเครือ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ จ.กาญจนบุรี (ข้าราชการเกษียณ)

  • แม้จะเกษียณราชการมา 10 ปีแล้ว ศน.เอมอรยังคงทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษาปฐมวัยร่วมกับกลุ่มครูกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานด้วยใจ โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนด้วยความสนใจใคร่รู้เรื่องทักษะสมอง EF ศน.เอมอรเข้ารับการอบรมเรื่องทักษะสมอง EF กับสถาบัน RLG ที่ลำปาง แล้วกลับมาขยายความรู้กับกลุ่มครูกาญจนบุรีที่ทำงานร่วมกัน คอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ให้ครูเหล่านี้สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติ จัดตั้งเป็นครูแกนนำที่จะขยายความรู้ EF ต่อไปในกลุ่มเพื่อนครูและผู้ปกครองเพื่อขยายเครือข่าย EF ฝึกให้ครูแกนนำเขียนแผนการเรียนการสอนโดยใช้ EF Guideline
  • ศน.เอมอรมีความเชี่ยวชาญในเรื่องหลักสูตร ใช้ความรู้และประสบการณ์ชี้ให้ครูเห็นว่า EF ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เรื่องเข้าใจยาก หากเทียบเคียง EF กับหลักสูตรแกนกลาง มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและทำให้ครูเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่จะทำให้การเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • สร้างเครือข่ายครู EF โดยขยายความรู้เรื่อง EF และความรู้ฐานรากกับครูที่มีใจใฝ่รู้ในเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 4 อำเภอ โดยจัดตั้งครูแกนนำ 9 คน
  • นำความรู้เรื่องการเขียนแผนโดยใช้ EF Guideline ไปขยายผลกับครูแกนนำ ฝึกให้ครูเขียนแผนการเรียนการสอน EF โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นฐาน บูรณาการกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เกมการศึกษา กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ให้ครูแกนนำร่างแผนการเรียนการสอนคนละ 1 แผน รวม 9 แผน ซึ่งขณะนี้ผ่านการวิพากษ์และรอครูปรับปรุง 4 แผน รอการวิพากษ์ 5 แผน

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • สร้างเครือข่ายครู EF โดยเริ่มจากครูที่มีใจกลุ่มเล็กๆ และค่อยๆ ขยายผลให้ครูแกนนำแต่ละคนหาเครือข่ายเพิ่ม
  • สื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศน.เขตอื่นๆ และครู สพฐ. ต่างเขตพื้นที่การศึกษา

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • Coaching และนิเทศครูแกนนำ ชี้แนะครูในการปฏิบัติ การจัดกิจกรรมส่งเสริม EF แนะนำให้ครูฝึกเขียนแผนการเรียนการสอน EF ติดตาม ให้คำปรึกษา เสริมพลังครู

การแก้ปัญหา

  • พบว่าการนำความรู้ EF ลงสู่การเขียนแผนการสอนเป็นเรื่องยากสำหรับครู และครูอาจรู้สึกว่าเป็นภาระยุ่งยาก เป็นงานเพิ่ม  ดังนั้นศน.เอมอรจึงใช้วิธีเทียบเคียง EF กับหลักสูตรแกนกลาง 12 มาตรฐาน 26 ตัวบ่งชี้ วิเคราะห์แต่ละหน่วยการเรียนในหลักสูตรว่ามีเรื่องทักษะสมอง EF เข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ ปลายทางได้พัฒนา EF หรือไม่ ชี้ให้ครูเห็นและเข้าใจว่า EF ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นความรู้ที่ทำให้การเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียนมีศักยภาพยิ่งขึ้นดี

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูแกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องทักษะสมอง EF สามารถนำความรู้สู่การเขียนแผนและการปฏิบัติได้  รวมทั้งสามารถขยายความรู้สู่เพื่อนครูและผู้ปกครอง